NIA ผนึกกำลัง MI นำนวัตกรรมเพื่อสังคมลุยพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พร้อมเตรียมยกระดับการเกษตรใน 4 พื้นที่ “คำม่วน สะหวันนะเขต เมียวดี กวางตรี”

  • NIA ผนึกกำลัง MI นำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ ขยายผลสู่การพัฒนาขีดความสามารถในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ใน 4 พื้นที่ได้แก่ คำม่วน สปป.ลาว  สะหวันนะเขต สปป. ลาว เมียวดี ประเทศเมียนมาร์ และกวางตรี ประเทศเวียดนาม
  • ดำเนินการโครงการความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางสังคม การจัดฝึกอบรมกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ การพัฒนา และแบ่งปันข้อมูล และเครือข่าย รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย ภายใต้กรอบกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทางการเกษตรและการพาณิชย์, การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน และ นวัตกรรมและการเชื่อมโยงเทคโนโลยี

NIA ตั้งเป้าลุยพัฒนา 4 พื้นที่ การเกษตรลุ่มน้ำโขง

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) นำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ ขยายผลสู่การพัฒนาขีดความสามารถในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยความร่วมมือดังกล่าวจะดำเนินผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

เช่น การจัดฝึกอบรมกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ การพัฒนาและแบ่งปันข้อมูลและเครือข่ายของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ ทั้ง 2 หน่วยงาน ยังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันในการหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลความสำเร็จนวัตกรรมเพื่อสังคมของ เอ็นไอเอ ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน โดยเฉพาะใน 4 พื้นที่ได้แก่ คำม่วน สปป.ลาว  สะหวันนะเขต สปป. ลาว เมียวดี ประเทศเมียนมาร์ และกวางตรี ประเทศเวียดนาม

NIA

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรม (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา เอ็นไอเอ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นในการขยายขอบเขตการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคม

ซึ่งมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ความคิดใหม่ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ความเท่าเทียมกันในสังคมและสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม ล่าสุด เพื่อให้แนวนโยบายดังกล่าวมีการกระจายตัว และถูกนำไปพัฒนาในวงกว้าง

เอ็นไอเอ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (MI) ในการร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  (Greater Mekong Subregion, GMS) ซึ่งจะร่วมมือกันนำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จ

และพร้อมขยายผลสู่การพัฒนาขีดความสามารถในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆด้วยกัน

โดย เอ็นไอเอ และ เอ็มไอ จะดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถในระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำเนินการโครงการความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางสังคม การจัดฝึกอบรมกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้ การพัฒนา และแบ่งปันข้อมูล และเครือข่าย

ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากร นักวิชาการ นักวิจัย นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการในส่งเสริมและขยายผลความสำเร็จของโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมของไทย โดย เอ็มไอ จะร่วมพัฒนาข้อเสนอโครงการ และแสวงหาแหล่งทุนจากภายนอกมาสนับสนุน และส่งเสริม

ให้เกิดกระจายโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความยากจน และขยายผลความสำเร็จไปสู่พื้นที่อื่นๆ ให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนทั้งภูมิภาค

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี แห่งการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ มุ่งเดินหน้าสู่การเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคม พร้อมเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการได้รับการสนับสนุนให้กับเยาวชน นักศึกษา ผู้ประกอบการ

และผู้สนใจการพัฒนานวัตกรรมทุกระดับ นอกจากนี้ ยังมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ INNOVATION NATION หรือประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเต็มรูปแบบ

NIA

ด้าน ดร.วัชรัศมิ์ ลีลาวัฒน์ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI) กล่าวว่า สถาบันเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีภารกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างศักยภาพในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน และการขจัดความยากจน

ให้แก่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ภายใต้กรอบกิจกรรม 3 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาทางการเกษตรและการพาณิชย์ 2) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน และ 3) นวัตกรรมและการเชื่อมโยงเทคโนโลยี โดยสถาบันฯ จะดำเนินกิจกรรมหลักๆ 3 หัวข้อ ได้แก่ งานวิจัย งานฝึกอบรม และ งานข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

นอกจากนี้ เอ็นไอเอ และ เอ็มไอ ยังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลของความสำเร็จของนวัตกรรมสังคมของ เอ็นไอเอ ให้เป็นประโยชน์กับชุมชน

โดยเฉพาะใน 4 พื้นที่ดำเนินโครงการที่ทางสถาบันฯ มีความร่วมมือและทำงานร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว ได้แก่ คำม่วน สปป.ลาว/ สะหวันนะเขต สปป. ลาว, เมียวดี ประเทศเมียนมาร์ และกวางตรี ประเทศเวียดนาม โดยในระยะแรกจะดำเนินการโดยใช้แนวทางการฝึกอบรม และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการเกษตรในระยะนำร่อง (pilot phase) 

ใน 4 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการนำไปใช้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงตลาดในระดับอนุภูมิภาคและระดับสากลในลำดับต่อไป ก่อให้เกิดการพัฒนาที่เท่าเทียมกันและนำไปสู่การลดความยากจนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

NIA

อย่างไรก็ดี เอ็นไอเอ และ เอ็มไอ ยังจะมีการนำเสนอโครงการ Sustainable Agriculture and Innovation in MLC เพื่อของบประมาณจากกองทุนพิเศษภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี 2562 (MLC Special Fund 2019) 

ซึ่งคาดว่าโครงการดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ ความเชื่อมโยง ศักยภาพในการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน ความร่วมมือด้านทรัพยากรและเกษตร และการขจัดความยากจนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่