AIS Business

AIS Business ประกาศวิสัยทัศน์ยกระดับสู่ “ผู้นำบริการ ICT เพื่อองค์กรครบวงจร Most Trusted ICT Service Provider”แสดงศักยภาพของบริษัทในเครือและพันธมิตรชั้นนำด้านไอทีระดับโลก พร้อมเสริมความแข็งแกร่ง จากดิจิทัลโซลูชันส์ที่ออกแบบมาเพื่อภาคธุรกิจ และองค์กรทุกกลุ่ม…

เอไอเอส บิสสิเนส แถลงวิสัยทัศน์ และนโยบาย ก้าวสู่การเป็น ผู้นำบริการ ICT เพื่อองค์กรครบวงจร Most Trusted ICT Service Provider สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของลูกค้าองค์กรทุกขนาด รองรับการเติบโต และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับทุกอุตสาหกรรม

ผ่านความร่วมมือจากพาทเนอร์ ทั้ง ไทย ต่างประเทศ อาทิ CS Loxinfo, Teleinfo Media, Rabbit Line Pay, Microsoft, G-ABLE, SAP, VMware ฯลฯ

หวังสร้างมาตรฐานระดับเวิล์ดคลาส พร้อมเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประโยชน์ให้กับทุกธุรกิจในยุค Digital Transformation เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แก่เศรษฐกิจไทย

AIS Business the leading ICT service provider 

AIS Business

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า กว่า 5 ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญกับผลกระทบครั้งยิ่งใหญ่จาก Digital Disruption ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในวิถีชีวิต และทุกอุตสาหกรรม

ในอดีตใครที่จะสามารถครองความได้เปรียบนั้น คือ ผู้ที่มีที่ดินมากกว่าคนอื่น และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสู่ยุคของเครื่องจักร ผู้ที่สามารถครองทรัพยากรอย่าง “เหล็ก” ได้ คือผู้ที่มีอำนาจในการต่อรอง แต่มาถึงปัจจุบันหากต้องการที่ครองตำแหน่งผู้นำ สิ่งที่ต้องมี กลับไม่ใช่ ทั้ง 2 สิ่งที่กล่าวมา

เพราะวันนี้โลกก้าวไปไกลกว่าที่เป็นแล้ว ผู้ที่จะเป็นผู้นำได้ สิ่งที่สำคัญมากที่สุด คือ “ข้อมูล” ใครที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากที่สุดคือผู้ที่จะครอบครองกระแส และทิศทาง ที่จะขับเคลื่อนสังคมได้ เพราะโลกกำลังก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเดียวบนโครงข่าย (Digital Backbone)

เป็นโครงข่ายการสื่อสารที่เป็นเส้นทางหลักสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากด้วยความเร็วสูง เราลองนึกภาพตามเฉพาะในส่วนของปริมาณการใช้ ซิม (SIM) ของผู้บริโภคที่ วันนี้ 1 คน ไม่ได้ถือครองเพียง 1 ซิม แต่ถือมากกว่า 2-3 ซิม แล้ว ซึ่งนั่นหมายถึงโลกกำลังเกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลมากขึ้น

AIS Business

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา เราจะพบว่ามีการพูดถึง 3 เทคโนโลยี ที่กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายอุตสาหกรรม อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI), อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบล็กเชน (Blockchain)

แต่สำหรับเอไอเอสเรามองว่าเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น ยังต้องรวมไปถึง เออาร์ วีอาร์ (AR/VR), เอ็มอาร์ (Mixed reality หรือ MR) และหุ่นยนต์ หรือ โรบอต (Robot) ด้วย เพราะเป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนให้ทั้ง 3 เทคโนโลยี เกิดการใช้งานได้จริงมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าภาพของการเปลี่ยนแปลงนี้

จะเกิดขึ้น 2 ปี (2020) ข้างหน้า เรื่องดังกล่าวจะไม่ใช่เรื่องขององค์กรขนาด กลาง หรือเล็ก เท่านั้น เพราะองค์กรขนาดใหญ่ อย่าง กูเกิล หรือเฟชบุ๊ค ที่ถือว่าเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนโลกอยู่ในปัจจุบัน เองก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะไม่มีใครอยู่ไปได้ตลอด หากไม่เปลี่ยนแปลง

ให้ทันต่อยุคสมัย วันนี้โจทย์ของหลาย ๆ อุตสาหกรรม คือทำอย่างไรถึงจะสามารถ “รู้จัก และเข้าใจ” ผู้บริโภคอย่างลึกซึ้งมากขึ้น และยังต้องร่วมไปถึงการรักษาบุคลากรขององค์กรตัวเองไว้ให้ได้ด้วย เพราะองค์กรจะขับเคลื่อนไ้ต้องอาศัยพลังจากบุคลากร ที่ดี และเก่ง

ผู้นำในอง์กรต้องมองบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญ การเปลี่ยนพนักงานบ่อย ๆ ไม่ใช่ทางออกที่ดี ในการสร้างความต่อเนื่อง ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแนวโน้มนี้ก็มีเห็นแล้วในองค์กรขนาดใหญ่ ที่เริ่มมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำงาน ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจ และสบายใจ พร้อมที่ทุ่มเทในการทำงานต่อไป

AIS Business

ซึ่งในแง่ขององค์กร การเปลี่ยนแปลงองค์กรคือโอกาสใหม่ครั้งสำคัญที่จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง Transform องค์กรสู่ Innovation Organization เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน แต่องค์กรต้องทำ Business Transformation ใน 2 ด้าน คือ

  • ยกระดับการบริหารจัดการองค์กร ใน 3 ส่วน คือ ปรับกระบวนการทำงานหลักให้เป็น Digital (Digitizing Core Processes), ปรับรูปแบบช่องทางการส่งมอบบริการลูกค้าให้เป็น Digital (Digitizing Customer Interface) และ คิดค้นและขยายองค์กรสู่รูปแบบบริการหรือธุรกิจใหม่ๆ (Discovering and Scaling by Digital)
  • ยกระดับและให้ความสำคัญกับกระบวนการเพื่อลูกค้า ใน 3 ส่วน คือ เข้าใจ และรู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้งผ่าน Big Data, สร้างสรรค์นวัตกรรมที่แตกต่างตลอดเวลา ด้วย Speed

จึงเป็นที่มาของการ transform สู่ Digital Life Service Provider ของเอไอเอส ที่เป็นการปรับทั้งองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็น Digital Infrastructure, Digital Service และ Culture Transformation

ทำให้วันนี้เราพร้อมแล้วที่จะร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ส่งเสริม สนับสนุนองค์กรทุกกลุ่มและทุกอุตสาหกรรมให้ยกระดับไปอีกขั้นจาก Ecosystem ในโลกดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบที่สุดจากแนวคิด “ผู้นำบริการ ICT เพื่อองค์กรครบวงจรMost Trusted ICT Service Provider”

ด้วยขีดความสามารถของบุคลากรที่ได้พัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีดิจิทัล ผสมผสานเข้ากับหัวใจบริการ และทัศนคติที่มุ่งช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ตลอดจนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่บริหารงานอย่างมืออาชีพมาโดยตลอด

ผมขอยืนยัน และให้ความมั่นใจกับท่านลูกค้าองค์กรทุกกลุ่ม ทุกขนาด ว่า ท่านจะได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงสุด เป็นเลิศ และแตกต่างอย่างแน่นอน เราพร้อมอยู่เคียงข้าง สร้างโอกาสใหม่ๆ จากเทคโนโลยีดิจิทัล และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ครบวงจร ครอบคลุมในทุกขั้นตอน ไม่ใช่เพียงเรื่องเครือข่าย

AIS Business

ด้าน ยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร กล่าวว่า วันนี้เอไอเอสมีความพร้อมอย่างยิ่งทั้งในด้านเครือข่าย และเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่พร้อมจะก้าวสู่การเป็น “ผู้นำบริการ ICT เพื่อองค์กรครบวงจร Most Trusted ICT Service Provider”

ที่อยู่เคียงข้างองค์กรธุรกิจ ภายใต้แบรนด์ เอไอเอส บิสสิเนส ตามเจตนารมย์ของบริษัทที่มุ่งมั่นตั้งใจนำศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงทีมงานบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี มาสนับสนุนภาคธุรกิจและองค์กรของไทยให้เติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นจากขีดความสามารถด้านโครงข่าย Digital Infrastructures ที่ทรงประสิทธิภาพเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ได้แก่

  • เครือข่าย Mobile เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการที่มีคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศ รวมทั้งมีคลื่นความถี่หลักในการให้บริการ 4G มากที่สุด
  • เครือข่าย Fixed Broadband เอไอเอส ไฟเบอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติกแท้รายแรกในประเทศ ครอบคลุมแล้วกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ
  • เครือข่าย IoT เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการที่มีทั้งโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นรายแรกและรายเดียวในไทย

AIS Business

รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี และ Digital Services ทั้งที่จากการ Synergy ความแข็งแกร่งของบริษัทและบุคลากรในเครือทั้งหมดมาร่วมกันให้บริการและทำตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าองค์กร และการผนึกศักยภาพจากพันธมิตรด้านไอทีชั้นนำระดับโลก และประเทศไทย

อาทิ CS Loxinfo, Teleinfo Media, Rabbit Line Pay,  Microsoft, G-ABLE, SAP, VMware ฯลฯ ทำให้สามารถให้บริการ Digital Platforms และ Solutions หลากหลายด้าน ตั้งแต่ Network, Data Center, Cloud, Managed ICT Services, IoT, Payment ได้อย่างเต็มรูปแบบ

และครบวงจร ไม่ใช่เพียงเรื่องเครือข่ายเท่านั้น แต่ครอบคลุมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์ Device, Platform, การออกแบบ Software และ Application, ระบบ Cloud Computing ระดับเวิล์ดคลาส, eSIM ที่พร้อมใช้งานกับอุปกรณ์

รวมทั้งที่เกี่ยวข้องในอีโคซิสเต็มทั้งหมด และยังสามารถ Customized โซลูชั่นส์ให้สอดคล้องกับแต่ละองค์กรในแต่ละอุตสาหกรรมได้ด้วย เหล่านี้ เอไอเอส บิสสิเนส พร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำเทคโนโลยีไปใช้ในการทำงาน

บริการด้าน ICT ของ เอไอเอส Business

AIS Business

บริการ Cloud & ICT เพื่อธุรกิจ ซึ่งหลังจากที่ เอไอเอส ซินเนอร์ยี่กับบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ทำให้มี ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และตามภูมิภาคต่างจังหวัด รวม 9 แห่งทั่วประเทศ

และทำให้ เอไอเอสเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud) ทีมีศูนย์ข้อมูลมากที่สุด และเป็นศูนย์ข้อมูลที่ได้มาตรฐาน Carrier Grade Data Center เทียบชั้นระดับโลก ซึ่งเมื่อรวมกับ เครือข่ายคุณภาพ 3G, 4G, 4.5G

และบริการสื่อสารข้อมูล (Enterprise Data Service) จะทำให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรได้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถให้บริการ Cloud ได้แบบ End-to-End Single Service Provider อย่างครบวงจร

ตั้งแต่ Cloud Infrastructure, Platform, Software, Network, Security ไปจนถึง Managed Services ตลอดจนนำทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทมาร่วมให้บริการ Managed Network และ Managed ICT Services เหล่านี้

นอกจากนี้ เมื่อรวมกับบริการจาก ผู้ให้บริการ Cloud ระดับโลก อย่าง G-Able, SAP, CISCO และ VERSA ทำให้ศุนย์ข้อมูลของเอไอเอส สามารถให้บริการครอบคลุ่มทั้งในส่วน Data Analytics as a Service, ระบบงานขาย และระบบบัญชี จาก SAP Business One

และบริหารจัดการเครือข่ายที่หลากหลาย ด้วย SD-WAN ด้วยบริการทั้งหมด ทำให้ เอไอเอส สามารถให้บริการ ICT Service ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม ใช้ได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่จนถึงผู้ประกอบการ SME และ Startup

บริการ IoT เชิงพาณิชย์ ด้วย ศักยภาพของเครือข่าย IoT ทั้ง NB-IoT และ eMTC ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรความร่วมมือจากโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) จากพาทเนอร์ กว่า 800 ราย ผ่านการร่วมกันวิจัยพัฒนา

และการออกโซลูชั่นส์ด้าน IoT จนเป็น IoT Ecosystem ที่แข็งแกร่ง รองรับทุกการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ด้านขนส่งคมนาคม (Smart Transportation), ด้านความปลอดภัย (Smart Recognition) และด้านการตลาด (Customer Care)

บริหารจัดการตู้แช่-ห้องเย็น (Smart Cold Chain), ด้านการดูแลสุขภาพ (Smart Health) และด้านบริหารจัดการภายในนิคมอุตสาหกรรม (Smart Industrial Estate)

บริการ Digital Transformation Solutions ผ่าน แอปพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการองค์กร แบบตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ (Project-based) อาทิ ประสบการณ์ช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ (Smart Retail), ระบบสะสมคะแนน และสิทธิพิเศษ (Points & Privilege)

บริการหุ่นยนต์พร้อมระบบควบคุม เพื่อโต้ตอบ การให้ข้อมูล แก่ลูกค้า (Robot-as-a-Service) และระบบส่ง Agent ไปติดต่อลูกค้าเพื่อให้บริการที่ Site งาน (Smart Call)

บริการ Digital Payment Gateway ระบบชำระเงินของธุรกิจให้สามารถรองรับการชำระเงินแบบดิจิตอล โดยผสานศักยภาพของบริษัทในเครือ ทั้ง Rabbit LINE Pay และ mPAY ที่สามารถออกแบบให้กับลูกค้าองค์กรได้

บริการ Digital Marketing & Outsource Contact Center บริการที่ตอบโจทย์การทำการตลาดดิจิทัลให้กับธุรกิจ เช่น YellowPages eCommerce Platform, SEO, Email Marketing, Social Marketing, การทำเว็บไซต์

รวมถึงบริการ Outsource Contact Center สำหรับธุรกิจในการติดต่อลูกค้า ทั้งกรณีรับสายลูกค้าและโทรหาลูกค้า จาก บริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย (บริษัทในเครือ)

Photo Gallery

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่