ในยุคที่ Digital Transformation ไม่เพียงแต่ธุรกิจที่ถูกดิสรัป ที่ต้องปรับตัว ธุรกิจที่ต้องการเติบโตต่อไปก็ต้องปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเช่นเดียวกัน และเมื่อมองหาในองค์กรว่า ใครควรจะรับภาระอันยิ่งใหญ่นี้เพื่อนำไปสู่ “ทางรอด” ของธุรกิจ ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นฝ่ายไอทีซึ่งถูกคาดหวังว่าน่าจะมีความรู้พื้นฐานที่พร้อมในการนำเทคโนโลยี Digital มาต่อยอดได้รวดเร็วที่สุด

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว องค์กรต่าง ๆ มักจะมองว่า ฝ่ายไอทีจะมีงานทำเฉพาะตอนที่ระบบมีปัญหาเท่านั้น ถ้าระบบสามารถทำงานได้ปกติ แปลว่าบุคลากรเหล่านั้นน่าจะมีเวลาในการพัฒนาตัวเองเพื่อช่วยธุรกิจขององค์กรได้ แต่หารู้ไม่ว่า การที่ระบบทำงานเป็นปกตินั้น เกิดจากการทำงานหนักในการตรวจสอบ ป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีงานเต็ม 2 มืออยู่แล้ว การใส่งานที่มีเดิมพันด้วยอนาคตบริษัทเข้ามาเพิ่ม ก็จำเป็นต้องวางงานบางส่วนลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเสี่ยงที่หลายองค์กรอาจไม่เคยตระหนักมาก่อน เช่น

  • การถูกโจมตีทางไซเบอร์ เพราะฝ่ายไอทีไม่มีเวลาที่จะสำรวจทราฟฟิกที่น่าสงสัย
  • การแก้ปัญหาที่ไม่จบสิ้น เพราะฝ่ายไอทีไม่มีเวลาวิเคราะห์ปัญหาที่สาเหตุ จึงแก้ไขด้วยวิธีการเฉพาะหน้าหรือ Walk Around เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหานั้นที่ถูกซุกไว้ใต้พรมอาจกลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต+
  • ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล และความต่อเนื่องของธุรกิจ เพราะฝ่ายไอทีไม่มีเวลาทดสอบการกู้ข้อมูล
  • การขยาย Scale ตามความต้องการของธุรกิจอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น เพราะต้องพึ่งพาบุคคลากรที่ต้องมีความรู้อย่างมาก บวกกับข้อจำกัดด้าน Facility ในองค์กรเช่น พื้นที่ การใช้งานไฟฟ้า รวมทั้งระบบให้ความเย็นต่าง ๆ ทำให้การขยาย Scale ความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

แล้วองค์กรควรจะรับมือกับความเสี่ยงนี้อย่างไร
ทางเลือกในการรับมือความเสี่ยงนี้ ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของแต่ละองค์กรดังนี้

  1. ยอมรับความเสี่ยงนั้น แน่นอนว่าวิธีไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรเพิ่ม แค่ภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าอย่าให้เกิดปัญหาขึ้น
  2. การจ้างคนเพิ่ม โดยเลือกระหว่างจ้างคนมาทำเรื่อง Digital Transformation เลย หรือ จ้างคนมาดูแลงานส่วนเดิมที่ไม่มีคนทำ แต่บริษัทต้องยอมรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะมนุษย์ไอทีในยุคนี้ เปรียบเสมือนมนุษย์ทองคำ เพราะค่าจ้างเฟ้อมาก
  3. โยนความเสี่ยงให้มืออาชีพจัดการ โดยใช้บริการจากบริษัทภายนอกที่จะเข้ามาจัดการงาน Day to day ของฝ่ายไอทีแทน ตั้งแต่การเข้ามาดูแลระบบ จนไปถึง บริการนำระบบและข้อมูลต่างๆขององค์กร ขึ้นไปบริหารจัดการบน Private Cloud Service ซึ่งวิธีนี้นอกจากทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีความยืดหยุ่น และความปลอดภัยสูง ทำให้ฝ่ายไอทีสามารถโฟกัสไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่ โดยหนึ่งในผู้นำด้านการบริหาร Data Center รายใหญ่ก็คือบริษัทเอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ ประเทศไทย (เอ็นทีที คอม) ซึ่งมีโซลูชั่นที่ช่วยจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ของ Private Cloud Serviceไปจนถึงการทำ Hybrid Cloud Solution ที่ช่วย Support การเติบโตในยุค Digital Transformation

NTT Cloud SD-Exchange โซลูชั่นที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำโดยตรง

NTT Cloud SD-Exchange เป็นโซลูชั่น Hybrid Cloud ที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่ต้องการเติบโต โดยการลดภาระงาน ดูแล ระบบและข้อมูลต่างๆขององค์กร ด้วยแนวคิดของ SD-Exchange Service

ซึ่งก็คือการที่ NTT Com ได้ทำการเชื่อมต่อเครือข่ายจาก Data Center ของตนเองออกไปยังเหล่าผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำหลากหลายรายทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจได้ทั้งในประสิทธิภาพ, ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงปลอดภภัยในการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างกัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับเหล่าธุรกิจองค์กรที่ต้องการทำ Hybrid Cloud จากนั้นจึงขยายโซลูชันให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการให้บริการ SD-WAN เชื่อมต่อจากสาขาของธุรกิจองค์กรมาสู่ Data Center ของ NTT Com ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีช่องทางการเชื่อมต่อเครือข่ายจากองค์กรของตนออกไปสู่ผู้ให้บริการ Cloud รายต่างๆ ได้โดยมี NTT Com เป็นตัวกลางที่สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้

ทำให้การทำงานของ Hybrid Cloud ระหว่าง Private Cloud กับ Public Cloud เชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการรับประกันคุณภาพในการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพตามข้อตกลงมาตรฐานการให้บริการ (Service Level Agreement :SLA) นอกจากนั้นยังมีความยืดหยุ่น โดยสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข Bandwidth การเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา เช่นบางช่วงเวลาองค์กรต้องการใช้งานระบบ Saleforce สูงก็สามารถปรับเพิ่ม Bandwidth ไปยัง Public Cloud Service นั้นได้ทันที ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถใช้แอดมินเพียงคนเดียวในการบริหารจัดการบริการของ NTT ทั้งหมดนี้ตอบโจทย์ความเสี่ยงในการบริหาร ระบบและข้อมูลต่างๆขององค์กรในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น

• การเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์
• การดูแลรักษา Hardware และ อุปกรณ์ต่าง ๆ
• การแก้ไขปัญหาตามข้อตกลงมาตรฐาน
• การขยายขนาดเพื่อรองรับการเติบโต
• ความปลอดภัยของข้อมูล และ ความต่อเนื่องของธุรกิจ
• ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อไปยัง Public Cloud Service ทั่วโลก

ทำให้ฝ่ายไอที Transform ตัวเองจากการเป็นหน่วยต้นทุน (Cost Center) มาเป็น ศูนย์รายได้ (Profit Center) ที่ใช้เงินลงทุนได้อย่างคุ้มค่า และเพื่อเป็นกำลังหลักในการนำองค์กร Transform ไปสู่ “ทางรอด” ในยุค Digital Transformation อย่างยั่งยืน