IT In Healthcare ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในทุก ๆ อุตสาหกรรม ในส่วนของการแพทย์นั้น ต้องดูว่าปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ใด แล้วจะทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ไอทีในระบบสุขภาพให้เกิดประโยชน์โดยไม่มีความเสี่ยงที่เกิดโทษมากเกินไป ด้วยการลงทุนและทรัพยากรที่เหมาะสม

ในมุมของผู้ให้บริการ คงเริ่มมามองฝั่งผู้ให้บริการ หน่วยงานที่สำคัญคือโรงพยาบาล โดยจะมุ่งไปที่โรงพยาบาลรัฐบาล เพราะเป็นหน่วยให้บริการผู้ป่วยจำนวนมากที่สุด(ในภาคเอกชน โรงพยาบาลหลายแห่งก้าวหน้าด้านนี้อย่างมาก แต่มีหลายแห่งที่ยังมีปัญหาคล้าย ๆ โรงพยาบาลของรัฐอยู่เช่นกัน)

เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์และสาธารณสุขเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ในประมาณช่วง
ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลใช้นโยบายไม่เพิ่มข้าราชการ ทำให้ตำแหน่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ซึ่งมาทีหลังมีบุคลากรที่เป็นราชการน้อยกว่าวิชาชีพอื่น

ส่งผลให้วิชาชีพด้านนี้ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรทั้ง ๆ ที่เป็นสาขาวิชาที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดและต้องรู้เท่าทัน
ความก้าวหน้าเทคโนโลยีและความเสี่ยงที่มากับเทคโนโลยีมากที่สุดสาขาหนึ่ง

ในทางการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกมองว่าเป็นงานสนับสนุนซึ่งไม่มีความสำคัญ แต่แท้ที่จริง ดังที่กล่าวมาใน
ตอนต้น ๆ สารสนเทศเป็นงานหลัก (Core Business) ของการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวกับ
ความเป็นความตายของผู้ป่วย เป็นการขาดการพัฒนาและจัดสรรกำลังคนอย่างเหมาะสมทำให้งานด้านไอทีทาง
การแพทย์ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง หากลองรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นคงพอจะสรุปได้ดังรูป

ปัญหาประการแรกคือการไม่เข้าใจ และไม่ใส่ใจด้านไอทีที่เพียงพอ ทำให้ไม่มีการวางแผนและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะไม่มีแผนไอทีที่ชัดเจน หรือมีแผนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จัดหาโปรแกรม อบรมบุคลากร แผนมักไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายแท้จริงของโรงพยาบาล ทำให้เกิดการใช้ไอทีอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพและสูญเปล่า

IT In Healthcare
Online medical diagnosis and treatment

เรื่องต่อมาเป็นเรื่องมาตรฐานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ท่านคงสังเกตได้ว่าถ้าท่านเปลี่ยนโรงพยาบาลที่ไปรับการรักษา ข้อมูลจากโรงพยาบาลเดิมไม่สามารถมาที่ใหม่ได้ทำให้ต้องเสียเวลาจัดทำข้อมูลใหม่ทั้งหมดบางครั้งต้องตรวจซ้ำทั้งที่โรงพยาบาลเดิมก็ตรวจไปแล้ว อันที่จริงแม้แต่โรงพยาบาลเดียวกันแต่คนละแผนก บางทีข้อมูล ยังเชื่อมกันไม่ได้ เพราะใช้หลายระบบในโรงพยาบาลเดียวกัน

นอกจากระบบเข้ากันไม่ได้แล้ว การขาดมาตรฐานทำให้เกิดความเสี่ยง เพราะระบบงานไม่ได้มาตรฐาน ตัวอย่างเช่น การบันทึกเวชระเบียนให้ครบถ้วน (มาตรฐานกระบวนการ) การ Backup ข้อมูล (มาตรฐานปฏิบัติการ) การปกปิดความลับของผู้ป่วย(มาตรฐานความปลอดภัย) และอื่น ๆ อีกมากโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังละเลยด้านคุณภาพมาตรฐานไอทีโดยการละเลยนี้อาจเป็นต้นเหตุของความเสียหายทั้งเวลา ทรัพย์สินจนถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยด้วย

เรื่องกำลังคนด้านไอที เราขาดทั้งปริมาณ(จากการศึกษาในต่างประเทศควรมีบุคลากรด้านนี้ประมาณ 1.4-1.8% ของบุคลากรทั้งหมดของโรงพยาบาล ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาตัวเลขที่แน่นอน แต่น่าจะมีไม่ถึง 1%) ขาสมรรถนะ (ไม่มีการวิเคราะห์สมรรถนะและจัดการด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรม) และไม่สามารถรักษาคนไว้ในระบบเนื่องจากขาดแรงจูงใจ (ค่าจ้าง ตำแหน่งราชการ ความก้าวหน้า) และถูกซื้อตัวเนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด

การจัดการด้านข้อมูลก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบจัดการให้ข้อมูลทั้งในเวชระเบียนและระบบไอทีครบถ้วน ถูกต้อง ปลอดภัย ข้อมูลที่มีในระบบอาจไม่เพียงพอหรือไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการและความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม

ในระดับประเทศในปัจจุบันมีความพยายามรวบรวมข้อมูลหลัก ๆ จากระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลทั้งประเทศ(ทำได้เฉพาะส่วนของกระทรวงสาธารณสุขเพราะไม่สามารถได้ข้อมูลจากภาคเอกชน)มาไว้เป็นฐานข้อมูลกลาง แต่ข้อมูลดังกล่าวยังขาดความถูกต้องครบถ้วนอยู่มาก ปัญหาดังกล่าวก็เกิดจากมาตรฐานต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว และปัญหาด้านบุคลากรร่วมด้วย

แล้วเราควรทำอย่างไรเพื่อก้าวข้ามปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด ? ที่ดูแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ประการแรก ที่ควรทำคือ ปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือกระบวนทัศน์เดิม ๆ (Paradigm Shift) ที่คิดว่าไอทีเป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนและเก็บข้อมูล แต่ต้องหันมาคิดว่าไอทีเป็นเครื่องมือที่สำคัญ เป็น Core Business ของการบริการสุขภาพ เป็นเครื่องมือผลักดันให้ระบบการแพทย์และสาธารณสุขขับเคลื่อนไปได้ในปัจจุบันถึงอนาคต การปรับเปลี่ยนแนวคิดนี้ต้องเป็นไปในทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารระดับประเทศ เรื่อยลงมาถึงระดับโรงพยาบาลและหน่วยงานภายในโรงพยาบาล

เป็นที่น่าดีใจที่รัฐบาลเริ่มมี “นโยบายดิจิทัลไทยแลนด์” เพื่อกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ 3 ได้ระบุไว้ถึง “เพิ่มโอกาสการได้รับบริการทางการแพทย์ และสุขภาพที่ทันสมัยทั่วถึงและเท่าเทียม สู่สังคมสูงวัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล”ซึ่งหากเชื่อมโยง (Cascade) ลงมาจัดทำเป็นนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไอทีเพื่อการบริการสุขภาพในสอดคล้องกันก็จะเกิดการพัฒนาและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ทราบว่าขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขเองอยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศอยู่

ประการต่อมา คือ การจัดการเรื่องมาตรฐานที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ควรต้องทำเป็น 2 ระดับคือ การดูแลให้มีมาตรฐานกลางของประเทศเพื่อให้เกิดการเข้ากันได้ (Interoperability)และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและระบบสารสนเทศมาตรฐานดังกล่าวควรรวมทั้งมาตรฐาน EHR มาตรฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรฐานรหัสต่าง ๆมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐาน Aplication

โดยจัดให้มีโครงสร้างองค์กรที่รับผิดชอบ พิจารณาเลือกสรรและดูแลมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เช่น กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสปสช. สปส. โรงพยาบาล ภาคเอกชน ฯลฯ

อีกระดับหนึ่งคือระดับโรงพยาบาลเองต้องพัฒนาคุณภาพการใช้งานด้านไอทีโรงพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้
เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและเกิดประสิทธิภาพและความค้มุ ค่าของการใช้งานไอที ซึ่งเริ่มตั้งแต่การมีแผนด้านไอทีที่
สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงพยาบาลการพัฒนาให้มีการใช้ไอทีอย่างปลอดภัยตลอดจนกำกับดูแลด้านข้อมูลของโรง
พยาบาลให้ครบถ้วนถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์

ขณะนี้ทางสมาคมเวชสารสนเทศไทยได้ร่วมมือกับสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (องค์การมหาชน) เริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพด้านไอทีโรงพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มตื่นตัวและเข้าร่วมโครงการ แต่ยังเป็นส่วนน้อยของโรงพยาบาลทั้งประเทศ ควรมีนโยบายจากส่วนกลางในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อกระตุ้นการพัฒนาให้เกิดขึ้นในวงกว้างยิ่งขึ้น

ประการสุดท้าย คือ การพัฒนากำลังคนด้านไอทีทางการแพทย์และสาธารณสุข ประเมินว่าในกระทรวงสาธารณสุขควรมีบุคลากรด้านนี้ประมาณ 5,000 ตำแหน่ง โดยต้องสรรหาหรือเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และสมรรถนะให้เหมาะสม และควรจัดการบริหารทรัพยากรบุคคลในลักษณะรวมศูนย์เนื่องจากมีหน่วยงานเล็ก ๆ จำนวนมาก เช่นโรงพยาบาลชุมชนไม่สามารถมีบุคลากรด้านนี้ได้ครบทุกสมรรถนะที่จำเป็น

ส่วนประชาชน ในการใช้ไอทีทางการแพทย์และสาธารณสุขประชาชนควรจะมีความรู้และทักษะอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความสามารถนี้เรียกว่า eHealth Literacy ซึ่งหมายถึงความสามารถเข้าถึงเข้าใจและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ประกอบด้วย Literacy 6
ด้านด้วยกัน คือ Traditional Literacy สามารถอ่านออก เขียนได้ เข้าใจภาษา

Media Literacy สามารถเข้าใจและรู้เท่าทันการสื่อสารผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ

Information Literacy เข้าใจระบบสารสนเทศทราบแหล่งในการสืบค้นข้อมูล สามารถแยกแยะความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ได้ Computer Literacy สามารถใช้คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ โปรแกรมปฏิบัติการและโปรแกรมพื้นฐาน

Science Literacy เข้าใจพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถนำมาอธิบายและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล

Health Literacy ความรู้และทักษะพื้นฐานด้านสุขภาพ และความสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วม (Engage) กับแพทย์และเจ้าหน้าที่ในการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม

eHealth Literacy นี้เป็นส่วนหนึ่งของ DigitalCitizen คือการที่ประชาชนสามารถใช้งาน Digital เพื่อเชื่อมโยงกับสังคม การเมือง และรัฐบาลได้ และน่าจะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของ “นโยบายดิจิทัลไทยแลนด์” ที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย

การทำให้ประชาชนมี eHealthLiteracy นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ทั้งด้านการศึกษา การแพทย์และสาธารณสุข การพัฒนาตนเอง การพัฒนา การเรียนรู้ และอาจเกี่ยวข้องถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของประชาชนด้วย การพัฒนาจึงควรเป็นการตั้งเป้าหมายและบูรณาการของหลายภาคส่วนร่วมกัน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีบทบาทในชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อย ๆ การใช้สื่อต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ Cable TV Website ตลอดไปจนถึง SocialMedia มีบทบาททางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมาก ในปัจจุบันประชาชนได้ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพจากสื่อต่าง ๆ มากกว่าจากแพทย์หรือโรงพยาบาลและเมื่อมีปัญหาด้านสุขภาพ แหล่งแรกที่ค้นหาข้อมูลคืออินเทอร์เน็ต สื่อมีประโยชน์มากแต่ก็มีปัญหาอยู่มาก เช่นการโฆษณาผ่านสื่อเพื่อขายยาและผลิตภัณฑ์ด้านการ

แพทย์ซึ่งอาจโฆษณาเกินจริงหรือไม่จำเป็นการส่งต่อข้อมูลที่เป็นความเชื่อผ่าน SocialMedia ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและอาจนำอันตรายมาสู่ผู้นำไปปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้นอกจากแก้ไขด้วยการพัฒนาให้ประชาชนมีeHealth Literacy ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วควรจัดให้มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เผยแพร่โดยประชาชนแน่ใจว่าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเข้าใจง่าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดจนสามารถสอบทานข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ ด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพของไอทีทางการแพทย์และสุขภาพในประเทศไทย และหวังว่าจะเป็นการกระตุ้นให้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์และสุขภาพของไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสู่อนาคตอย่างมั่นคง