Cisco 

Cisco แนะองค์กรเตรียมรับมือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Fourth Industrial Revolution : 4IR) องค์กร และภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต้องเตรียมตัว ปรับเปลี่ยน และรับมืออย่างไร เพื่อให้ทันสถานการณ์ และก้าวสู่เวทีระดับโลก…

คำถามสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าเพราะเหตุใด แต่อยู่ที่ว่าเราควรดำเนินการอย่างไรเพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งจะพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมการผลิตอย่างสิ้นเชิง  แนวทางที่มีโครงสร้างและขับเคลื่อนด้วยมูลค่าจะช่วยให้ผู้เล่นในระดับภูมิภาคสามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดสู่เวทีโลก

วันนี้ “ภาคอุตสาหกรรมการผลิต” ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยมีมูลค่า 670 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 21 ล้านล้านบาท) หรือร้อยละ 21 ของ GDP ของภูมิภาคในปี 2018 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 50 ล้านล้านล้านบาท)

และภายในปี 2571 (อีก10 ปีข้างหน้า) ขณะที่สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งเป้าที่จะให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่ 1 ใน 5 ของโลก ในปี 2568

4IR มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยประเทศไทยได้จัดให้ “การเตรียมความพร้อมรับมือ 4IR เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ไทยจะผลักดันในวาระการเป็นประธานอาเซียน

Cisco แนะองค์กร และภาคอุตสาหกรรมการผลิตเตรียมรับมือยุค 4IR

Cisco 

นาวีน เมนอน ประธานประจำภูมิภาคอาเซียน ซิสโก้ กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยสร้างมูลค่าราว 670 พันล้านดอลลาร์ หรือ 21% ของจีดีพีของภูมิภาคนี้

และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าเป็น 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2571  นอกจากนี้ อาเซียนยังอาจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกราว 250 พันล้านดอลลาร์ถึง 275 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2571 โดยเป็นการเพิ่มขึ้น 35 ถึง 40% ของมูลค่าเพิ่มในการผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

และการสร้างช่องทางรายได้เพิ่มเติม เช่น การผลิตสินค้าใหม่ๆ และการปรับปรุงคุณภาพ ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยียุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution หรือ 4IR) ความแพร่หลายของเทคโนโลยี 4IR ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียน รวมถึงศักยภาพในการเติบโต

อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบจากต้นทุนต่ำของผู้ผลิตในอาเซียนค่อยๆ ถูกทำลายลง เนื่องจากคู่แข่งในประเทศพัฒนาแล้วใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็ว ปรับปรุงคุณภาพ และรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ที่จริงแล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไม่ใช่ภัยคุกคามสำหรับอาเซียน

แต่เป็น “ประตูสู่โอกาสที่สำคัญ” สำหรับผู้ผลิตระดับภูมิภาคที่ใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติดิจิทัลอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตในอาเซียนสามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมการผลิตระดับโลก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตในอาเซียนจะต้องเร่งการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR มิฉะนั้นจะไม่สามารถก้าวตามคู่แข่งได้ทัน

ที่สำคัญก็คือ ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตในอาเซียน  อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน รวมถึงรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น ยังไม่พร้อมสำหรับการปฏิวัติทางด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

โดยยังขาดมาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนโครงการด้านเทคโนโลยีสำหรับภาคการผลิต เนื่องจากเดิมพันที่สูงมากสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  ด้วยเหตุนี้ ความท้าทายสำคัญที่ผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคนี้

ต้องเผชิญก็คือ ควรทำอย่างไรเพื่อเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีโครงสร้างชัดเจนและสร้างมูลค่าที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าผู้ผลิตรายนั้นๆ จะอยู่ในอุตสาหกรรมใด มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมากน้อยเพียงใด หรือมีข้อจำกัดอะไรก็ตาม ทั้งนี้ สามารถแบ่งย่อยเป็น 3 คำถามที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • มีโอกาสทางด้าน 4IR ระยะสั้นอะไรบ้างที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับบริษัท?
  • จะสามารถปรับใช้โซลูชั่นในลักษณะที่เป็นโครงสร้างและมีความยั่งยืนได้อย่างไร?
  • จะสามารถจัดการกับปัญหาการดำเนินงานที่หยุดชะงักเพื่อรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจได้อย่างไร?

Cisco 

เพื่อตอบคำถามเหล่านี้และรองรับการดำเนินการด้าน 4IR ให้ประสบผลสำเร็จ ผู้ผลิตจะต้องปรับใช้แนวทางที่รอบด้านซึ่งผสานรวมการดำเนินการระยะสั้นเข้ากับแผนพัฒนาระยะยาว ซึ่งโดยสาระสำคัญแล้ว จะต้องใช้แนวทางที่มุ่งเน้นปัญหา เพื่อแก้ไขปัญหาที่เฉพาะเจาะจง

และดำเนินการตามวิสัยทัศน์ “เป้าหมายสูงสุด” เพื่อชี้นำการพัฒนาระบบนิเวศน์คู่ค้าที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคง และเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับองค์กร โดยเราขอแนะนำแนวทาง 6 ข้อในการพัฒนาเพื่อรองรับ 4IR สำหรับผู้ผลิตในอาเซียน ได้แก่

  1. มุ่งเน้นปัญหาสำคัญ: ระบุปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข โดยพิจารณาจากปัจจัยขับเคลื่อนมูลค่าที่สำคัญสำหรับแต่ละรูปแบบการผลิต: สินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าชนิดพิเศษ สินค้าสำหรับคอนซูมเมอร์
  2. ระบุกรณีการใช้งานเทคโนโลยีที่เหมาะสม: เข้าใจวิธีการแก้ไขปัญหาและกรณีการใช้งานสำหรับ 4IR ทีสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่น ไม่ตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โซลูชั่นที่ไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
  3. ดำเนินโครงการนำร่องโดยอาศัยการทำงานร่วมกัน: พัฒนาโซลูชั่นร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีโดยทดสอบและเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการนำร่อง อาศัยการกำกับดูแลที่เหมาะกับเป้าหมาย
  4. สร้าง Partner Ecosystem ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว: เลือกกลยุทธ์ความร่วมมือที่เหมาะสม เช่น เลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุด บริษัทคู่ค้ารายสำคัญ หรือผู้ให้บริการติดตั้งระบบที่ให้บริการเพียงอย่างเดียว โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร ปัจจัยภายในองค์กร เช่น ความมุ่งหวังขององค์กร ความสามารถที่องค์กรมีอยู่ และขีดความสามารถในการจัดการคู่ค้า  ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น แพลตฟอร์มของผู้ขายเทคโนโลยี และความสามารถในการใช้งานร่วมกับโซลูชั่นสำคัญๆ
  5. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น: ออกแบบสถาปัตยกรรมระหว่างองค์กร (Enterprise-to-Enterprise หรือ E2E) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งเน้นการตัดสินใจ 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น, ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ E2E แบบอัจฉริยะ, แพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) แบบอเนกประสงค์ และระบบวางแผนด้านทรัพยากรและการผลิตแบบครบวงจร
  6. รองรับการปรับเปลี่ยนอย่างยั่งยืน: ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับองค์กร รวมถึงกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โครงสร้างองค์กร ความสามารถและดัชนีชี้วัด และการปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยมุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเครื่องจักร และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ท้ายที่สุดแล้ว การใช้แนวทางเชิงทดลองที่มีโครงสร้างชัดเจนสำหรับการปรับเปลี่ยนด้าน 4IR ไม่ใช่ภารกิจที่จะทำได้โดยลำพัง  พันธมิตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT) ในระบบนิเวศน์ด้านการผลิตของอาเซียน รวมถึงภาครัฐ ล้วนมีบทบาทสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น:

  • รัฐบาลจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสามารถและทักษะที่เฉพาะเจาะจงด้านการผลิต ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการผลิต
  • ผู้ผลิตจะต้องรีบลงมือดำเนินการในทันทีเพื่อเริ่มการเปลี่ยนผ่านสู่ 4IR
  • ผู้จัดหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีจะต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญ รวมทั้งให้ความรู้แก่ตลาดเกี่ยวกับความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐาน และพูดคุยเรื่องการตัดสินใจที่สำคัญๆ ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน โดยนำเสนอแนวทางการใช้งานจริงที่เป็นรูปธรรม
  • ผู้จัดหาแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านการผลิตจะต้องเสริมสร้างคุณประโยชน์ ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นแบบครบวงจรที่รองรับการใช้งานร่วมกัน
  • ผู้จัดหาแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านไอทีสำหรับองค์กรจะต้องมุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่น และใช้ประโยชน์จากระบบ ERP เพื่อขยายไปสู่ตลาดเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT)

ผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการควรจะผสานรวมธุรกิจส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน และเพิ่มโอกาสในขยายธุรกิจไปสู่บริการเสริมที่มีมูลค่าสูงกว่า

จุดเด่น 4IR อยู่ที่ระบบนิเวศน์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อบุคลากรและเครื่องจักรเข้าด้วยกัน

Cisco 

นิโคไล ดอบเบอร์สไตน์ พาร์ทเนอร์ของบริษัท เอ ที เคียร์เน่ กล่าวว่า จากผลการผลการศึกษาเรื่อง “เร่งผลักดัน 4IR ในภูมิภาคอาเซียน: แผนปฏิบัติการสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต” (Accelerating 4IR in ASEAN: An Action Plan for Manufacturers Study) เราพบว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

คือตัวกำหนดอนาคตสำหรับผู้ผลิตในอาเซียน รวมไปถึงอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของภูมิภาคนี้  และตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องไขว่คว้าโอกาสสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบการผลิตที่ทันสมัยและก้าวสู่เวทีโลก

 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีจุดเด่นอยู่ที่ระบบนิเวศน์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อบุคลากรและเครื่องจักรเข้าด้วยกัน โดยอาศัย 5 เทคโนโลยีหลักที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในห่วงโซ่มูลค่าด้านการผลิต เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ ได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

  • Internet of Things (IoT): หนึ่งในเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุด และคาดว่าจะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมการผลิตภายในปี 2573 โดยเทคโนโลยี IoT ได้รับความคาดหวังที่สูงมากจากบริษัทต่างๆ โดยบริษัทเหล่านี้ต้องการที่จะปรับปรุงการเชื่อมต่อสินทรัพย์ต่างๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบระยะไกล และปรับปรุงระบบงานธุรกิจอัจฉริยะ
  • ปัญญาประดิษฐ์ (AI): เทคโนโลยี AI จะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดผลกระทบมากที่สุด โดยมีโซลูชั่นที่หลากหลาย มีการพัฒนาในระดับที่แตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning), การตัดสินใจ และการประมวลผลภาพ ทั้งนี้ AI มีการประยุกต์ใช้งานมากมายในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และช่วยยกระดับระบบงานอัตโนมัติ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
  • ระบบการพิมพ์ 3 มิติ: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยภาครัฐดำเนินโครงการต่างๆ ทั่วโลกผ่านทางศูนย์วิจัยและโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อกระบวนการผลิตแบบเดิมๆ และรองรับการผลิตสินค้าแบบเฉพาะบุคคลอย่างกว้างขวาง  อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของเทคโนโลยีนี้จะยังคงจำกัดอยู่ที่การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ รวมถึงการผลิตสินค้าจำนวนน้อยที่มีลักษณะผสมผสานอย่างเฉพาะเจาะจง หากว่ายังไม่มีการปรับปรุงในเรื่องระดับราคาและความสะดวกในการใช้งาน
  • เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัย: เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ก้าวล้ำมีลักษณะคล้ายคลึงกับ AI โดยมีโซลูชั่นที่หลากหลาย มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน เช่น หุ่นยนต์ชนิดผิวนิ่ม ยานพาหนะไร้คนขับ และหุ่นยนต์รีโมท อุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่จะเกิดการปฏิวัติ โดยจะลดการพึ่งพาแรงงานได้อย่างมาก และสวนกระแสการเคลื่อนย้ายงานไปยังประเทศที่มีอัตราค่าแรงต่ำกว่า
  • อุปกรณ์สวมใส่: เทคโนโลยีที่กำลังเติบโตนี้จะรองรับการผสานรวมบุคลากรและเครื่องจักรเข้าด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดศักยภาพสูงสุด โดยอุปกรณ์สวมใส่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิต เช่น การเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานและป้องกันการบาดเจ็บ การฝึกอบรมแบบแฮนด์ฟรีโดยใช้เทคโนโลยี Augmented Reality และการตรวจสอบติดตามทุกเวลาโดยมีการประมวลผลแบบระยะไกล ด้วยความสามารถที่ชัดเจนในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่มูลค่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสภาพแวดล้อมการแข่งขัน และประโยชน์ที่ได้รับในเรื่องของความรวดเร็ว คุณภาพ ต้นทุน และความยั่งยืนจะช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ที่ซบเซาตลอดหลายปีที่ผ่านมาของประเทศที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตชั้นนำอย่างเช่น ยุโรป และสหรัฐฯ ที่ซึ่งค่าแรงอยู่ในระดับสูง และจะมอบโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

ผู้ผลิตจะต้องวางเป้าหมายในการปรับใช้แนวทางแบบรอบด้าน

Cisco 

ด้าน วัตสัน ถิรภัทรพงศ์, กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนต่ออุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลก และทำให้ภูมิภาคอาเซียนต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียด้านการแข่งขันในเรื่องแรงงานราคาถูก

เนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้วสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันด้วยการลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพ  ด้วยเดิมพันมูลค่าเพิ่มราว 250 พันล้านดอลลาร์ ถึง 275 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2571 ผู้ผลิตในอาเซียนจำเป็นที่จะต้องรีบดำเนินการโดยเร็วเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

Cisco 

ผู้ผลิตจะต้องปรับใช้แนวทางแบบรอบด้านซึ่งผสานรวมความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเข้ากับวิสัยทัศน์ และแผนการพัฒนาในระยะยาว เพื่อให้ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล โดยจะต้องเริ่มต้นจากการวินิจฉัยปัญหาในแต่ละจุด การระบุกรณีการใช้งานเทคโนโลยี 4IR ที่เหมาะสม และการดำเนินโครงการนำร่อง

โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความยืดหยุ่น และสร้างความเชื่อมั่น  นอกเหนือจากวิสัยทัศน์ในระยะยาวสำหรับ “เป้าหมายสูงสุด” แล้ว โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพให้แก่องค์กร

ก็มีส่วนสำคัญในการเร่งการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR ท่ามกลางสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตในอาเซียนจะต้องไขว่คว้าโอกาสครั้งสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบการผลิตดิจิทัล

Cisco 

และก้าวเข้าสู่เวทีโลก การดำเนินการดังกล่าวนอกจะช่วยปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตของอาเซียนซึ่งคาดว่าจะเติบโตสองเท่าจนมีมูลค่าเกือบ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต 35-40% ภายในปี 2571 อีกด้วยวันนี้ องค์กร และภาคอุตสาหกรรมการผลิด ต้องใช้ประโยชน์จาก AI, IoT, AR/VR, Blockchain, Automation, Robotics

และ3D Printing, Wearables ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลของภาครัฐ องค์กร อุตสาหกรรมการผลิด และทักษะบุคลากรยุค 4IR ซึ่ง ซิสโก้ พร้อมที่จะช่วยให้องค์กร และภาคอุตสาหกรรมการผลิด ก้าวข้ามความท้าทาย และหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และก้าวสู่เวทีระดับโลกต่อไป

Cisco 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่