อุตสาหกรรมการแพทย์ ถือแป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในการปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานในด้านต่าง ๆ
แน่นอนว่า สิ่งที่ทำให้อุตสาหรรมการแพทย์นั้นเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโต และมีการลงทุนทางเทคโนโลยีติดอันดับต้น ๆ นั้น ก็มาจากการที่การแพทย์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “ชีวิต” ของมนุษย์ โดยเริ่มกันตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์จนถึงวัยชรา ซึ่งในกระบวนการรักษานั้นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือความ “แม่นยำ” ทั้งในด้านวิชาความรู้ เครื่องมือ สถานที่ และฝีมือของแพทย์ ที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการสั่งสมมาอย่างยาวนาน
แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีทุกอย่างครบตามที่กล่าวไปก็ยังมีเหตุที่ผิดพลาดได้ อย่างที่ปรากฏเป็นข่าวถึงการรักษาที่ผิดพลาด ซึ่งในหลายครั้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาจากการที่แพทย์ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างรอบด้าน แต่เมื่อโลกก้าวสู่ยุคของเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ความผิดพลาดเหล่านี้จะลดลงได้ โดยการผสมผสานองค์ความรู้และเครื่องมือที่ทันสมัย แต่จะมีเทคโนโลยีใดบ้างที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ในปัจจุบัน
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : A.I.) อย่างที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นั้นได้ส่งผลกระทบไปในทุกอุตสาหกรรม แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการแพทย์เองก็ไม่มีข้อยกเว้น เพราะด้วยความสามารถหลักของ AI คือสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์ แต่สามารถเรียนรู้และประมวลผลได้รวดเร็วโดยที่ใช้เวลาไม่นาน เ
มื่อเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทางการแพทย์ทั่วโลก ขณะที่แพทย์หนึ่งคนต้องใช้เวลามากกว่า 6-8 ปี ในการสั่งสมประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ และในบางสาขาการแพทย์อาจจะใช้ระยะเวลายาวนานกว่านั้น ตรงจุดนี้เองทำให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ช่องว่างลดลงในแบบที่เปลี่ยนแปลงได้เพียงชั่วข้ามคืน
โดยจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาลนำความรู้ทางการแพทย์ และยามาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อแนะนำแนวทางการรักษาได้แบบ Real-time ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยดีมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนต่าง ๆ ในการรักษาผู้ป่วยลง และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาลง เพราะมีความแม่นยำมากขึ้น
นอกจจากนี้ยังสามารถแนะนำและแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยแบบอัตโนมัติ เช่น แพทย์สามารถใช้ AI ในการสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยว่ามีการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือไม่ โดยใช้ระบบจดจำใบหน้าขั้นสูงและซอฟต์แวร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตัวกับผู้ป่วย โดยมีการคาดการณ์กันว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า (2020) ตลาดของ AI ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการสุขภาพทั่วโลกจะเติบโตที่สูงถึง 42% และภายในปี 2025 นั้น AI จะถูกใช้งานอยู่ภายในโรงพยาบาลกว่า 90% ของประเทศสหรัฐอเมริกา และ 60% ของโรงพยาบาลและธุรกิจประกันทั่วโลก และ AI จะมีส่วนช่วยในการรักษาผู้ป่วยกว่า 70% ให้มีราคาถูกลงและมีคุณภาพดีขึ้น
เครื่องพิมพ์อวัยวะ 3 มิติ (Bio 3D Printing)
ในวงการแพทย์เรื่องของการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ Transplaัntation) นับว่าเปลี่ยนเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะด้าน ซึ่งหากเป็นอวัยวะสำคัญ ๆ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น โรคบางโรคไม่สามารถทำให้หายดีขึ้นได้ด้วยยา หรือผ่าตัด
ดังนั้น ทางออกสุดท้ายคือการเอาอวัยวะนั้น ๆ ที่ยังดีอยู่จากผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมาเปลี่ยนให้ แต่การปลูกถ่ายอวัยวะนั้นไม่ได้ง่ายเหมือนการเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ เพราะร่างกายคนเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองไม่ยอมรับอวัยวะใหม่ แต่ด้วยเทคโนโลยีของการพิมพ์แบบ 3 มิติ ปัญหาเหล่านี้กำลังจะหมดไป
เพราะล่าสุดได้มีการสร้างเครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ (Integrated Tissue-Organ Printer) ขึ้นมาแล้ว ซึ่งเป็นการนำเอารูปแบบของการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาสร้างโดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง และกำหนดค่าโครงสร้าง กำหนดค่าวัสดุในการพิมพ์ (เซลล์ชนิดต่าง ๆ ) กำหนดความเร็วในการพิมพ์ ความหนาของเนื้อเยื้อ เพิ่มให้ได้ชิ้นส่วนที่รูปร่างตามต้องการ
จากนั้นเครื่องจะวิ่งไปสั่งให้แขนกลของหุ่นยนต์ไปหยิบกระบอกลักษณะคล้ายเข็มฉีดยา ที่บรรจุเซลล์ชนิดต่าง ๆ หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิมพ์ และฉีดออกมาที่ฐานพิมพ์ตามตำแหน่งที่กำหนดเซลล์นั้น ๆ ที่จุดนั้นตามโมเดลอวัยวะที่ต้องการพิมพ์ ตามข้อมูลที่ได้ถูกส่งโดยสร้างทีละชั้น (Layer) ไปเรื่อย ๆ จนได้เป็นชิ้นส่วนของร่างกายแล้วค่อยนำไปปลูกถ่ายต่อไป โดยมีการคาดการณ์กันว่าตลาด 3D Printing สำหรับวงการสาธารณสุขนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 6,000 ล้านเหรียญภายในปี 2025
คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังส่งกระทบอุตสาหกรรมการแพทย์ เพราะเมื่อก้าวสู่ยุคอภิมหาข้อมูล (Big Data) จากการเชื่อมโยงข้อมูลไม่ว่าจะเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ก (Social Network) ข้อมูลจากอุปกรณ์ดีไวซ์ต่าง ๆ (IoT) หรือข้อมูลจากบริษัทประกันภัยต่าง ๆ จะทำให้โรงพยาบาลมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้ย่อมหมายถึงการลงทุนในการสร้างศูนย์จัดเก็บข้อมูล และการสร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลต้องเพิ่มตามขึ้นมาด้วย เนื่องจากข้อมูลของโรงพยาบาล หรือข้อมูลของคนไข้ถือว่าปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งหากไม่ทราบว่าจะดูแลงานโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่ามีอะไรต้องดูแล ก็ย่อมจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาล ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์
เพื่อบริหารจัดการทั้งโครงสร้างของโรงพยาบาลว่ามีจุดอ่อนตรงไหน ที่สร้างความเสียหายให้โรงพยาบาลได้ และการที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ของเทคโนโลยีคลาวด์ ยิ่งจะทำให้โรงพยาบาลไม่ต้องกังวลว่าหากเกิดข้อผิดพลาดในระบบจุดใดจุดหนึ่งจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อีกทั้งยังสามารถมั่นใจในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยได้ เนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์มีระบบป้องกันศูนย์ข้อมูลที่มากเพียงพอ และยังมีทีมงานที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย
และหากมองในการพัฒนาคุณภาพบริการ ด้วยแอพพลิเคชันที่คิดขึ้นการเลือกใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ย่อมเป็นทางออกที่ดีในการสร้างความรวดเร็ว อีกทั้งเมื่อใช้บริการคลาวด์สำหรับบริการด้านสาธารณสุข ก็จะทำให้แพทย์ นักวิจัย บริษัทรับทำประกัน (Insurers) และบริษัทต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลการประมวลผลสำหรับด้านสุขภาพได้ด้วยความปลอดภัย และทำตามมาตรฐานการคุ้มครองส่วนบุคคลของผู้ป่วย (HIPAA) ด้วย
ซึ่งเมื่อข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัลในคลาวด์แล้ว แพทย์ก็จะสามารถนำข้อมูลนั้นไปทำอะไรที่น่าตื่นเต้นได้มากมาย อย่างเช่น การสร้างภาพจำลองของหัวใจ การหมุนภาพนั้นในทิศทางต่าง ๆ การนำไปให้คนไข้ดู การส่งภาพนั้นข้ามระยะทางไกล ๆ เพื่อการสนทนาและสื่อสารกับแพทย์ หรือคนไข้ในสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศอื่นผ่านระบบเทเลเมดิซีน (Telemedicine)
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นระบบดิจิทัล และจากนั้นจึงเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลให้เป็นความรู้ ซึ่งจะทำให้แพทย์รักษาคนไข้ได้ดีขึ้น หรือแม้แต่บริษัทผลิตยาสามารถพัฒนาได้ดีขึ้น จากความสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์เหล่านี้ได้