ปัจจุบันคำว่า Digital และ Disruptive และ Social Network คือสิ่งที่ทุกแบรนด์ต่างรู้จัก และใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้บริโภค แต่เราจะรู้วิธีใช้ที่เหมาะสมได้?
ล่าสุดทาง เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ผู้นำด้านประชาสัมพันธ์
โดยจากผลสำรวจการใช้สื่อออนไลน์ล่
ถึงแม้จะมีผู้ใช้งานมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแบรนด์
2 Key เอาชนะกับดัก Social Network
ไมค์ เคอร์ลีย์ กรรมการผู้จัดการโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด กล่าวว่า ในขณะที่ทุกแบรนด์ใช้โซเชี
ทำให้แบรนด์ต้องปรับกลยุทธ์
ให้กับแบรนด์ได้เลย ถ้าขาดความคิดสร้างสรรค์และกลยุ
กล้าที่จะแปลก กล้าที่จะเปลี่ยน เพราะใดๆ ในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
“ไม่มีใครไม่เปลี่ยนไป” อาจเป็นคำคมทวิตเตอร์ที่ไม่ได้เอาไปใช้เฉพาะกับเรื่องความรักความสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว เพราะแม้แต่เทรนด์ กลยุทธ์ธุรกิจ หรือพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของแต่ละคนเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง แน่นอนว่าอะไรที่เดิมๆ เหมือนเมื่อปีที่แล้ว เดือนที่แล้ว
หรือแม้แต่เมื่อวาน ก็อาจจะกลายเป็นของเก่า และตกเทรนด์ไปได้ภายในชั่วข้ามคืน สาเหตุที่ธุรกิจส่วนใหญ่อาจไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะกลัวความเสี่ยง แต่อย่าลืมว่าการอยู่เฉยๆ กับสิ่งเดิมๆ ก็เสี่ยงไม่น้อยไปกว่ากัน ถ้าไม่อยากถูกลืม แบรนด์ต้อง กล้า (Courage) ที่จะเปลี่ยน แล้วคุณอาจจะกลายเป็น “คนแรก” ที่คนอื่นต้องเดินตาม
โซเชียลมีเดีย ไม่ใช่แค่ทุกแบรนด์ต้องมี แต่ต้องทำให้ดี และโดน
ในยุคที่ทุกแบรนด์แย่งกันพูดเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภค โซเชียลมีเดียถูกใช้เป็นช่องทางสำคัญที่แบรนด์ใช้เพื่อเข้าถึงและติดต่อพูดคุยกับผู้บริโภค แต่การจะใช้โซเชียลมีเดียให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้น ต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (Commitment) และเลือกแพลตฟอร์มอย่างเหมาะสม
หลายแบรนด์เห็นคนอื่นมีอินสตาแกรม ก็มีบ้าง คู่แข่งหันไปหาทวิตเตอร์ ก็ทำบ้าง โดยที่หารู้ไม่ว่า แม้แบรนด์อาจจะเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ได้กว้างขึ้น แต่ก็กำลังเสียทรัพยากรไปโดยใช่เหตุ เพราะยิ่งมีโซเชียลมีเดียหลายช่องทางมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึง
แรงคนที่ต้องจัดสรรไปดูแล ไปคิดคอนเทนท์ หรือไปคอยตอบอินบ็อกซ์ พูดง่ายๆ มันคือต้นทุนทางธุรกิจดีๆ นี่เอง นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงได้
ด้าน อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการบริหาร สายงานโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน แบรนด์กำลังหลงไปกับตัวเลขที่แพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ให้ข้อมูล แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดผลได้อย่างยั่งยืน
เราจึงได้เปิดหน่วยงาน โซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น (Social & Innovation)ขึ้นมาเพื่อให้บริการงานด้านบริหารข้อมูล วิเคราะห์และแนะนำเทคนิคในการสื่อสารให้กับแบรนด์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ลึกขึ้น และตอบโจทย์ด้านการทำธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
โดยแผนกโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น มีสำนักงานกระจายอยู่ 8 แห่งทั่วโลก พร้อมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดียมากกว่า 250 คน โดยความเชี่ยวชาญของโซเชียล แอนด์ อินโนเวชั่น ที่เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย พร้อมให้บริการแก่แบรนด์ ได้แก่
- กลยุทธ์ด้านสื่อโซเชียลและออนไลน์ (Social and Online Media Strategy)
- การสื่อสารแบรนด์บนแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Brand Communication)
- การบริหารจัดการชุมชนออนไลน์ (Online Community Management)
- การบริหารจัดการสื่อออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์ (Online Media and Influencer Utilization)
- การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (Creative Digital Production)
- การวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์เชิงลึก (Online Data Research and Analysis)
เราต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดล้
3 คำถามที่แบรนด์จะตอบ เพื่อเป็น 2% ที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จาการวิจัยการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คของแบรนด์ระดับโลก 50 แบรนด์ พบว่า มีเพียง 2% เท่านั้น ที่สามารถสื่อสารผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นก่อนที่แบรนด์จะวางแผนการทำงานผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คควรต้องตอบคำถามให้ได้ 3 ข้อ ได้แก่
เราต้องการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างไร? โทรโข่ง หรือโทรศัพท์
การวางกลยุทธ์ด้านโซเชียลมีเดีย ไม่มีสูตรตายตัว ดังนั้นคำถามสำคัญของแบรนด์ คือ เราต้อวใช้แพลตฟอร์มนี้ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร? หากต้องการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง โซเชีลยมีเดียก็สามารถเป็นโทรโข่ง ที่บอกกล่าวข้อความต่าง ๆ ได้ดังที่สุด เนื่องจากคนรับรู้ได้เป็นจำนวนมาก แต่หากต้องการสร้างประสบการณ์ที่เจาะจง โซเซียมีเดียก็จะสามารถเป็นโทรศัพท์ที่มุ่งสื่อสารเฉพาะเจาะจงในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้
แบรนด์ต้องการใช้ศิปละ หรือวิทยาศาสตร์ หรือใช้ผสมผสาน ในการสื่อสารผ่านโซเชียล
แม้ว่าการสื่อสารมักถูกมองว่าเป็นงานด้านศิลปะ แต่สำรับโลกยุคดิจิทัล ทุการสื่อสารควรมีข้อมูล (Data) และข้อมูลเชิงลึก (Insight) ประกอบกัน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง และนำไปพัมนาในเชิงกลยุทธ์ และแนวทางในการสื่อสารได้อย่างตรงกลุ่ม
มองหาผลลัพท์ หรือวัตถุประสงค์ ที่กว้างกว่า
นักกการตลาดมักนิยมใช้ตัวเลขชี้วัด เช่น ยอดวิว ยอดแชร์ ของแคมเปญ (Performance) เพื่อวัตผลสำเร็จจากการลงทุนผ่านสื่อออนไลน์ วันนี้หลายแรนด์พยาามหาเทคโนโลยี และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยให้การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียโดดเด่น หลากหลาย และรวดเร็ว มากขึ้น แต่มักลืมไปว่าความท้าทายที่แท้จริงของแบรนด์ คือ จะทำอย่างไรให้ตอบ วัตถุประสงค์ (Objective) ที่ตั้งไว้ได้ดีที่สุด
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่