Smat Lock เทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกช่วยในการป้องกันทรัพย์สินและข้อมูล แต่ก็เป็นที่หมายปองของแฮกเกอร์ และภัยคุกคามในปัจจุบันก็พุ่งเป้ามาที่อุปกรณ์ประเภทนี้
มนุษย์เราได้พัฒนาใช้ล็อกและกุญแจมากว่า 4,000 ปีแล้ว เมื่อเราต้องการความเป็นส่วนตัวและต้องการป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญของตนเอง
ในช่วงแรก ๆ ล็อกและกุญแจจะทำจากไม้ และวัตถุหนักจำพวกเหล็ก ต่อมาได้รับการพัฒนาทดแทนการใช้งานโดยสมาร์ตโฟนและสมาร์ตวอชมากขึ้น ซึ่งล็อกที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์นี้จะทำงานด้วยซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีรีโมตเซนซิ่ง จึงสามารถเปิดได้จากที่ไกล ๆ และไม่ต้องมีการสัมผัสกับตัวอุปกรณ์ล็อก
สมาร์ตล็อกสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัส สามารถจัดการได้จากที่ไกล จึงเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนปัจจุบัน เช่น ในธุรกิจให้เช่าห้องพักที่ผ่าน Airbnb ที่เจ้าของห้องพักจะต้องส่งกุญแจเสมือนให้ผู้เช่า ดังนั้นการสอดส่องจากที่ไกล (Remote Monitoring) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ต้องเตือนความจำแก่เจ้าของกุญแจและลงเวลาว่ามีการเปิดและปิดกุญแจเมื่อใดบ้าง
แต่ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับสมาร์ตล็อกนี้ยังถูกแฮกค่อนข้างง่ายอยู่ อาชญากรสามารถส่งโค้ดในการเปิดและปิดกุญแจในรูปแบบข้อความธรรมดา ๆ ซึ่งจะดักจับไว้ได้ด้วยโปรแกรมที่ตั้งไว้เพื่อเอาไว้ดักจับข้อมูลโดยเฉพาะ หรือภัยอาจมาในรูปแบบการดักเก็บสัญญาณที่ลูกค้าตัวจริงใช้เปิดกุญแจในครั้งแรก และหวนกลับมาแอบเปิดเองในภายหลัง
นอกจากนี้ กุญแจอิเล็กทรอนิกส์ยังทำให้เราหัวหมุนได้ อุปกรณ์บลูทูธทุกชิ้นจะมีแอดเดรสที่อยู่ของตัวอุปกรณ์ที่ไม่ซ้ำกันอยู่ 6 ไบต์ และเป็นค่าเลขฐานสิบหก 12 หลักเป็นอย่างมาก ซึ่งจะคล้ายกับแมคแอดเดรสที่อยู่ในโลกอีเธอร์เน็ต แฮกเกอร์ที่มีประสบการณ์จะสามารถโคลนที่อยู่ของอุปกรณ์บลูทูธให้กลายเป็น “กุญแจ” เพื่อเปิดสมาร์ตล็อกได้อย่างง่าย ๆ
และเหมือนผลิตภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป เมื่อสมาร์ตล็อกมีประสิทธิภาพการใช้งานดี เช่น มีความปลอดภัยสูงกว่า จะทำให้มีราคาแพงกว่า ผู้ที่อยากใช้งานสมาร์ตล็อกดี ๆ ควรพิจารณาจ่ายค่าบริการที่สูงขึ้นเล็กน้อยด้วย
นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำสำหรับผู้ใช้งาน ดังนี้
– ไม่ควรใช้สมาร์ตล็อกกับแอพพลิเคชันที่สำคัญมากในขณะนี้ เช่น อาจจะใช้ล็อกกระเป๋าเดินทาง แต่ไม่ควรนำมาเป็นอุปกรณ์ล็อกบ้าน
– ถ้าท่านใช้สมาร์ตโฟนและสมาร์ตวอชเป็นกุญแจ ให้ระงับการใช้บลูทูธด้วย ซึ่งจะเป็นการระงับใช้ Geo-fencing คือ “การกั้นรั้ว” ที่ระบุพื้นที่ที่เราต้องการความเป็นส่วนตัวได้อย่างอัตโนมัติ
– อัพเดตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในล็อกและกุญแจอย่างสม่ำเสมอ และควรตั้งให้เป็นออโตอัพเดต ซึ่งจะช่วยให้ท่านได้รับแพตช์สำหรับซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง
ผู้ที่ต้องการใช้สมาร์ตล็อกกับแอพพลิเคชันที่มีความสำคัญมาก ควรรอสมาร์ตล็อกรุ่นใหม่อีกสัก 2-3 ปี ซึ่งรุ่นใหม่ ๆ นั้นจะสามารถอัพเดตซอฟต์แวร์เองได้เร็วและง่ายขึ้น จะใช้โพรโตคอลที่มีความปลอดภัยมากขึ้น และอาจจะมีคุณสมบัติไบโอเมตริกซ์ส่วนบุคคลอีกด้วย จริงอยู่ที่ระบบไบโอเมตริกซ์ยังโดนแฮกได้ แต่อย่างน้อยก็จะโดนขโมยหรือทำหายได้ยาก
Tesla Motors ผู้ผลิตรถยนต์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยกระดับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์โดยไม่กระทบกับการใช้งานของผู้ใช้งาน กล่าวคือ Tesla Motors ได้จัดให้มีการอัพเดตซอฟต์แวร์ไร้สายทันทีที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบไวไฟของที่บ้าน จึงทำให้เจ้าของรถอัพเดตซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ต้องขับรถไปที่ศูนย์บริการ ดังนั้นสมาร์ตล็อกรุ่นใหม่น่าจะให้การใช้งานที่ปลอดภัยและราบรื่นมากขึ้น
ภายใต้การเติบโตอย่างรวดเร็วของ IoT สมาร์ตล็อกเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชันที่มีความสำคัญ และมีการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย แม้จะมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่สมาร์ตล็อกก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เทคโนโลยีและเลือกใช้อย่างเหมาะสมก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ผู้บริหารงานด้านไอทีต้องเรียนรู้