HIMA นำข้อมูลเชิงลึกและองค์ความรู้เรื่อง “เซฟเคียวริตี้ ”(Safecurity) สู่ภูมิภาคเอเชียจัดงานสัมมนา ยูสเซอร์ คอนเฟอเรนซ์ เอเชีย แปซิฟิก 2018 ในไทย
HIMA Safecurity เดินหน้าสู่ประเทศไทยด้วยการจั ดเวทีเสริมสร้างองค์ความรู้
ฟรีดแฮล์ม เบสท์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท ฮีมา กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงานในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ รวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค
โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจากประเทศและภูมิภาคต่างๆ ต้องการเข้าร่วมงานในครั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของตน เนื่องจากในปัจจุบันสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมเริ่มพบกับความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
อันเป็นผลสืบเนื่องของอุตสาหกรรม 4.0 และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ สำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial Internet of Things: IIoT) และจากกรณีที่เกิดปัญหาการบุกรุกระบบรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และการบังคับให้องค์กรต่างๆ
ในภาคส่วนอุตสาหกรรมต้องปฏิบัติตามกฎหมายทำให้ขณะนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างความมั่นใจที่นอกเหนือจากการที่โรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆ จะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดปัญหาแล้ว
ยังจะต้องมั่นใจด้วยว่าแฮกเกอร์จะไม่สามารถเข้าโจมตีโรงงานและโครงสร้างพื้นฐานในภาคอุตสาหกรรมได้ หลังจากติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองจากทูฟ (TÜV) มากกว่า 35,000 แห่งทั่วโลกในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา เราก็ได้ริเริ่มปรัชญาที่เรียกว่า เซฟเคียวริตี้ (Safecurity)
ซึ่งเป็นการผสานรวมแนวทางด้านความปลอดภัยและระบบการรักษาความปลอดภัยเข้าไว้ด้วยกันอย่างแนบแน่น เพื่อป้องกันและคุ้มครองให้การดำเนินงานของโรงงานและโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกเป็นไปอย่างปลอดภัยและมั่นคง สำหรับการประชุม ยูสเซอร์ คอนเฟอเรนซ์ 2018 ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ
เป็นการรวมตัวของวิทยากรชั้นนำและผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์จากหลากหลายสาขาอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธกิจและข้อมูลเชิงลึกของ เซฟเคียวริตี้ ที่สามารถนำไปดำเนินการได้จริง
ผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่สำคัญของไทยประมาณ 70% กำลังจะมารวมตัวกันในงาน ฮีมา ยูสเซอร์ คอนเฟอเรนซ์ เอเชีย แปซิฟิก 2018 เพื่อค้นหาแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ จะเห็นได้ว่าผลกำไรขององค์กรในอุตสาหกรรมแห่งนี้กำลังเป็นเรื่องที่สวนทางกับการกำหนดราคาและการปฏิบัติงานข้ามข้ามพรมแดนทั่วโลก
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาแนวทางที่ดีกว่าในการทำกำไรและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประชุมในครั้งนี้จะเป็นการระดมความคิดที่ดีที่สุดเพื่อกำหนดสถานการณ์ที่เหมาะสม
ในการทำกำไรและเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลายๆ กรณี นอกจากนี้ยังเป็นเวทีที่ดีเยี่ยมในการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงานและพันธมิตรรายใหม่ๆ ด้วย
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี
หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่