อุตสาหกรรมไทยกำลังเผชิญความท้าทาย และอาจสูญเสียงานมากกว่า 3 ล้านงาน ในช่วง 20 ปีข้างหน้า หากล้มเหลวในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ Industry 4.0…
highlight
- ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยอาจจะต้องสูญเสียงานมากกว่า 3 ล้านงานในช่วง 20 ปีข้างหน้า หากล้มเหลวในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมของตนเอง
- แรงงานที่ไร้ทักษะมากกว่าแค่หนึ่งจะได้รับผลกระทบ ซึ่งจากจำนวนแรงงานไร้ทักษะกว่า 16.9 ล้านคน หรือ 45% ของแรงงานทั้งหมด จะทำให้รัฐบาลไทยต้องพบกับแรงกดดันมากขึ้น
อุตสาหกรรมไทยเสี่ยง หากไม่ปรับตัวเข้าสู่ Industry 4.0
ด้วยกำลังการผลิตยานยนต์ราว 2 ล้านคันต่อปี ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลายเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
อาทิ ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยอาจจะต้องสูญเสียงานมากกว่า 3 ล้านงานในช่วง 20 ปีข้างหน้า หากล้มเหลวในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมของตนเอง
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งแถลงไว้เมื่อปี ค.ศ. 2017 ถือเป็นก้าวแรกสู่การนำเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้มาใช้งาน หากความท้าทายแท้จริงที่รออยู่ก็คือ การทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมีทักษะที่จำเป็นต่อการค้นพบแนวทางการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างสัมฤทธิ์ผล และมีความมั่นใจเหนือกว่ากลยุทธ์ธุรกิจแบบเดิม ๆ
มิฉะนั้น การโยกย้ายการผลิตขนาดใหญ่ไปยังแหล่งอื่นจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าแรงงานที่ไร้ทักษะมากกว่าแค่หนึ่งจะได้รับผลกระทบ ซึ่งจากจำนวนแรงงานไร้ทักษะกว่า 16.9 ล้านคน หรือ 45% ของแรงงานทั้งหมด จะทำให้รัฐบาลไทยต้องพบกับแรงกดดันมากขึ้น
ในการเตรียมความพร้อมของแรงงานในประเทศสำหรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หากทางออกอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม ด้วยการใช้กลไกหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) หรือหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์
“หุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์” ความเชื่อผิด ๆ ที่ต้องเปลี่ยน!!
บริษัทหลายแห่งมีความเชื่ออย่างผิด ๆ ว่าโซลูชั่นระบบอัตโนมัติทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง เป็นเทคโนโลยีซับซ้อนที่จะยิ่งทำให้การโยกย้ายงานไปยังแหล่งอื่นย่ำแย่ลงกว่าเดิม แต่ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริงสำหรับโคบอท ซึ่งถูกออกแบบมาให้ส่งสริมการปฏิบัติงานของมนุษย์ แต่ไม่ใช่มาแทนที่มนุษย์
โคบอท แตกต่างจากหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมแบบเดิม ๆ ที่จำเป็นต้องมีกรงครอบเพื่อความปลอดภัย เพราะโคบอทติดตั้งมาพร้อมกับฟีเจอร์เพื่อความปลอดภัยในตัว ซึ่งทำให้สามารถผสานเข้ากับสายการผลิตได้อย่างปลอดภัยโดยขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง ด้วยความสามารถในการผ่อนแรงคนงานจากงานที่ต้องใช้แรงมาก
หรืองานที่มีอันตราย ทำให้โคบอทช่วยลดความตึงเครียดและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในสถานที่ปฏิบัติงาน คนงานจึงสามารถเลื่อนระดับไปทำงานที่ต้องใช้ทักษะสูงกว่าและได้ค่าตอบแทนมากกว่าได้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในภาพรวม
นอกจากนี้การใช้ โคบอท ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแก่ธุรกิจผ่านการเพิ่มกำลังการผลิต ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอขึ้น และช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน บริษัทยังสามารถปรับเปลี่ยนขนาดงานในธุรกิจได้พร้อม ๆ กับการสร้างงาน
ซึ่งไม่เฉพาะในบริษัท แต่ยังครอบคลุมทั้งส่วนบนและส่วนล่างของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากการสร้างงาน คนงานยังสามารถคาดหวังความพึงพอใจต่อผลงานได้มากขึ้น รวมถึงค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ในขณะที่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 กำหนดให้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นศูนย์กลางของการผลิต
เจมส์ แมคคิว ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ให้วามเห็นว่า สำหรับแนวทางอุตสาหกรรม 5.0 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots : UR) เราคิดก้าวไปไกลกว่านั้น เราคาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานทักษะสูง และหุ่นยนต์ทำงานต่อเนื่องกัน
ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่มีความเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับสัมผัสของมนุษย์เป็นอันดับแรกในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากอุปสงค์ของตลาด และความคาดหวังของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบปริมาณมาก ไปสู่การสร้างสินค้าที่มีรูปแบบเฉพาะตัวและการสั่งทำเฉพาะชิ้น
ทำให้การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์ และหุ่นยนต์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสัมผัสแบบมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติ พร้อมกับการรักษามาตรฐานขั้นสูงของคุณภาพผลงานและกำลังการผลิต การใช้ประโยชน์จากความเร็ว กำลังการผลิต และความสม่ำเสมอของโคบอท
ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ และงานฝีมือของมนุษย์ จะช่วยให้แนวทางอุตสาหกรรม 5.0 บรรลุผลสัมฤทธิ์ในทั้งสองด้าน ผ่านการผสานขีดความสามารถของหุ่นยนต์เข้ากับทักษะของมนุษย์ นอกจากนี้ โคบอท ยังช่วยลดข้อจำกัดของระบบอัตโนมัติได้อย่างมาก ทำให้การนำมาใช้งานสามารถทำได้จริงสำหรับธุรกิจทุกขนาด
แม้แต่กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งผลิตสินค้าในปริมาณน้อยและต้องมีการเปลี่ยนแปลงสายการผลิตแบบยกชุดอยู่บ่อยครั้ง ด้วยคุณสมบัติน้ำหนักเบาและขนาดกระทัดรัด ทำให้กลไกแขนหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถผสานเข้ากับสายการผลิตในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องยกเครื่องโรงงานของส่วนนั้น ๆ ใหม่ทั้งหมด
จึงช่วยลดต้นทุนการผสานการทำงานได้ และยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมสามารถติดตั้งและตั้งค่าโปรแกรมเพื่อการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ผ่านเทคโนโลยีการสร้างภาพ 3 มิติที่ใช้งานง่าย ยกตัวอย่างเช่น บริษัท PT JVC Electronics Indonesia (JEIN) ได้ติดตั้งโคบอทรุ่น UR3 ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์
จำนวน 7 หน่วยในปี ค.ศ. 2016 เพื่อทดแทนขั้นตอนการทำงานด้วยมือแบบเดิม ๆ โดยให้ช่างเทคนิคของบริษัทเข้ารับการฝึกอบรมการใช้งานหุ่นยนต์เพียง 4 วันเท่านั้น แม้ในช่วงแรกช่างเทคนิคเหล่านั้นจะลังเลต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ภายหลังก็สามารถใช้งานระบบอัตโนมัตินี้ได้อย่างคล่องแคล่วภายในเวลาไม่กี่อาทิตย์
การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยการศึกษา
ในการทำความเข้าใจถึงความท้าทายของการเปลี่ยนแรงงานทักษะต่ำส่วนใหญ่ของเมืองไทยไปสู่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมไฮเทค รัฐบาลจึงได้เพิ่มความพยายามในการปรับปรุงระบบให้ทันสมัย ผ่านการจัดสรรงบประมาณปี 2562 จำนวน 29,467 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
แน่นอนว่าภาคเอกชนเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ บริษัทต่าง ๆ ต่างพยายามที่จะเสนอตัวเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมไทย อย่างที่ ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ เราได้นำเสนอหลักสูตรและเว็บบินาร์ระบบออนไลน์ เพื่อสอนทักษะการตั้งโปรแกรมโคบอทผ่านทางสถาบัน UR Academy ให้แก่ผู้ใช้งานฟรี
โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาก่อน ปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 หลักสูตรและมีผู้ใช้งานมากกว่า 63,000 คนจากมากกว่า 130 ประเทศสมัครเข้าเรียน นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีบริการหลักสูตรฝึกอบรมในชั้นเรียนโดยผู้สอนที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิ ภายในเครือข่ายศูนย์การฝึกอบรมอย่างเป็นทางการของเรา
เนื่องจากประเทศไทยกำลังสร้างนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 (และเรื่องอื่น ๆ ) ให้เกิดขึ้นจริง จึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่รัฐบาลจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องกับแรงงานในประเทศ เพราะเป็นหนทางเดียวเพื่อการสร้างผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อโอกาสทางเศรษฐกิจที่มีกำลังกิดการปลี่ยนแปลงเนื่องจากเทคโยโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นี้
เกี่ยวกับ ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์
ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ก่อตั้งเมื่อปี 2005 โดยผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีระดับสูงของบริษัท เอสเบ็น ออสเตอร์การ์ด เจ้าของรางวัล 2018 Engelberger Award Winner ผู้ปรารถนาให้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ เขาจึงพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน มีราคาสมเหตุสมผล
และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานที่มนุษย์สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างปลอดภัยและใช้งานได้ตลอดกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หลังจากการเปิดตัวโคบอทรุ่นแรกในปี 2008 บริษัทได้มีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจนในด้านหุ่นยนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปทั่วโลก
ปัจจุบัน ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Teradyne Inc. ในสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี สาธารณรัฐเช็ก ตุรกี อินเดีย จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเม็กซิโก ในปี 2017 ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์มีรายได้ 170 ล้านดอลลาร์
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก www.pexels.com, www.pixabay.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage