เดลล์ เทคโนโลยีส์ (DELL Technologies) เผยผลวิจัย ทำนายอันดับท็อปเทคโนโลยีเกิดใหม่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตคนภายใน 10 ปี (2030) ชี้ทุกอย่างจะเชื่อมโยงมากกว่าเดิม…
highlight
- เราจะได้รับประสบการณ์การเป็นพันธมิตรในแบบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าเดิมกับเครื่องจักรทั้งหลาย (Machines) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (Emerging Technologies) อาทิ 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี Extended Reality หรือ XR) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)
- ชีวิตของเราจะถูกเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิงด้วยการปรับเปลี่ยนต่างๆ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำ อาทิ เมืองที่มีความรู้สึก หรือ Sentient Cities ระบบขนส่งที่เชื่อมต่อเข้าหากัน (Connected Mobility) และหุ่นยนต์ที่กำลังจะกลายเป็นกระแสหลัก (Mainstream)
- ผู้นำธุรกิจจำนวน 1,100 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่น (APJ) รวมทั้งประเทศไทย ได้พิจารณาและให้ความเห็นในการวิจัยในหัวข้อของ Future of Connected Living หรือรูปแบบชีวิตในอนาคตที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงเข้าหากัน โดย 80% ทั้งภูมิภาค (89% ในประเทศไทย) คาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เวลาในการทำงานผ่านระบบอัตโนมัติ, 63% (78% ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทั้ง VR (virtual reality) และ AR (augmented reality) ในทุกวัน
- องค์กร และรัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทในการเอาชนะความท้าทายต่างๆ อีกทั้งต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง
DELL Technologies เผยภายใน 10 ปี เทคโนโลยีจะหลอมรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน
เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผย อนาคตของการใช้ชีวิตที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หรือ Future of Connected Living ผลสำรวจความคิดผู้นำทางธุรกิจ 1,100 คนใน 10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และประเทศญี่ปุ่น (APJ) ซึ่งรวมถึงประเทศไทย พบว่า เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Edge Computing),
5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ทั้งหมด อย่าง Virtual Reality (VR) , Augmented Reality (AR), Extended Reality (XR) และ IoT จะผสานรวมเข้าด้วยกันมากกว่าในปัจจุบันหลายเท่าตัว
นพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยี กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่ะเกิดขึ้นในอีก 10 ปี ข้างหน้าเกิดจากพัฒนาที่รวดเร็วของเทคโนโลยี จากนักพัฒนาเทคโนโลยีในแขนงต่าง ๆ ทั่วโลก ซึง่จะสร้างสิ่งที่เป็นแนวคิดให้เกิดขึ้นได้จริง และสามารถเชื่อมโยงหลากหลายเทคโนโลยีให้สามารถทำงานได้อย่างสอดประสาน จนสร้าง “การเปลี่ยนแปลง“ 5 ประการ ได้แก่
เครือข่ายของระบบเสมือนจริง (Networked Reality) ในอนาคต เรื่องของ ไซเบอร์สเปซ จะกลายเป็นภาพซ้อนทับ (Overlay) บนความเป็นจริงที่มีอยู่ของเราจากการที่สภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของเราขยายออกไปเกินกว่าโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ในการแสดงผลอื่น ๆ
กล่าวคือ เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) จะก้าวเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันจนเป็นเหมือนเรื่องปกติ จนทำมนุษย์สามารถใช้ชีวิตจริง และใช้ชีวิตในโลกเมือนจริง ได้แบบไม่มีเส้นแบ่งกันกลาง จนเสมือนเป็นโลกใบเดียวกัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีอย่าง Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) มาปรับใช้ในวงการด้านการแพทย์ เพื่อฝึกซ้อมให้แก้แพทย์ หรือในอุตสาหกรรมเองก็เริ่มใช้ในส่วนงานที่มีอันตรายด้วยการผสมผสานกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robot) แล้ว
ยานยนต์ที่เชื่อมต่อเข้าหากัน (Connected Mobility) และความสำคัญของเครือข่ายที่รวมเข้าด้วยกัน (Networked Matter) สามารถในการเชื่อมต่อและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในอนาคตเรื่องยานพาหนะ หรือรถยนต์ไร้คนขับ (Self-Driving Car) จะกลายเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้อัตโนมัติ
และสามารถสื่อสารระหว่างกันเองได้ เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น รวมไปถึงยังสามารถรายงานตรวจสอบสภาพความพร้อมของตัวรถยนต์ให้แก่ผู้โดยสาร เพื่อให้สามารถดูแลรักษา และจัดการการเดินทางได้อย่างปลอดภัยมากที่สุุด
จาก ดิจิทัล ซิตี้ (Digital Cities) ไปสู่ เซนเทียน ซิตี้ (Sentient Cities) หรือ เมืองที่มีความรู้สึก ในอนาคตเมืองต่าง ๆ จะฉลาดมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเพียงอัจริยะที่มีข้อมูลรายงาน และควบคุมโดยมนุษย์ แต่จะสามารถดูแลทั้งเมืองได้ด้วยระบบที่ทำงานเองได้อย่างอัตโนมัติ ผ่านทางเครือข่ายความเร็วสูงต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง
ที่อยู่ในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ วัตถุอัจฉริยะ (Smart Objects) ระบบการรายงานผลด้วยตัวเอง (Self-Reporting Systems) ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเราจะได้เห็นเมืองที่ถูกควบคุมให้ทำการใด ๆ ก็ตามที่มนุษย์กำหนดให้เรียนรู้ และพัฒนาให้ดีขึ้น
ผู้ช่วย และระบบกฏเกณฑ์ขั้นตอนวิธีต่าง ๆ (Agents and Algorithms) ในอนาคตมนุษย์แต่ละคนจะได้รับการดูแลสนับสนุนจาก “ระบบปฏิบัติการเพื่อการดำรงชีวิต” (Operating System for Living) ที่เป็นส่วนตัว และสามารถคาดเดาได้ถึงความต้องการแบบรายบุคคล
และให้การสนับสนุนภาระกิจต่าง ๆ หรือทำงานแทนงานที่ต้องทำแบบซ้ำ ๆ ของมนุษย์ในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยทำให้มนุษย์มีเวลาว่างเพิ่มขึ้น และนำไปไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรคได้มากขึ้น
โซเชียลไลฟ์ของหุ่นยนต์ (Robot with Social Lives) ในอนาคตหุ่นยนต์จะกลายมาเป็นเป็นเพื่อนร่วมงานในชีวิตของมนุษย์ โดยมนุษย์จะใช้หุ่นยนต์ในการเพิ่มทักษะ และขยายขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ และสร้างข้อมูลการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์
ในรูปแบบของการแบ่งปันความรู้ที่ได้รับใหม่ ผ่านเครือข่ายโซเชียลหุ่นยนต์ (Social Robot Network) ไปยังนวัตกรรม Crowdsource ซึ่งจะทำให้เกิดการความก้าวหน้าแบบเรียลไทม์
ด้าน ปัง ยี เบ็ง รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเชื่อมต่อและความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีจะมีความแตกต่างออกไปอย่างมหาศาลในปี 2030 และเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุดระหว่างมนุษย์ และเครื่องจักรคือความสัมพันธ์ในระยะยาวของเผ่าพันธ์ที่แตกต่าง (Symbiotic) และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งต่าง ๆ ที่เกื้อกูลกัน
โดยจาการสำรวจ พบว่า 75% ของผู้นำธุรกิจทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่นที่ร่วมในการสำรวจ ต่างยินดีที่จะเป็นพันธมิตรกับเครื่องจักรและหุ่นยนต์เพื่อสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในด้านต่างๆ ของมนุษย์ เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิต
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิต และสร้างความสมดุลย์ของการทำงานและการใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ในขณะที่ช่วยให้เมืองของเรามีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นได้หน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างภาครัฐ จะต้องกำหนดกรอบนโยบายที่ชัดเจน
เพื่อผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อน ในรูปแบบของการโครงการต่าง ๆ ซึ่งอาจความร่วมไปถึงการวางกรอบนโยบายทางด้านการเงินมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
“อนาคตเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ จะปฏิรูป และเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราไปในรูปแบบที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน จากการที่ภาครัฐกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วยแผนงาน Thailand 4.0 พร้อมเป้าหมาย Digital Thailand การลงทุนที่สำคัญจำเป็นต้องทำให้เกิดขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) รวมทั้งการกำกับดูแลสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไปจนถึงการสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identities)
สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการพูดคุยและค้นหาแนวทางในการที่เราจะสามารถทำให้อนาคตนี้เป็นจริงด้วยความร่วมมือของมนุษย์และเครื่องจักรที่ครบถ้วนสมบูรณ์” นพดล ปัญญาธิปัตย์ กล่าวเสริม
นอกจากนี้ ในผลการวิจัย ยังระบุ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สำคัญที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายต่อผู้คนและองค์กรที่กำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่ปรารถนาจะควบคุมพลังของเทคโนโลยีเกิดใหม่จำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวม ประมูลผล และนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ทันกับนวัตกรรมที่มีเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมของระบบกฏเกณฑ์ (Algorithms) ที่มีแนวโน้มในการที่จะดำเนินการทำทุกสิ่งอย่าง ตั้งแต่การตัดสินใจว่าวิธีการที่บริษัทพิจารณาว่าจ้างบุคคล ไปจนถึงผู้ที่มีคุณสมบัติในการกู้ยืมเงินที่ต้องได้รับการแก้ไข
เช่นเดียวกับความกังวลที่มีเพิ่มขึ้นจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ รัฐบาลต่างจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันและนำข้อมูลมาปรับใช้ในกรณีที่เมืองต่าง ๆ จะเปลี่ยนรูปแบบจากดิจิทัลไปสู่เซนเทียน (Sentient) หรือเมืองที่มีความรู้สึกได้
“แนวโน้มที่เปเลี่ยนแปลงไปนี้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของมนุษย์รุ่นใหม่ หรือคนเจเนอเรชั่นใหม่ (New Generation) ที่นิยมใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ธุรกิจจะได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป คือการสร้างธุรกิจใหม่ ที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมต่าง (Behavioral Data) ไปพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี” ปัง ยี เบ็ง กล่าว
สำหรับข้อกังวล และความท้าทายอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ ในอนาคตจะมีการใช้ AI เพิ่มมากขึ้น โดยมีสัดส่วน 49% เอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น และ 38% ในประเทศไทย แต่มีการเรียกร้องให้มีการออกระเบียบ และความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ AI โดยเร็ว
ขณะที่ในมุมของผลกระทบที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ธุรกิจทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิค และญี่ปุ่น กว่า 84% และ 90% ในประเทศไทย ระบุว่า การปฏิรูปดิจิทัล (Digital Transformation) ภายในองค์กรที่ดี นั้นควรที่จะครอบคลุมไปให้ทั่วทั้งองค์กรมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage