อินเตอร์ลิงค์ (Interlink)เดินหน้าจัดโครงการ Cabling Centest ต่อเนื่อง พร้อมคัดเลือกนักศึกษาจากเวที ส่งชิงแชมป์ในเวทีในระดับอาเซียน (World Skill Asian) และเตรียมต่อยอดแชมป์สู่เวทีระดับโลก (World Skills) ต่อเนื่อง...

highlight

  • นักศึกษาจากสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Technological College หรือ netc) คว้าแชมป์จากเวทีการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 7 (Cabling Contest 2019) พร้อมคว้าถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Asean Skills และ World Skills
  • หากพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าหลาย ๆ โครงการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เมืองอัจริยะ (Smart City) หรือการผลักดันให้เกิดการใช้ข้อมูล (Big Data) เพื่อต่อยอดสู่โอกาสใหม่ ๆ ก็ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีอย่างสายสัญญาณแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าการที่ตลาดมีความต้องการในด้านโครงสร้างพ้ืนฐานสายสัญญาณ

เผยโฉมหน้าผู้ชนะ Interlink Cabling Centest ปีที่ 7 

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคของดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ความต้องการในด้านโครงสร้างพิ้นฐานทางดิจทัลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี แต่ปัจจัยที่สำคัญปัญหาที่สำคัญที่สุดในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังคงติดอยู่ที่การขาดแคลนฝีมือแรงงานที่มีทักษะมากเพียงพอกับความต้องการ

Cabling Centest
คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ซ้ายสุด), คุณอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก (กลางซ้าย), คุณศิริลักษณ์ ฮั้วรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานนครนายก (กลางขวา) พร้อมด้วย คุณณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ขวาสุด) ร่วมแสดงความยินดี และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะในเวทีการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 7

ณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า อินเตอร์ลิงค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้ความร่วมมือกระทรวงแรงงานม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจ และสังคม

จัดโครงการการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะสายฝีมือสายสัญญาณมาอย่างต่อเนื่องจนก้าวสู่ปีที่ 7 โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีในการพัฒนาศักยภาพ นักเรียน นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับอาชีวะศึกษา จากทั่วประเทศ ที่มีความสนใจในด้านสายสัญญาณ (Networks Cabling)

ได้เพิ่มพูนทักษะฝีมือได้ตามมาตราฐานทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งจากการคัดเลือกตัวแทนจากทุกภาค เพื่อเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย และชิงถ้วยพระราชทาน พร้อมเงินรางวัลมูลค่ากว่า 400,000 บาท พร้อมเป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขันในเวทีระดับโลกอย่าง World Skill Asian และ World Skills

Cabling Centest

โจทย์ยากขึ้น เพื่อยกระดับให้เท่าทันระดับโลก

สำหรับรูปแบบของการแข่งขันเราได้ตั้งโจทย์ให้มีความยาก สอดรับกับเวทีการแข่งในระดับโลก โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้เรียนรู้ และพัฒนาทักษะได้อย่างทัดเทียม โดยโจทย์ก็ยังคงเเบ่งเป็นทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติเช่นเดิม อาทิ การแข่งขันหัวต่อกับสายสัญญาณ LAN, การแข่งขันหัวต่อกับสาย Coaxial เป็นต้น

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าเยาวชนในประเทศไทยยังมีความแตกต่างกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งประทศอย่างเวียดนาม หรือสิงค์โปร์ นั้นมีการสนับสนุนกันอย่างจริงจัง ทำให้เยาวชนมีทักษะที่ดีกว่า ประเทศไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าเยาวชนไทยไม่เก่ง

เนื่องจากเยาวชนไทยที่เคยเข้าแข่งขันในรุ่นก่อน ที่มีโอกาสไปแข่งในเวทีระดับโลก ก็สามารถทำผลงานได้ดี ได้รับรางวัลชมเชย แต่ยังไม่ถึงกับระดับแชมป์เท่านั้น ส่วนหนึ่งของความแตกต่างนี้เกิดขึ้นจากความพร้อมที่เยาวชนไทยมีน้อยกว่า

โดยเยาวชนไทยที่ อินเตอร์ลิ้งค์ ได้คัดเลือกจากเวทีแข่งขันในระดับภูมิภาค ก่อนจะมาแข่งในเวทีสุดท้ายมีความไม่เท่ากัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ฝึกฝีมือทักษะสายสัญญาณนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างมีราคาสูง ทำให้สายสถาบันที่ต้องการส่งเยาวชนไม่มีงบเพียงพอต่อการที่จะซื้ออุปกรณ์ไปให้เยาวชนที่เป็นนิสิตนักศึกษา

ภายในสถาบันของตนให้ได้ฝึกให้คุ้นเคย และเชี่ยวชาญได้ แต่สถาบันต่าง ๆ ก็มีความพยายามที่จะฝึกอบรม อย่างต่อเนื่องทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมเริ่มมีทิศทางของทักษะดีขึ้นตามลำดับ ขณะที่ผ่านมา อินเตอร์ลิ้งค์ เองก็พร้อมที่ช่วยเหลือมาตลอดด้วยการ จัดแคมปัสทัวร์เพื่อมอบความรู้ ต่อเนื่องมาตลอดในทุก ๆ ปี

ร่วมไปถึงการลดราคาอุปกรณ์ให้แก่สถาบันที่ต้องการนำอุปกรณ์ไปพัฒนาทักษะให้แก่เยาวขนภานในสถาบัน อย่างไรก็ดีจากโครงการที่เราได้ทำมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดความตื่นตัวมากขึ้นในหมู่ของสถาบัน ทำให้มีสถาบันที่เข้ามาเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 20% จากสถาบันเดิมที่เคยส่งเข้าแข่งขันต่อเนื่อง

ซึ่งในการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 7 (Cabling Contest 2019) ในปีนี้หลังที่เยาวขนที่เข้าแข่งขัน และผ่านการสอบที่เข้มข้น บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ยินดีที่จะประกาศให้ทราบว่า ผู้ชนะเลิศได้แก่ 

Cabling Centest
คุณอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ร่วมมอบรางวัลชนะเลิศ ให้แก่ นายนัฐพล เทียบชัยภูมิ นักศึกษาจากสถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 7 (Cabling Contest 2019)

นายนัฐพล เทียบชัยภูมิ สถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท พร้อมเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Asean Skills และ World Skills

ขณะที่ รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นายณรงค์ฤทธิ์ พูลสวัสดิ์ สถาบันการอาชีพนครศรีธรรมราช โดยได้รับถ้วยเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท

และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวชื่นนภา มีพูล สถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ โดยได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

Cabling Centest
นายนัฐพล เทียบชัยภูมิ สถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลาง), นายณรงค์ฤทธิ์ พูลสวัสดิ์ สถาบันการอาชีพนครศรีธรรมราช (ซ้าย) และนางสาวชื่นนภา มีพูล สถาบันวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (ขวา)

ตลาดยังขาดคน แต่ทักษะของผู้ให้บริการไม่เท่ากัน

ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา แม้ว่า อินเตอร์ลิ้งค์ จะพยายามสร้างบุคลากรผ่านโครงการนี้มาตลอด แต่ต้องยอมรับว่าก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในยุคที่เรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญอย่างทุกวันนี้

ซึ่งหากพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าหลาย ๆ โครงการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เมืองอัจริยะ (Smart City) หรือการผลักดันให้เกิดการใช้ข้อมูล (Big Data) เพื่อต่อยอดสู่โอกาสใหม่ ๆ ก็ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีอย่างสายสัญญาณแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าการที่ตลาดมีความต้องการในด้านโครงสร้างพ้ืนฐานสายสัญญาณ

ทำให้เกิดผู้ให้บริการขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ให้บริการทีมีอยู่ส่วนใหญ่ไม่มีบุคลากรที่มีทักษะฝีมือได้มาตราฐาน และส่งผลทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ภาคธุรกิจจำนวนมาก เพราะต้องลงทุนใหม่เพื่อแก่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการวางโครงสร้างสายสัญญาณที่ไม่ได้มาตราฐาน

หากประเมินค่าความเสียหายในภาพรวม ก็จะพบว่าองค์กรที่ต้องวางระบบโครงสร้างใหม่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม นั้นต้องใช้งบรวมกว่า 30-40 ล้านบาท เลยทีเดียว ซึ่งมองให้ดีประเด็นนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างมากที่สกัดกันไม่ให้ประเทศสามารถพัฒนาได้ตามเป้าหมายของรัฐ

ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับนานาประเทศ และเป็นเหตุผลที่ อินเตอร์ลิ้งค์ พยายามจัดการแข่งขันพัฒนาทักษะฝีมือสัญญาณมาตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่า อินเตอร์ลิ้งค์ จะพยายามสนับสนุน และพลักดัน เต็มที่ก็สามารถทำได้เพียงในขอบเขตที่จำกัด

โดยโครงการแข่งขันสุดยอดฝีมือสายสัญญาณปี 7 (Cabling Contest 2019) ในแต่ล่ะปีนั้นสามารถรองรับเยาวชนเข้าร่วมโครงการได้เพียง 50 ราย และจากเยาวชนผู้เข้าทั้งหมดก็มีเพียงบ้างส่วนเท่านั้นที่จะเข้าสู่ตลาดของฝีมือสายสัญญาณ เพราะเราเป็นองค์กรเอกชนเพียงรายเดียวที่ทำเรื่องดังกล่าว

ขณะที่ตลาดต้องการแรงงานในด้านนี้มากกว่า 1 หมื่นราย แม้ว่าจะมีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐหลาย ๆ หน่วยงานแล้ว แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะสร้างคนให้ได้ความต้องการของตลาด

Cabling Centest

การสร้างสถาบันพัฒนาฝีมือสายสัญญาณยังดำเนินการต่อ

ในเรื่องของโครงการในการสร้างสถาบันพัฒนาฝีมือสายสัญญาณ ที่ อินเตอร์ลิ้งค์ เคยวางแผนไว้ ที่ยังไม่เกิด ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าด้วยการที่รัฐบาลยังไม่นิ่งในเรื่องของนโยบาย มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้โครงการนี้ยังไม่มีความคืบหน้ามากเท่าไร

แต่ อินเตอร์ลิ้งค์ ไม่อยากรอจึงเดินหน้าจับมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผ่านโครงการแคมปัสทัวร์แทน เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นในภาคการศึกษาโดยเฉพาะในส่วนของอาชีวะศึกษาที่เป็นสถาบันที่สร้างบุคลากรที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอยู่แล้ว

Cabling Centest

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage