E-Commerce

เผยเทรนด์บริการ ของบริการ Fulfillment พบ ภายในปี 2028 ธุรกิจต้องเตรียมตอบสนองความต้องการแบบ On-Demand จากการโตของ E-Commerce….

E-Commerce ส่งผล!! เครื่องยิงแสกนเนอร์ และพิมพ์ฉลาก อนาคตสดใส 

ผลสำรวจ The Future of Fulfillment Vision Study (Asia-Pacific Edition) by ZEBRA เผยว่า ปัจจุบันการเติบโตของตลาด อีคอมเมิร์ซ นั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการที่ผู้บริโภคส่วนมากสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในการเชื่อมโยงสู่ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ได้จากหลากหลายๆ อุปกรณ์ และไม่จำกัดสถานที่ และเวลา

ซึ่งสอดคล้องตัวเลขจาก สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ที่ภายใน 2 ปี (2020) ตลาดอีคอมเมิร์ซ จะมีมูลค่าสูงถึง 5.6 พันล้านบาท และจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบซัพพรายเชน ไปสู่รูปแบบ Omni-Channel เพื่อแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบ On-Demand ตามความต้องการของผู้บริโภค

E-Commerce

มร. ทาน อิ๊ก จินผู้จัดการธุรกิจ Vertical Solutions, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชีย แปซิฟิค กล่าวว่า แรงผลักดันจากเหล่านักช้อปที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและเชื่อมต่อการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ผู้ค้าปลีก ผู้ผลิต และบริษัทโลจิสติกส์จึงร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนบทบาทในรูปแบบที่ไม่มีมาก่อนเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ซื้อในด้านการจัดส่งสินค้าผ่าน Omni-Demand

จากการศึกษาวิจัยในหัวข้อ Future of Fulfillment Vision Study ของซีบรา พบว่า อีคอมเมิร์ซกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการส่งมอบที่เร็วขึ้น เพื่อการตอบสนองแนวโน้มดังกล่าว บริษัทต่างๆ กำลังหันไปใช้เทคโนโลยีดิจิตอล และ analyticsเพื่อนำระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ระบบที่ช่วยในการมองเห็นสินค้า

และ Business Intelligence (เทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บ วิเคราะห์ และสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจในหลายมิติ) ไปใช้ในซัพพรายเชนเพื่อแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบ on-demand ตามความต้องการของผู้ซื้อ

จากผลสำรวจของซีบรา  พบว่า 95% ของบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีกเชื่อว่าอีคอมเมิร์ซจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการส่งมอบให้เร็วขึ้น ขณะที่ 67% ของบริษัทโลจิสติกส์คาดว่าใน 5 ปี (2023) จะสามารถจัดส่งสินค้าได้ภายใน 1 วัน และภายใน 10 ปี (2028) จะส่งได้เพียงในเวลา 2 ชม. 

96% ของบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีก เตรียมที่จะใช้บริการจัดส่งแบบการทำงานร่วมกันในการจัดส่ง และมอบอำนาจในการเลือกให้บริการตามคำสั่งซื้อ (Crowdsourced Delivery) ภายใน 10 ปี

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการปฏิบัติงานที่ธุรกิจค้าปลีกต้องการให้เกิดขึ้น โดย 7 in 10 ของผู้บริการเชื่อว่าธุรกิจค้าปลีกจะเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์ ที่มีผู้ทำหน้าที่ รับสินค้า ทั้งจากบริษัทในเครือ บริษัทที่ใม่ใช่ในเครือ หรือพ่อค้า แม่ค้า มาจัดเก็บ บรรจุ และจัดส่งแทน (Fulfillment Center) ในเวลา 5 ปี

ขณะที่ 99% ของร้านค้าปลีกเตรียมที่จะให้บริการสั่งซื้อออนไลน์ และสามารถรับสินค้าได้ที่ร้าน เพื่อเพิ่มความสะดวก และคล่องตัวให้ธุรกิจ และ 93% ของบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีก เห็นตรงกันว่า การรับ และการจัดการการคืนสินค้ายังเป็นเริ่องท้าทาย ซึ่งปัจจุบันยังมีข้อบกพร่อง และต้องพัฒนา

ปัจจุบัน 58% ของธุรกิจค้าปลีกจะคิดค่าบริการเพิ่มกรณีผู้บริโภคต้องการส่งคืนสินค้า แต่ 71% มีความคิดที่จะเปลี่ยนนโยบายนี้ อย่างไรก็ตาม 92% ของบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีก เห็นตรงกันว่าเรื่องของเงินทุน และค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถให้บริการแบบ Omni-Channal

ที่รวมทั้งช่องทางออนไลน์ และอ๊อฟไลน์ คือควาทท้าทายหลัก แต่มีเพียง 42% ของซัพพลายเชนที่ตอบแบบสอบถาม ให้บริการในแบบ Omni-Demand ซึ่งขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีผู้บริโภคกว่า 73% ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทั้งช่องทางอ๊อฟไลน์ และออนไลน์

นอกจากนี้ยังพบว่า 55% ของบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ (T&L) และธุรกิจค้าปลีกยังคงใช้ กระดาษ และปากกาจด ทำให้ก้าวสู่บริการแบบ Omni-Channal ได้ลำบาก โดยภายในปี 2021 กว่า  99% ของผู้ที่ให้บริการโลจิสติกส์ผ่าน Omni-Demand 

เล็งที่จะใช้คอมพิวเตอร์พกพาที่มีเครื่องสแกนบาร์โค้ด การอัพเกรดจากระบบงานแบบ Manual ที่ใช้กระดาษและปากกาจัดทำเอกสาร ไปสู่การใช้คอมพิวเตอร์พกพาที่มีเครื่องสแกนบาร์โค้ดหรือแท็บเล็ตเพื่อช่วยปรับปรุงการจัดการโลจิสติกส์ผ่าน Omni-Demand ให้สามารถเข้าถึงระบบการจัดการคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ได้มากขึ้น

ในอนาคต ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ต่างให้ความเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้าง ซัพพรายเชนต้องมีโซลูชั่นส์ที่เชื่อมโยง มีข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ และเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็ว ความแม่นยำ และความคุ้มค่าในการขนส่งและแรงงานอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

โดยคาดว่า เทคโนโลยีใหม่ที่จะพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจ (หรือที่เรียกกันว่า disruptive technologies) มากที่สุด ก็คือ โดรน หรือยานพาหนะที่ไร้คนขับ/ขับขี่ได้เอง, เทคโนโลยีที่สวมใส่ไว้กับร่างกาย(wearable)และเทคโนโลยีพกพา รวมถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี RFID (radio-frequency identification)

และแพลตฟอร์มการจัดการสินค้าคงคลังจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 32 เป็น 95 ในปี 2028 ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ tagging solution ที่ขับเคลื่อนโดย RFID จะช่วยให้สามารถมองเห็นข้อมูลสินค้าคงคลังได้ลึกลงไปถึงระดับรายการย่อย และเป็นปัจจุบันมากที่สุด

ทั้งยังเพิ่มความถูกต้องของข้อมูลสินค้าคงคลังและความพึงพอใจของผู้ซื้อพร้อมกับลดปัญหาสินค้าขาดหรือมีมากเกินความต้องการในสต๊อก หรือปัญหาความผิดพลาดในการเติมสินค้า

สร้างการเปลี่ยนแปลง เท่ากับเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

E-Commerce

ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างมากในประเทศไทยสร้างการเปลี่ยนแปลง และโอกาสทางธุรกิจ เราเห็นเทรนด์สำคัญๆในหลายธุรกิจ ซึ่งมีการปรับตัวเพื่อให้บริการผู้บริโภคทั้งแบบอ๊อฟไลน์ และออนไลน์

ซึ่งจะมีการศึกษาและนำข้อมูลการใช้บริการของผู้บริโภคมาใช้ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดส่งที่รวดเร็วมากขึ้น  ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพให้พนักงานผู้ปฏิบัติงาน โดยการใช้เทคโนโลยีอย่าง ปริ้นเตอร์ และคอมพิวเตอร์แบบพกพาซึ่งให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ทั้งในส่วนงานในหน้าร้านค้า หรือลงพื้นที่พบลูกค้า

E-Commerce
ZEBRA ZQ300 Series

ซึ่งได้เล็งเห็นทิศทางดังกล่าว และได้ เปิดตัวเครื่องพิมพ์แบบพกพารุ่นใหม่และโซลูชั่น RFID ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในและนอกสถานที่ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาในแวดวงการให้บริการด้าน fulfillment ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบพกพา ZQ300 Series ใหม่

E-Commerce
ZEBRA RFID fixed UHF รุ่น FX9600

ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับพนักงานขณะลงพื้นที่ ภายในคลังสินค้า หรือพนักงานหน้าร้าน ด้วยขีดความสามารถในการพิมพ์แบบ on-demand ในขณะที่เครื่องอ่าน RFID แบบ fixed UHF รุ่น FX9600 จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้าปริมาณมากในคลังสินค้าหรือที่ท่าเก็บสินค้าได้อย่างแม่นยำ

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่