สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า (depa) ร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DiP) บูรณาการบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ คาดสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ บนฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
depa Collaboration DiP Hope to create new innovations in the digital age
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า กล่าวว่า อย่างที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นการเปลี่ยนเศรษฐกิจไปสู่ Value–Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 3 มิติสำคัญ ได้แก่
- เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
- เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
- เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
จากนโยบายดังกล่าวทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมาก นับเป็นโอกาสดีของผู้คิดค้นที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งอาจต่อยอดจากสิทธิบัตรที่มีอยู่เดิมหรือคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค การให้บริการในรูปแบบใหม่ๆ
ตลอดจนการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคเป็นรายแรกๆ นวัตกรรมประเภทนั้นก็จะมีมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ผู้คิดค้นยังสามารถสร้างรายได้จากเครื่องหมายการค้า รวมถึงมูลค่าอันเกิดจากลิขสิทธิ์ เป็นตัวแปรสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในอนาคตอย่างมากมาย
โดย ดีป้าให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ Intellectual Property (IP) อย่างมาก ด้วยความพยายามผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการเดินหน้า สร้างรากฐานสตาร์ทอัพไทยให้แข็งแกร่ง ผ่านมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ
เน้นการบูรณาการร่วมกับพันธมิตรภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ รวมถึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดให้กับประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี depa IP Voucher เพื่อสนับสนุนผู้ที่จดสิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นๆ
ด้าน วันเพ็ญ นิโครวนจำรัส รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งให้ความคุ้มครอง ปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง
การค้าซึ่งส่งผลการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ความร่วมมือที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา และนวัตกรรม ส่งเสริมให้คนไทยมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นวัตกรรม
และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันทางการค้า โดยอาศัยนวัตกรรม ภูมิปัญญา และทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบูรณาการบริการทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมดิจิทัล จึงเกิดการลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัลระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ซึ่งจะก่อให้เกิดการนำทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัลไปสร้างมูลค่า สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ และเกิดการร่วมกันพัฒนาบุคลากร เพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์การปกป้องคุ้มครองการใช้ประโยชน์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา
ให้แก่บุคลากร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไปจนถึงการร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตระหนักรับรู้ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาดิจิทัลในวงกว้าง
นอกจากนี้ ภายในงานได้มีการเสวนาเรื่อง “ก้าวต่อไป Digital IP” : “ทรัพย์สินทางปัญญาในยุคดิจิทัล” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิด สำหรับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยได้รับเกียรติจาก ปฐม อินทโรดม กรรมการ Creative Digital Economy สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กิตตินันทน์ อนุพันธ์ CEO บริษัท Anywhere 2 go และผู้ก่อตั้ง Claim Di และ กำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคม IoT และนิธิพัฒน์ สมสมาน รองกรรมการผู้จัดการ The Monk Studios ร่วมให้มุมมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่