Huawei

หัวเว่ย (Huawei) เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอัจฉริยะในงาน Huawei Asia Pacific ISP Summit 2018 ก้าวล้ำเทคโนโลยีไอซีที สู่การปฏิรูปดิจิทัลด้วย ISP

Huawei Asia Pacific ISP Summit 2018

ในงาน หัวเว่ย Asia Pacific ISP Summit 2018 ณ เกาะฮ่องกง ที่ผ่านมา มีบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกว่า 150 ราย เข้าร่วมงาน ที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อ บทบาทของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในการเร่งพลิกโฉมธุรกิจไปสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น

และปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเติบโตขึ้น ภายใต้ธีม “Leading New ICT – Achieve and Accelerate Digital Revolution with ISP”

เพื่อผนวกรวมด้านดิจิทัลของอาเซียนจะช่วยเร่งให้เศรษฐกิจดิจิทัล ชีวิตที่อัจฉริยะและปลอดภัย ขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้า และขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอัจฉริยะ ในขณะที่ดิจิทัลทำให้ชีวิตผู้คนเปลี่ยนไป

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็กำลังพัฒนาธุรกิจของตนอย่างรวดเร็ว และขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านอีคอมเมิร์ซ เครือข่ายสังคม เกมออนไลน์ การชำระเงินผ่านมือถือ และการเดินทางท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้าน ISP ได้ร่วมกับรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ส่งเสริมการพัฒนาการปฏิรูปและการผนวกรวมด้านดิจิทัล

ดังนั้นเทคโนโลยีไอซีทีใหม่ๆ จึงกลายมาเป็นแรงผลักดันสำคัญของยุคนี้ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ของเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการด้าน ISP จึงต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีให้แข็งแกร่ง เพื่อเร่งตัวเองให้มีความพร้อมรับดิจิทัล

มร. ฉิว เล่ย รองประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและการขายโซลูชั่น กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มศักยภาพการพลิกโฉมธุรกิจสู่ดิจิทัลของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และปรับปรุงบริการดิจิทัลของตนให้ทันสมัย

โดยการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไอซีทีแบบครบวงจร ด้วยการผสมผสานระบบคลาวด์ (Cloud) ท่อส่งสัญญาณ (Pipe) อุปกรณ์ (Device) เพื่อสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเปิด ที่ยืดหยุ่นและปลอดภัย · ภายใต้กลยุทธ์ Platform + Ecosystem เราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าของเรา

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในด้านการให้บริการที่รวดเร็ว การยืดหยุ่นของทรัพยากร การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การเชื่อมต่อศูนย์ข้อมูลความเร็วสูง และการเข้าถึงบริการ VR และ HD เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลายสามารถพลิกโฉมธุรกิจของตนสู่ดิจิทัลได้เป็นผลสำเร็จ และยังสามารถแข่งขันได้ในยุคดิจิทัลนี้

Huawei
มร. ฉิว เล่ย รองประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและการขายโซลูชั่น กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบเดิมกำลังดำเนินการปรับเปลี่wยนธุรกิจของตนเพื่อให้ก้าวทันยุคดิจิทัล ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีไอซีทีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อาทิ คลาวด์ บิ๊กดาต้า และ AI ความต้องการทรัพยากรที่แบ่งปันและการสำรองข้อมูล

และองค์กรที่กำลังใช้บริการคลาวด์มากขึ้น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงเริ่มใช้เทคโนโลยีคลาวด์เซอร์วิส (บริการคลาวด์) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของตนเอง และถ่ายโอนสถาปัตยกรรมไอซีทีจากอินเทอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมไปสู่คลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์

Huawei
มร. หวิ่ง คิน เหลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี (CTO) ฝ่ายการตลาดและการขายโซลูชั่น กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย

ด้าน มร. หวิ่ง คิน เหลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี (CTO) ฝ่ายการตลาด และการขายโซลูชั่น กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้จัดหาและผู้นำนวัตกรรมด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการคลาวด์

หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลายในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยการสร้างคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่พร้อมด้วยการบริหารคลาวด์แบบรวมศูนย์ การเร่งการใช้งาน การจัดหาที่คล่องตัว และประหยัดพลังงาน 

หัวเว่ยได้ผสานความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต พร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นเพื่อเร่งไปสู่การเติบโตด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

Huawei
สันติ เมธาวิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด (ยูไอเอช)

ด้าน สันติ เมธาวิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด (ยูไอเอช) กล่าวว่า หัวเว่ยได้จัดหาคลาวด์แพลตฟอร์มและเทคโนโลยี DWDM ทำให้เราสามารถมอบบริการคลาวด์ที่มีทั้งแบนด์วิธสูงความจุใหญ่ และความน่าเชื่อถือสูง

โซลูชั่นใหม่ของหัวเว่ยช่วยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตพลิกโฉมสู่ดิจิทัล

ในงานประชุมครั้งนี้ หัวเว่ยได้จัดแสดงโซลูชั่นใหม่หลายรายการ อาทิ โซลูชั่นแพลตฟอร์ม FusionServer V5, CloudCampus และ UPS FusionPower5000-S ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยองค์กรต่างๆ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการดำเนินงานและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเร่งกระบวนการพลิกโฉมธุรกิจสู่ระบบดิจิทัล

โซลูชั่นแพลตฟอร์ม FusionServer V5 เมื่อเทียบกับโซลูชั่นรุ่นก่อน โซลูชั่นรุ่นใหม่นี้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น 30% ทั้งยังติดตั้งใช้งานได้รวดเร็ว ช่วยให้ระบบมีความเสถียร ส่งมอบบริการได้รวดเร็ว และพร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต

สำหรับความเสถียรของระบบนั้น คุณสมบัติด้าน Smart Fault MGM ที่ล้ำหน้าสามารถป้องกันระบบล่มได้สูงถึง 93% และยังมีคุณสมบัติ Smart Power MGM ที่ช่วยลดการใช้พลังงานในระบบลง 16% เอื้อต่อการบำรุงรักษาและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกด้วย

โซลูชั่น CloudCampus เน็ตเวิร์คแบบเดิมมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ การบริหารจัดการที่ซับซ้อน และต้นทุนการดูแลบำรุงรักษาที่สูง ต่างจากโซลูชั่น CloudCampus ที่ช่วยให้ผู้ใช้ระดับองค์กรสามารถดำเนินการวางแปลนเครือข่ายไร้สาย ติดตั้งใช้งาน

และบริหารจัดการระบบดูแลรักษาในที่ทำงานผ่านทางบริการจัดการคลาวด์แบบใหม่ ทำให้อุปกรณ์เครือข่ายดีไวซ์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบและใช้งานได้เลย (Plug-and-play) โซลูชั่นนี้สามารถย่นระยะเวลาติดตั้งใช้งานเครือข่ายในสถานศึกษาหรือองค์กร

และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้กว่า 80% ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของสมาร์ทแคมปัสเพิ่มสูงขึ้น สำหรับผู้ให้บริการจัดการระบบ (Managed Service Provider – MSP ) โซลูชั่นนี้มีแพลตฟอร์มจัดการคลาวด์แบบ “self-operated” ที่มีความสามารถจัดการอุปกรณ์หลายล้านชิ้น

พร้อมผสานเครือข่าย WiFi ที่กระจัดกระจาย ให้รวมกันเป็น “One WiFi” สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาคการศึกษา ธุรกิจค้าปลีก และศูนย์การค้า ช่วยให้ผู้ให้บริการ MSP สร้างรายได้ผ่านระบบแบบบริหารจัดการด้วยตนเอง โซลูชั่น CloudCampus พร้อมให้บริการบนพับลิคคลาวด์ของหัวเว่ยในฮ่องกงแล้ว

ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาธุรกิจสำหรับเครือข่ายแคมปัสให้มีประสิทธิภาพสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสินทรัพย์หรือแม้แต่มีเทคโนโลยีประสิทธิภาพต่ำก็สามารถทำได้

โซลูชั่น UPS FusionPower5000-S โซลูชั่นชุดนี้ผสานคุณสมบัติด้านการจ่ายไฟฟ้าและระบบสำรองไฟเข้าไว้ด้วยกัน รองรับการต่อพ่วงได้สูงสุดถึง 1,200 kVA ต่อเครื่อง ด้วยตัวเครื่องที่มีคุณสมบัติถ่ายโอนความร้อนได้ดี ผลิตภัณฑ์นี้จึงสามารถติดตั้งได้ง่ายในพื้นที่เล็กๆ ใช้เวลาบำรุงรักษาไม่ถึงห้านาที

และหากระบบขัดข้อง ผู้ใช้ก็สามารถดำเนินการแก้ไขทางออนไลน์ ช่วยให้ระบบกลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

หัวเว่ยเสริมแกร่ง ISP ปลดปล่อยศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัล

หัวเว่ยตั้งเป้าหมายที่จะช่วยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผลักดันนวัตกรรมด้านดิจิทัล เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลของแต่ละประเทศทั่วทั้งภูมิภาค ในระหว่างงานประชุม

หัวเว่ยได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทช่วยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนผ่านจากระบบดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่บริการคลาวด์ การปรับเปลี่ยนจากเส้นใยแก้วนำแสงไปสู่คลาวด์ไฟเบอร์ และจากIAP ไปสู่ MSP

บริการดาต้าเซ็นเตอร์สู่บริการคลาวด์ เครือข่ายคลาวด์ดาต้าเซ็นเตอร์ของหัวเว่ยมีคุณสมบัติรองรับการใช้งานในอนาคตได้อย่างยืดหยุ่น ดูแลบำรุงรักษาได้ง่าย และติดตั้งใช้งานได้สะดวก พร้อมโซลูชั่นทางเทคนิคที่ช่วยประหยัดพลังงานด้วยการออกแบบโมดูล

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือด้านวิชวลไลซ์สำหรับการออกแบบทางธุรกิจที่ช่วยในการทำคอมพิวติ้งด้านธุรกิจ การเก็บข้อมูล เครือข่ายและการเข้าถึงแหล่งข้อมูลแอพพลิเคชั่นภายใน 10 นาที

ระบบเครือข่ายที่ควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (SDN) ที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมสามารถทำงานร่วมกับโซลูชั่นเครือข่ายแบบเก่า ผสานซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่สามารถลดภาระงานในการปรับตั้งค่าได้ถึง 90%

การปรับเปลี่ยนจากเส้นใยแก้วนำแสงไปสู่คลาวด์ไฟเบอร์ โซลูชั่นของหัวเว่ยประกอบด้วยอุปกรณ์สวิตชิ่งเชื่อมต่อที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม SDN และคลาวด์ไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถดำเนินการรับ-ส่งสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว

การกำหนดเวลาแบบยืดหยุ่น และการถ่ายโอนข้อมูลบน WAN อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการสร้างและรองรับบริการปฏิบัติการแบนด์วิธแบบเสมือนจริง

จากการเป็นผู้ให้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (IAP) ไปเป็นผู้ให้บริการจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (MSP) หัวเว่ยได้สาธิตประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ IAP สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเพิ่มแบนด์วิธ

อาทิ GE Access Network แบบบริการครบวงจร รวมถึงวิดีโอความละเอียดสูงระดับ HDและการรับ-ส่งข้อมูลบิ๊กดาต้าที่แบนด์วิธสูงและความหน่วงต่ำ

*รายละเอียดเกี่ยวกับงานประชุม อ่านได้ที่ ===> Huawei Asia Pacific ISP Summit 

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่