เอไอเอส! 5จี (AIS 5G) โชว์เหนือทดสอบ 5G ครบทั้ง 5 ภาคทั่วไทย พน้อมโชว์บังคับโดรนผ่านโครงข่ายข้ามภูมิภาค เชียงใหม่-กทม. ระบุ 5G จะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้คนไทย…
highlight
- เอไอเอส เดินหน้า ทดสอบเทคโนโลยี 5G ครบทั้ง 5 ภาคทั่วประเทศ ในพื้นที่ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคใต้, ภาคอีสาน และภาคเหนือ สอดรับกับเจตนารมณ์ของ กสทช. ที่สนับสนุนให้มีการทดลอง ทดสอบ 5G ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ตั้งเป้ามุ่งสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเข้าถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างทั่วถึง ทำให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องใน 5G Ecosystem ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
- ล่าสุด เคลื่อนทัพขึ้นเหนือ จับมือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โชว์สาธิตบังคับโดรน ข้ามภูมิภาค ระหว่างเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ผ่านเครือข่าย 5G บน Live Network ครั้งแรกในไทย พร้อมขนทัพนวัตกรรมสุดล้ำแห่งยุคมาให้เหล่านักศึกษา นักพัฒนา และผู้ประกอบการในภาคเหนือได้สัมผัสนวัตกรรม 5G บนสภาพแวดล้อมจริง เพื่อยกระดับภาคเหนือและประเทศไทย ณ เอไอเอส เพลย์กราวด์ @ CMU LEARNING SPACE แหล่งรวมครีเอเตอร์รุ่นใหม่ แห่งแรกในภาคเหนือ
AIS 5G โชว์ ผลทดสอบบังคับโครนผ่านโครงข่ายข้ามภูมิภาค
วีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์ และองค์กร กล่าวว่า เพราะ 5G คือ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาพลิกโฉมสังคมไทย และยกระดับขีดความสามารถของทุกอุตสาหกรรมไปอีกขั้น เอไอเอสในฐานะ Digital Life Service Provider จึงได้เตรียมองค์ความรู้และวางรากฐานโครงสร้างเครือข่ายหลัก
เตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ตั้งแต่โครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, อุปกรณ์โครงข่าย, ขยายโครงข่ายเทคโนโลยี Massive MIMO, อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ, ดีไวซ์, 5G SIM Card สำหรับเชื่อมต่อเพื่อทดสอบ Use Case ต่างๆ บนเครือข่าย 5G เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการได้อย่างเหมาะสม
รวมถึงผนึกกำลังสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วทุกภูมิภาค และเหล่าพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี ร่วมศึกษา ทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสนับสนุนของ กสทช. เพื่อให้ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจต่าง ๆ
เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมในวันที่ 5G มาถึง เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2561 ดังนี้
ภาคกลาง : เปิดพื้นที่ AIS D.C. ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม จัดแสดงนวัตกรรม 5G Use Case เป็นครั้งแรกของเมืองไทย, ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด 5G AI/IoT Innovation Center เพื่อเป็นพื้นที่ให้นักพัฒนาได้เข้ามาทดลองใช้เทคโนโลยี 5G
ภาคตะวันออก : ผนึกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เปิดสนามทดสอบ Testbed 5G-IoT ในพื้นที่ EEC เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
ภาคใต้ : ร่วมมือกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ทดลอง ทดสอบเทคโนโลยี 5G ด้วยแนวคิด “Smart City, Smart Living” สร้างโมเดลสมาร์ทซิตี้ครั้งแรกในไทย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ติดตั้ง 5G Live Network ที่เมืองโคราช ณ AIS Contact Center Development & Training Arena เปิดพื้นที่ให้ชาวอีสานร่วมวิจัย 5G ยูสเคสแล้ว
ล่าสุด เคลื่อนทัพสู่ภาคเหนือประสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทดลองทดสอบศักยภาพเทคโนโลยี 5G ในสภาพแวดล้อมจริงเป็นครั้งแรกในภาคเหนือ โดยยึดโจทย์จากอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ โอกาส ความสนใจ และความท้าทายในภาคเหนือเป็นตัวกำหนด ดังนั้น 5G Use Case ในครั้งนี้
โดยเริ่มต้นด้วย 5G Connected Drones การสาธิตบังคับโดรนข้ามภูมิภาค ระหว่างเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ ในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ผ่านเครือข่าย 5G แสดงแนวคิดการใช้งานโดรนในยุค 5G ที่ความเร็วสูงและความหน่วงต่ำ ซึ่งคนควบคุมไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับโดรน แต่สามารถควบคุมโดรนระยะทางไกลได้ผ่านเครือข่ายมือถือ
และสามารถ Streaming Video ที่มีความละเอียดสูงกลับมาหาผู้ใช้งานได้ทันที ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย ทั้งด้านการขนส่งและโลจิสติกส์, การเกษตร, ความปลอดภัยสาธารณะ, การกู้ภัย รวมถึงการนำไปใช้ควบคุมโดรนภายในเมืองอัจฉริยะ เพื่อใช้ในการเข้าไปสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ยังได้เปิด เอไอเอส เพลย์กราวด์ @ CMU LEARNING SPACE แหล่งรวมครีเอเตอร์รุ่นใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ให้เหล่านักศึกษา นักพัฒนา และผู้ประกอบการด้านดิจิทัลรุ่นใหม่ในภาคเหนือ ที่สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีได้เข้ามาทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับ AIS
ไม่ว่าจะเป็น 5G, NB-IoT, VR, API Zone ฯลฯ พร้อมทั้งมี Network Infrastructure โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้ง 5G, NEXT G, IoT, Fibre และ AIS Super WiFi ให้นักพัฒนาสามารถทดลอง ทดสอบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริงได้เลย
นอกจากนี้ ยังมีโซน Space for Work, Space for Consulting, Space for Creators และ Space for Innovators ไว้ให้บริการกับนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งเอไอเอสจะเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร
เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
ด้าน ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนองค์ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนให้นักศึกษาได้ทดลอง และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม การได้ร่วมมือกับเอไอเอส สร้างศูนย์ เอไอเอส เพลย์กราวด์ @ CMU LEARNING SPACE เพื่อใช้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้งาน 5G กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจากเอไอเอสนั้น
นับได้ว่าเป็นการเตรียม Eco System ของการพัฒนาเทคโนโลยีให้พร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างแท้จริง
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage