Huawei

หัวเว่ย (Huawei) จัดงาน IP Club Carnival พร้อมดีง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และนักเทคนิคด้าน IP จาก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมแสวงหาแนวทางการใช้เทคโนโลยี IP เพื่อช่วยเร่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสู่ทุกอุตสาหกรรม…

highlight

  • หัวเว่ย จัดงาน IP Club Carnival ครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “Rethink IP, Building the Engine for Digital Transformation”  โดยมีสมาชิก IP Club ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม นักวิชาการ และนักเทคนิคด้าน IP จากไทย ฮ่องกง อินเดีย กัมพูชา บังกลาเทศ และเวียดนาม เข้าร่วมงานราว 400 ราย เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางการใช้เทคโนโลยี IP ที่มีความล้ำสมัยให้เกิดประโยชน์   การจัดงานในครั้งนี้ยังเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้าง IP Club ให้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสื่อสารด้านเทคโนโลยี IP ที่เปิดกว้างสำหรับมืออาชีพ มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับอีกด้วย 

Huawei IP Club Carnival 2019

มร. เจสัน เหอ รองประธาน กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า หัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลก การลงทุนทางด้านวิจัย และพัฒนาอย่างหนักถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของเรา

โดยในปี 2561 ที่ผ่านมา งบลงทุนด้าน R&D ของเราสูงเกือบ 101,500 ล้านหยวน คิดเป็น 15% ของรายได้ทั้งหมด หรือกว่า 485,000 ล้านหยวนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยมักมีส่วนร่วมในการสนับสนุน และกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศโดยอาศัยศักยภาพทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ หัวเว่ย มี

ข้อมูลเชิงลึกจากผู้นำทางความคิดสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม IP

มร. โรหิต เมห์รา รองประธานฝ่ายโครงสร้างเครือข่าย จาก International Data Corporation (IDC) กล่าวว่า เครือข่ายถือเป็นหัวใจสำคัญของการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่กำลังเกิดขึ้นใหม่มากมายได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และปรับขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานในอนาคต

การพลิกโฉมเครือข่ายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ เพราะเครือข่ายแบบเดิมนั้นไม่สามารถก้าวทันกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อีกต่อไป ซึ่งครือข่ายอัจฉริยะแห่งอนาคตจะยังมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่การเป็นเครือข่ายอัตโนมัติ และขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง

Huawei

ด้าน มร.ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านดิจิทัลและที่ปรึกษาระดับสูง ของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า อุตสาหกรรม IP จะก้าวหน้าต่อไปท่ามกลางกระแสคลื่นของการทรานส์ฟอร์มด้านดิจิทัล นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงงานวิจัยล่าสุดของหัวเว่ยและแนวปฏิบัติที่เด่น ๆ ในแวดวง IP

ซึ่ง หัวเว่ย มีบทบาทสำคัญในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi 6, AI Fabric และ SRv6 ทั้งยังเป็นผู้นำในตลาด และมีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นในอุตสาหกรรมจากนวัตกรรม และการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงเพิ่มงบลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนา และมอบโซลูชั่นเครือข่าย IP อัจฉริยะระดับชั้นนำเพื่อวางรากฐานระบบการเชื่อมโยงสื่อสารรุ่นใหม่ที่ชาญฉลาดให้พร้อมสำหรับสังคมอัจฉริยะที่กำลังจะเกิดขึ้น

การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ล้ำหน้าด้วยนวัตกรรมที่แตกต่าง

ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี IP มากว่า 20 ปี และมุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมที่แตกต่างให้กับลูกค้าทั่วโลก หัวเว่ย ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุด ทั้ง 5G คลาวด์ และ AI มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี IP อย่างต่อเนื่อง

ในงานนี้ หัวเว่ยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพ IP ของหัวเว่ยอีกครั้งโดยการนำผลิตภัณฑ์ IP เรือธงรุ่นล่าสุด ทั้ง AirEngine Wi-Fi 6 และ สวิตซ์ CloudEngine โดย AirEngine Wi-Fi 6 ขับเคลื่อนโดยขุมพลัง 5G ของหัวเว่ย มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งด้วยเทคโนโลยีเสาอากาศอัจฉริยะ 5G เพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม

และเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยเร่งความเร็วในการใช้งาน นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยเพิ่มสัญญาณความครอบคลุมของ Wi-Fi ได้ราว 50% และลดความหน่วงของเครือข่ายลงมาอยู่ที่ระดับ 10 มิลลิวินาที ผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ของหัวเว่ย ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้งานเครือข่าย Wi-Fi ชั้นนำระดับพรีเมี่ยม ที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อสูง พร้อมมอบสุดยอดประสบการณ์การใช้งาน  และขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ ให้เติบโตต่อไป

Huawei

ดร. โอซามา อาบูล-มักด์ ประธาน IEEE 802.11ax (Wi-Fi 6) กล่าวว่า หัวเว่ยได้เสนอร่างการพัฒนามาตรฐาน 802.11ax ชุดใหม่ไปทั้งสิ้น 240 ฉบับ คิดเป็น 15% ในอุตสาหกรรม และมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้จำหน่ายทั้งหมด

ขณะที่ ดร. ลี่ ซิง รองประธาน ด้าน Campus Network ฝ่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสารดาต้าของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมในด้านผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 ที่ผ่านการรับรองโดย Tolly Group ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการทดสอบระดับโลก

จากข้อมูลของ Tolly พบว่าผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 เชิงพาณิชย์ของหัวเว่ยมีประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เข้ารับการทดสอบ

ด้าน มร.คิง จุ่ย ประธานเจ้าหน้าที่ด้านวิศวกรรม ฝ่ายการตลาดดาต้าคอมมิวนิเคชั่นและการขายเทคนิค กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า สวิตซ์ CloudEngine ของหัวเว่ย สร้างขึ้นจากระบบ Remote Direct Memory Access (RDMA) ซึ่งมีขีดความสามารถที่ล้ำหน้าและประมวลผลได้รวดเร็วกว่าใครในอุตสาหกรรม ช่วยในการวางโครงสร้างของดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับโซลูชั่น AI Fabric ให้พร้อมใช้งานในยุค AI

สวิตซ์ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์จะช่วยลดอัตราการสูญเสียข้อมูลในการสวิตชิ่ง ได้อย่างอัจฉริยะ รองรับการผสมผสานเครือข่ายได้สามเครือข่าย (เครือข่ายคอมพิวติ้ง, สตอเรจ และดาต้า) สามารถลดต้นทุนการเป็นเจ้าของลงได้ถึง 53% เลยทีเดียว

สวิตซ์ CloudEngine ของหัวเว่ยมาพร้อมกับชิพ AI และใช้อัลกอริธึ่มนวัตกรรม AI iLossless เพื่อลดอัตราการเกิด Packet loss ในเครือข่ายให้เป็นศูนย์ และปลดปล่อยศักยภาพด้านการประมวล AI ได้เต็ม 100%

ในอนาคต โดเมน IP ของหัวเว่ย จะสามารถส่งมอบเทคโนโลยีและทรัพยากรการใช้งานได้มากยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดียิ่งขึ้น การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรจะสามารถมอบการเชื่อมโยงสื่อสารอัจฉริยะให้กับลูกค้าองค์กรได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

หัวเว่ยจะยังคงใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อผสานการใช้งานด้านไอซีที ช่วยให้ลูกค้าพลิกโฉมด้านดิจิทัลได้สำเร็จ พร้อมก้าวสู่โลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่