ซีเอ เทคโนโลยี (CA Technology) เผยผลสำรวจองค์กรทั่วภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และญี่ปุ่น (APJ) พบประเทศไทยตื่นตัวมากที่สุด แต่มีเพียง 7% เท่านั้นที่เปลี่ยนแล้ว….
CA เผยผลสำรวจ ชี้ไทยตื่นตัวใช้เทคโนโลยีมากสุด แต่กลับเปลี่ยนน้อยสุด
ซีเอ เทคโนโลยี เผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงองค์กรรับยุค Digital Disruption ทั่วภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และญี่ปุ่น (APJ) พบประเทศไทยตื่นตัว และเตรียมความพร้อมปรับตัวตามระบบดิจิทัลเทคโนโลยีมากสุด โดยกว่า 95% ขององค์กรธุรกิจ
และผู้นำตลาดด้านไอที มิงประเทศไทยว่ามีความตื่นตัวในการเตรียมพร้อมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเหนือกว่าทั้งภูมิภาคที่มีตื่นตัวอยู่ที่ 80% ทั้งนี้ 95% ขององค์กรที่ถูกสำรวจ ยอมรับว่าได้รับผลกระทบจากการตื่นตัว และเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัล
และกว่า 98% ยอมรับว่าปัจจุบันได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption แต่เมื่อมองค่าเฉลี่ยเป็นรายประเทศ ก็พบว่าประเทศไทยคือประเทศที่ตื่นตัวมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยถึง 78% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเมื่อค่าเฉลี่ยการตื่นตัวของไทยจะสูงสุดในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และญี่ปุ่น
แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจของไทยส่วนใหญ่ยังไม่เริ่มเปลี่ยนแปลง เพิ่อนำธุรกิจขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 44% เท่านั้น ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดในภูมิภาคนี้
ขณะที่องค์กรไทยที่ถูกสำรวจพบว่ามีเพียง 7% ที่มีโครงสร้างปฏิรูป มีเป้าหมายที่ชัดเจน และปรับเข้าสู่การใช้ระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว และมีอีก 17% ที่กำลังอยู่กระบวนการของการวางแผนเพื่อปฏิรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัล
นิค ลิม รองประธานกรรรมการ ภูมิภาคอาเซียน และจีน ซีเอ เทคโนโลยี กล่าวว่า การพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด
เพื่อสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้แบบองค์รวม ทำให้สามารถ สร้าง หรือปรับปรุง คุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ และสร้างบริการใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว วันนี้ผู้นำธุรกิจ และไอที ควรให้ความสำคัญของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Systems Analytics) รวมไปถึง ไมโครเซอร์วิส โดยนำมาใช้งานให้สอดคล้องกับธุรกิจ และพัฒนาให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน จนบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ
นอกจากผลสำรวจเรายังพบว่าปัจจุบันยังคงมีความท้าทาย และการจัดลำดับความสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในโลกยุคใหม่ กิจกรรมต่างๆ ต่างมีส่วนร่วมกับดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ต้องมีความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่าง และแม้แต่รัฐบาลเอง
ยิ่งต้องมีความสามารถในปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลและการสร้างซอฟต์แวร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วย
โดนแรงกดดันหรือความท้าทายที่มีต่อการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ได้แก่
- การตอบโจทย์ให้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
- สภาวะเงื่อนไขเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
- การใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเป็นอาวุธที่จะเฉือนเอาชนะในการแข่งขันกับคู่แข่งแบบดั้งเดิม
การค้นพบนี้เป็นกระจกสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญด้านธุรกิจ 3 อันดับแรก ที่องค์กรในประเทศไทยต้องแก้ปัญหาให้ได้ในวันนี้ก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การลดต้นทุนการดำเนินงาน และการทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานสูงขึ้น
ความแตกต่างระหว่างลำดับความสำคัญทางธุรกิจกับแรงผลักดันการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงประสบการณ์ของลูกค้า
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของลูกค้าจะถูกจัดให้เป็นแรงกดดันลำดับต้นๆ สำหรับการปรับเข้าสู่ระบบดิจิทัล แต่การสร้างประสบการณ์ของลูกค้ากลับถูกจัดความสำคัญอยู่ในลำดับที่ 5 จาก 7 ลำดับ
องค์กรในไทยต่างยืดอกมั่นใจขี ดความสามารถด้านไอที
นอกจากที่องค์กรในประเทศไทยจะมีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลแล้ว หนึ่งในผู้นำธุรกิจและด้านไอทีของไทยที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า บริษัท ในกลุ่ม เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เชื่อมั่นในความสามารถด้านไอทีขององค์กรเกี่ยวกับการรองรับการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลอีกด้วย
ในความเป็นจริงซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ก็คือ 1 ใน 2 ของผู้ตอบแบบสอบถาม หรือกว่า 51% กล่าวว่าองค์กรของตนได้วางแผนงาน และบทบาทของเทคโนโลยีที่มีต่อวิสัยทัศน์ในการปฏิรูประบบดิจิทัลของบริษัทแล้ว
เพื่อให้สามารถแข่งขันในยุคดิ
และเครื่องมือเพื่
Infographics
เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง และการเตรียมพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลของ ซีเอ เทคโนโลยี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น
ปลายปี พ.ศ. 2560 ซีเอ เทคโนโลยีได้ว่าจ้างและดำเนินการสำรวจกลุ่มธุรกิจ และผู้นำทางด้านไอทีจำนวน 900 รายทั่วทั้ง 9 ประเทศในภูมิภาค APJ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย
วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือการวัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในภูมิภาคนี้ และเรียนรู้ว่าองค์กรต่างๆ มีการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างไร
ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมาจากองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน โดยเกือบครึ่ง (47%) ของผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์เป็นตัวแทนองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน
ผู้ตอบแบบสำรวจล้วนมีอำนาจการตัดสินใจ โดยตัดสินใจทางธุรกิจและ ร้อยละ 26 ตัดสินใจด้านไอที ผู้นำที่ตอบแบบสำรวจล้วนเกี่ยวข้องกับการริเริ่มด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในองค์กร และจำนวนนี้เป็นผู้ตัดสินใจหลักในโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น
อ่านรายละเอียดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ www.ca.com/au/collateral/white-papers/ca-technologies-asia-pacific-and-japan-digital-transformation-impact-and-readiness-study.html
ดาว์นโหลดอินโฟกราฟิคสรุปเนื้อหาหลักของงานวิจัยได้ที่นี่ www.ca.com/content/dam/ca/au/files/infographic/thailand-digital-impact-and-readiness-study-infographic.pdf
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่