Key Insight
- ID4D หรือ Identification for Development โครงการระบบยืนยันตัวตนของสหประชาชาติและธนาคารโลก
- โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้าง Digital ID ให้กับประเทศหรือทวีปที่มีปัญหาด้านการยืนยันตัวตนโดยตั้งเป้าจะทำให้ผู้ด้อยโอกาสกว่า 1.1 พันล้านคนได้มีสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวเอง
- เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์จะถูกนำมาใช้กับระบบดังกล่าว
- ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ Digital ID อื่น ๆ ได้ที่ Theeleader.com
ปัจจุบัน การมีส่วนร่วมกับสังคมสมัยใหม่และเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นอยู่กับความสามารถในการพิสูจน์ว่าเราเป็นใคร แต่มีประชากรโลกประมาณ 1.1 พันล้านโดยเฉพาะในแถบเอเชียและแอฟฟริกาไม่มีรหัสยืนยันตัวตนเป็นของตนเอง เช่นบัตรประชาชน
และนั่นทำให้พวกเขาไม่สามารถได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการและไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านการเงิน การศึกษา การดูแลสุขภาพและโอกาสทางการค้าที่รัฐบาลจัดสรรค์ให้ ซึ่งสหประชาชาติและธนาคารโลกได้ตะหนักถึงปัญหานี้ ทำให้เกิดเป็นโครงการ Identification for Development (ID4D) ที่จะสร้างอัตลักษณ์ทางดิจิทัลและมีผลในด้านกฎหมายสำหรับทุกคนบนโลกในปี 2030
ในขณะที่ประเทศอินเดียและเอสโตเนียกำลังพัฒนาวิธีการใหม่โดยการใช้เทคโนโลยีการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งสามารถทำสำเร็จไปหลายส่วนแล้ว มีผลทำให้คนการยืนยันตัวตนทำได้ง่ายกว่าเดิมมาก ช่วยลดระยะเวลาการดำเนินของรัฐ ช่วยลดภาระด้านเอกสาร และทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ มีเคสตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในแอฟฟริกา จากการที่คนเหล่านี้ไม่มีอะไรที่ระบุว่าพวกเขามีตัวตนทางกฎหมาย เช่น นักเรียนรายหนึ่งพยายามทบทวนการสอบปลายภาคเป็นเวลาหลายสัปดาห์เพื่อเรียนต่อในระดับมัธยม แต่ก็ถูกกันออกไปจากการสอบเพราะเทอไม่สามารถบอกกับโรงเรียนได้ว่าเธอคือใคร ผู้หญิงอายุ 65 ปีมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การรับเงินบำนาญของเธอ แต่ไม่สามารถรับผลประโยชน์ได้ ชายคนหนึ่งกำลังจะส่งเงินกลับไปให้ที่บ้าน แต่ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินให้เสร็จสมบูรณ์ได้ เพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่มีเอกสารทางกฎหมาย
ทำให้โครงการ ID4D จึงมีความสำคัญที่จะทำให้ประชากรเหล่านี้มีระบบยืนยันตัวเป็นของตัวเอง ซึ่งถ้าถามว่าธนาคารโลกจะได้อะไรจากการทำโครงการนี้ แน่นอนว่าในปัจจุบันหลายประเทศกำลังผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลของตนเอง จะมีธุรกรรมการทางเงินที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มหาศาล หากประชากรกว่า 1.1 พันล้านคนสามารถยืนยันตัวตน ธุรกรรมทางการเงินก็จะเพิ้่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
Digital ID In Peru
เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นและแนวทางทำสำเร็จแล้วจริง ๆ เราจะมาดุตัวเองของประเทศเปรูกัน โดยในปี 1990 ประเทศเปรูเกิดใหม่หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองและความไม่แน่ทางเศรษฐกิจ แต่ผู่นำเปรูในชณะนั้นได้หันมาให้ความสคัญกับการระบุตัวตน เริ่มจากการรวมรวมฐานข้อมูลบัตรประชาชนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาไว้ในส่วนกลาง โดยใช้ระบบไบโอเมตริกซ์ในการยืนยัน ทำให้วันนี้เปรูสามารถระบุข้อมูลประชากรได้เกือบ 99% แล้ว และข้อมูลประจำตัวของบุคคลสามารถรับรองความถูกต้องผ่านโปรแกรมและเอเจนซี่ต่างๆ ทำให้ทุกคนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้ทั้งหมด มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
Thailand Digital ID
สำหรับประเทศไทยนั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องรอคิวจากสหประชาชาติ เพราะรัฐบาลไทยก็มองเห็นความสำคัญของการระบุตัวตนด้วยระบบดิจิทัล โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เป็นหน่วยงานที่จะทำให้ Digital ID เกิดขึ้นจริงในประเทศ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์จากหลาย ๆ หน่วยงานเพื่อเริ่มโครงการ Digital ID อย่างจริงจัง
ปัญหาที่เคยมีในอดีตของประเทศไทยก็อาจหายไป เช่น นักเรียนชาวเขาคนหนึ่งไม่สามารถไปแข่งขันในระดับโลกได้ เพราะไม่มีเอกสารยืนยันตัวเอง ชาวเขา ชาวดอย อาจขึ้นทะเบียนสัญชาติได้ง่ายขึ้น
ID4D เปลี่ยนแปลงทั้งวันนี้และอนาคต
สำหรับโครงการนี้ แม้ในมุมหนึ่งโครงการนี้จะสร้างผลประโยชน์ให้กับธนาคารโลก แต่หากมองไปที่ผู้คนที่สามารถรับประโยชน์จากบริการภาครัฐได้ก็นับมีประโยชน์ต่อพวกเขามาก ซึ่งนอกจากบริการทางด้านการเงินแล้ว ในสิทธิประโยชน์อื่นก็มีไม่ใช่น้อย และในอนาคตหากมีบริการทางดิจิทัลเกิดขึ้นอีก พวกเขาก็สามารถขอรับบริการได้ทันที เรียกได้ว่าประโยชน์ไปตกกับประชนทั้งหมด
ทั้งนี้ ในประเทศไทย กำลังจะมีการจัดงานประชุมครั้งใหญ่ “Thailand 1st Digital ID Symposium” ซึ่งในงานจะเชิญวิทยาชั้นนำระดับโลกมาร่วมให้ความรู้ โดยหนึ่งในนั้นคืิอ คุณ Jonathan Marskell ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในโครงการสำรวจเอกลักษณ์เพื่อพัฒนา (ID4D) ของ Worldbank ซึ่งจะมาให้ความรู้ภายในงานครั้งนี้ด้วย