หัวเว่ย (Huawai) นำเสนอนวัตกรรมเพื่
โดยอุปกรณ์ของ หัวเว่ย พร้อมกับอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 5G CPE Pro อันเป็นอุปกรณ์เชิงพาณิชย์ซึ่
ชิปเซ็ต Balong 5000 เป็นชิปเซ็ตที่จะเปิดศักราชใหม่
Huawai หวังช่วยก้าวเข้าสู่ ยุคสมัยใหม่ ที่ทุกสิ่งเชื่อมโยง
ริชาร์ด หยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า ชิปเซ็ต Balong 5000 จะนำผู้บริโภคทุกคนก้าวเข้าสู่
นอกจากนี้ อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 5G CPE Pro ที่ใช้ชิปเซ็ต Balong 5000 เป็นหน่วยประมวลผลกลางนั้นช่
ซึ่งความเป็นผู้นำของหัวเว่ย ด้านเทคโนโลยี 5G รวมไปถึงการพัฒนาองค์ประกอบต่
ก้าวสู่ยุค 5G กับชิปเซ็ต Balong 5000
หัวเว่ยภูมิใจเสนอชิปเซ็ต 5G มัลติโหมดรุ่นแรกของโลก ชิปเซ็ต Balong 5000 คือชิปเซ็ตตระกูล Balong ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุด โดยชิปเซ็ตรุ่นล่าสุดนี้มีขนาดเล็กแต่ผสานนวัตกรรมที่หลากหลายไว้ภายใน ชิปเซ็ตนี้รองรับการสื่อสารแบบ 2G 3G 4G และ 5G ในตัว
จึงสามารถลดทั้งความหน่วงของการรับส่งข้อมูลและพลังงานที่ใช้ขณะรับส่งข้อมูลที่โหมดการทำงานต่างๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ในช่วงเวลาที่การสื่อสารแบบ 5G เริ่มใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ได้เช่นกัน
ชิปเซ็ต Balong 5000 เป็นชิปเซ็ตรุ่นแรกที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ด้านอัตราการดาวน์โหลดที่ย่านความเร็วระดับ 5G ให้กับอุตสาหกรรมการสื่อสาร โดยชิปเซ็ตนี้รองรับความเร็วการดาวน์โหลดได้ถึง 4.6 กิกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้งานที่ย่านความถี่กลุ่ม Sub-6 GHz หรือคลื่นความถี่ต่ำที่กำหนดให้เป็นคลื่นความถี่หลักสำหรับการสื่อสารแบบ 5G
และชิปเซ็ตนี้ยังรองรับความเร็วการดาวน์โหลดได้ตั้งแต่ 6.5 กิกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้งานที่ย่านความถี่กลุ่มมิลลิเมตเตอร์เวฟ (mmWave) หรือคลื่นความถี่สูงที่กำหนดให้เป็นคลื่นความถี่เพิ่มเติมสำหรับการสื่อสารแบบ 5G ซึ่งความเร็วในการดาวน์โหลดดังกล่าวเร็วกว่าชิปเซ็ต 4G LTE รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ที่ใช้ในท้องตลาดปัจจุบันถึง 10 เท่า นอกเหนือจากนี้ ชิปเซ็ต Balong 5000 ยังเป็นชิปเซ็ต 5G รุ่นแรกของโลกที่สามารถใช้งานได้กับโครงข่ายทั้งแบบที่ทำงานได้โดยอิสระ (SA) และแบบที่ต้องทำงานร่วมกับโครงข่ายอื่น (NSA) โดยโครงข่ายแบบที่ต้องทำงานร่วมกับโครงข่ายอื่นนั้นคือโครงข่าย 5G ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม
จากโครงข่าย 4G LTE ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนโครงข่ายที่ทำงานได้โดยอิสระนั้นคือโครงข่าย 5G ที่สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอิงกับโครงข่ายใดๆ ยิ่งไปกว่านี้ ชิปเซ็ตBalong 5000 ยังเป็นชิปเซ็ตที่สามารถปรับแต่งให้สอดคล้องกับผู้ใช้หรือผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีความต้องการแตกต่างกันได้
เพื่อให้ชิปเซ็ตนี้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สอดรับกับวิวัฒนาการของการสื่อสารในยุค 5G ซึ่ง ชิปเซ็ต Balong 5000 ยังเป็นชิปเซ็ตแบบมัลติโหมดรุ่นแรกของโลกที่รองรับการสื่อสารข้อมูลตามแนวคิด Vehicle to Everything – V2X เนื่องจากชิปเซ็ตนี้มีค่าความหน่วงของการรับส่งข้อมูลต่ำ
และเป็นชิปเซ็ตที่หัวเว่ยพัฒนาให้เป็นโซลูชั่นสำหรับยานยนต์ยุคใหม่ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ หัวเว่ยจะนำเสนอสมาร์ทโฟน 5G รุ่นแรกของบริษัทฯ ที่จะใช้ชิปเซ็ต Balong 5000 ในงาน Mobile World Congress 2019 ณ บาร์เซโลน่า
5G CPE Pro คือสิ่งที่ยกระดับประสบการณ์การใช้งานในบ้าน
โดยอุปกรณ์รับส่งสัญญาณหัวเว่ย 5G CPE Pro มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 3.2 กิกะบิตต่อวินาทีเมื่อทดสอบบนเครือข่ายจริง นอกจากนี้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณหัวเว่ย 5G CPE Pro ที่ใช้ชิปเซ็ต Balong 5000 นั้นรองรับการสื่อสารข้อมูลไร้สายทั้งแบบ 4G และ 5G เมื่อใช้งานในย่านความถื่ 5G
อุปกรณ์นี้สามารถดาวน์โหลดคลิปวิดีโอที่มีขนาด 1 กิกะไบต์ได้ภายใน 3 วินาที และสามารถสตรีมคลิปวิดีโอความละเอียด 8K ได้แบบไม่มีสะดุด ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของอุปกรณ์รับส่งข้อมูลภายในบ้าน และยังสามารถเป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลขององค์กรธุรกิจขนาดกลางย่อม
และขนาดกลางที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับสูงสุดเช่นกัน อีกทั้งยังรองรับเทคโนโลยี Wi-Fi 6 อันเป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบ Wi-Fi จึงมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 4.8 กิกะบิตต่อวินาที และยังเป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณแบบ 5G รุ่นแรกที่รองรับโปรโตคอล HUAWEI HiLink ยกระดับสมาร์ทโฟนไปสู่ยุค 5G ได้เต็มรูปแบบ
ส่วนขยาย
* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่