NIA

NIA ผนึกกำลัง TCEB ร่วมพัฒนานวัตกรรม ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ก้าวสู่ผู้นำไมซ์ในเวทีโลก เตรียมสร้าง “ย่านนวัตกรรม” (Innovation District)ในเมืองไมซ์ซิตี้ หวังกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ควบคู่การพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมให้บุคลากร

NIA ผนึกกำลัง TCEB สร้าง Innovation District ในเมืองไมซ์ ซิตี้ ไทย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สนช. ผนึกกำลัง สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ร่วมพัฒนานวัตกรรม  เพื่อยกระดับประเทศไทยเป็นผู้นำไมซ์ในเวทีโลก เจาะอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 ผ่านแคมเปญ INNOVATION THAILAND” 

เตรียมจัดแสดงโซนนวัตกรรมเด่นประเทศไทยในงานไมซ์ระดับประเทศและระดับโลก หวังสร้างการจดจำภาพลักษณ์ไทย เป็นประเทศ โดดเด่นด้านนวัตกรรม ตั้งเป้าผุด “ย่านนวัตกรรม” (Innovation District) ในเมืองไมซ์ซิตี้เพื่อกระจายรายได้สู่ภูมิภาค

ควบพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมให้บุคลากรทุกระดับ คาดสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนงานไมซ์ พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่และบุคลากรด้วยนวัตกรรมผ่านกิจกรรมไมซ์ของประเทศ

NIA
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ กล่าวว่า เอ็นไอเอ มีการดำเนินงานที่ครอบคลุมการพัฒนานวัตกรรมในหลากหลายด้าน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อบริบทที่ สำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างในปัจจุบัน โดยเน้นการส่งเสริม และสนับสนุนใน 5 ด้าน ได้แก่

1. การพัฒนาผู้ประกอบการ นวัตกรรมเพื่อยกระดับทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมทั้งในระดับเยาวชน อุดมศึกษา ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น ผู้ประกอบการนวัตกรรมขนาดต่างๆ ผ่านกิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้ บ่มเพาะ และการสร้างภาวะผู้ประกอบการ

2. การพัฒนาบริษัทนวัตกรรม ด้วยการส่งเสริม สนับสนุน และร่วมรับความเสี่ยงกับผู้ประกอบการ นวัตกรรมในการ พัฒนานวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ผ่านกลไกการสนับสนุนทางการเงิน การให้บริการปรึกษาทางธุรกิจและเทคนิค รวมถึงการขยายผลทางตลาด

3. การลดความเหลื่อมล้ำ โดยอาศัยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมการกระจายตัว ของโครงสร้าง พื้นฐานทางนวัตกรรมไปสู่ภูมิภาคเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างและการเข้าถึงนวัตกรรมให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

4. การสร้างการรับรู้ ด้านนวัตกรรม สร้างความตื่นตัวด้านนวัตกรรมและสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในประชาสังคม เพื่อสร้างการรับรู้การยอมรับ และเกิดการนำนวัตกรรมในหลากหลายด้านไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์

5. การพัฒนาความรู้และฐานข้อมูล โดยอาศัยการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินทางวิชาการ เพื่อแสวงหาโจทย์ แนวโน้มและประเด็นการพัฒนานวัตกรรม ที่ตอบความต้องการของประเทศ รวมถึงการสร้างระบบ และเครื่องมือการพัฒนาและประเมินผลที่สนับสนุนการดำเนินงานในด้านอื่นๆ ผ่านการพัฒนาสารสนเทศนวัตกรรม

NIA

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน และยกระดับประเทศไทย ให้เป็นผู้นำไมซ์ในเวทีโลกผ่านแคมเปญ “INNOVATION THAILAND” เพื่อให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ประเทศที่มีความโดดเด่น ด้านนวัตกรรม และเกิดการนำนวัตกรรมมาพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ

เช่น การจัดประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการแสดงสินค้า ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นเครื่องมือผลักดัน และขับเคลื่อน อุตสาหกรรม ไมซ์ ของไทย

ให้ทัดเทียมมาตรฐานโลก และก้าวสู่ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ ซึ่งจะยกระดับความสามารถ และศักยภาพด้านนวัตกรรม ในพื้นที่ให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการพัฒนา “ย่านนวัตกรรม” (Innovation District) เพื่อให้เกิด การกระจาย ความเจริญสู่ภูมิภาค และการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

ด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังจะร่วมกันพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีด ความสามารถด้านนวัตกรรม ให้แก่บุคลากร ทุกระดับ ในอุตสาหกรรมไมซ์ ผ่านหลักสูตรอบรมต่างๆ ของ “NIA Academy”

เพื่อให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่สามารถนำนวัตกรรม มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศ

เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างยั่งยืน ภายใน 5 ปี

NIA
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB

ด้าน จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ กล่าวว่า อุตสาหกรรมไมซ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมบริการที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สามารถใช้นวัตกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ต่อยอดด้านการกระจายรายได้และความเจริญ ออกสู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดย ทีเส็บ มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาการใช้นวัตกรรมควบคู่ กับข้อมูล อัจฉริยะ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ให้อุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2565

จึงได้จัดตั้ง ฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ (MICE Intelligence and Innovation Department) เพื่อให้บริการด้านข้อมูลและส่งเสริมนวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือแอพพลิเคชั่นที่จะอำนวยความสะดวกให้กับการจัดงานไมซ์ทั้งในส่วนของผู้จัดงาน และผู้เข้าร่วมงาน

ส่งเสริมแนวทางการจัดงานด้านนวัตกรรม รวมไปถึงมีบทบาทในการสร้างพันธมิตรในวงการนวัตกรรม ทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านธุรกิจ ผลักดันให้เกิดการ ใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์

 

เพื่อส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยด้วยนวัตกรรม ให้เป็นอุตสาหกรรมตัวอย่างสำหรับ การส่งเสริม และพัฒนาการใช้นวัตกรรมและข้อมูลอัจฉริยะ อีกทั้งเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไมซ์ไทยอย่างยั่งยืน ทีเส็บ และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ 

NIA

จึงลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือใน การส่งเสริม และยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม ให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจไมซ์ที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านการจัดงานภายใต้นโยบายอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 พร้อมพัฒนา และกระจายองค์ความรู้

อีกทั้งสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ ให้กับทุกภูมิภาคทั่วประเทศผ่านการส่งเสริมการตลาด การพัฒนาเมืองไมซ์ซิตี้ รวมถึงบุคลากรและสถานที่จัดงาน ภายใต้บันทึกข้อตกลงฯ ดังกล่าว ทีเส็บ และ เอ็นไอเอ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน ในการส่งเสริมนวัตกรรม ผ่านธุรกิจไมซ์ โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงานเบื้องต้นภายใน 5 ปี

 

ผ่านแคมเปญ “INNOVATION THAILAND” ได้แก่

1) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน และยกระดับประเทศไทยด้วยนวัตกรรมให้เป็นผู้นำไมซ์ในเวทีโลก (Innovation Promotion) ผ่านเวทีส่งเสริมการตลาดไมซ์ประเทศไทย เช่น งานเทรดโชว์ และโรดโชว์ไมซ์ในและต่างประเทศ

2) เพื่อยกระดับพื้นที่ที่มีศักยภาพ ผ่านการใช้นวัตกรรม (Innovation District) โดยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมผ่านแนวทางการพัฒนา “ไมซ์ซิตี้” (MICE City) ก่อให้เกิดการกระจายความเจริญและรายได้สู่ท้องถิ่น โดยใช้อุตสาหกรรมไมซ์ ช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการ สร้างบรรยากาศ ของย่านเศรษฐกิจและการบริการ และเชื่อมโยงความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ ให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืนบนฐานนวัตกรรม

3) เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางนวัตกรรม (Innovation Capability) ให้แก่บุคลากรทุกระดับในอุตสาหกรรมไมซ์ ผ่านหลักสูตร “MICE Academy” ทำให้สามารถนำนวัตกรรม มาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศได้ต่อไป

NIA

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี ซึ่งคาดว่าจะเป็น 5 ปีที่เกิดประโยชน์ต่อ อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ และการพัฒนาบุคลากร ที่จะเป็นกำลังสำคัญของการใช้นวัตกรรมได้ต่อไปอย่างยั่งยืน

สำหรับโครงการหรือกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา ของฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ ได้แก่ การประกวด SMART MICE Innovation Awards: co-creation camp ที่ Knowledge Exchange Center, กิจกรรม Service Design Workshop ร่วมกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาการใช้นวัตกรรมในธุรกิจไมซ์, โครงการ SMART MICE Innovation Award ส่วนแผนงานในอนาคต

อาทิ การจัดทำ MICE Intelligence Website ในเว็บไซต์ของทีเส็บ, การพัฒนา Smart Biz แอพพลิเคชั่นเฟส 2 และการจัดประกวดไอเดียสตาร์ทอัพระดับ Pro-league@ITW ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

งานแรกในความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น คือ การจัดเวที “Triple B: Digitalization in Bleisure Business Boom” ส่งเสริมธุรกิจไมซ์ด้วยนวัตกรรม ภายในงาน Startup Thailand 2018 ซึ่งเป็นครั้งแรกของการ จับมืออุตสาหกรรมไมซ์ กับเครือข่ายสตาร์ทอัพระดับประเทศ

เพื่อร่วมกันค้นหาไอเดียใหม่ๆ ต่อยอดการสร้างประสบการณ์แก่นักเดินทางไมซ์ที่เน้นเพิ่ม Digital Service Design และ Innovation เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเป็น Smart MICE ที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคดิจิทัล

โดยเวทีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ เวลา 15.00-18.00 น. ณ เวที Bouncy ฮอลล์ A ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ www.Startupthailand.org

สำหรับผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th/socialinnovation หรือ facebook.com/niathailan

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่