ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั้งขนาดต่างๆ มีการใช้ประโยชน์จาก คลาวด์ (Cloud) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจในองค์รวม ทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณในการลงทุนได้ในระยะยาว
ส่งเสริมธุรกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยพลัง “Cloud”
โดยจากจากการสำรวจของ IDC Asia Pacific ปี 2016 พบว่า ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก มีแนวโน้มที่จะใช้ประโยชน์จากคลาวด์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มธุรกิจที่ใช้ประโยชน์จากคลาวด์มากที่สุดคือกลุ่มงานขาย
เช่น อีคอมเมิร์ซ และรองลงมาคือกลุ่มงานด้านการตลาดรวมถึงงานด้าน Customer Relationship Management (CRM) และ Customer Experience Management (CEM) โดยมีการใช้งานคลาวด์ทั้งแบบ Private Cloud และ Public Cloud
โดยมีการคาดการว่าภายในปี 2018 ค่าใช้จ่ายงบประมาณทาง IT ขององค์กร 40% จะเป็นการใช้งานคลาวด์และจะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2020 ส่วนในประเทศไทยนั้น จะมีการเพิ่มการใช้งานคลาวด์ขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับทั่วโลก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานที่เป็น Private Cloud และเหตุผลหลักที่องค์กรเลือกใช้งานคลาวด์คือต้องการระบบที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยสูง
องค์กรธุรกิจจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่น
มาซาโตชิ ซิโบอิ รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์และบริการ และศูนย์ข้อมูล บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยเองการใช้งานคลาวด์นั้น นอกจากจะช่วยองค์กรในการใช้ทรัพยากรและงบประมาณด้าน IT ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว
ยังส่งผลในการช่วยการเติบโตของเศรษฐกิจในองค์รวม เนื่องจากในทางอ้อมแล้วนั้นเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและประหยัดงบประมาณในการลงทุน เพราะคลาวด์เป็นแบบพร้อมใช้งาน (Ready to use)
เนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์เตรียมความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานไว้ให้องค์กรอยู่ล้ว และระบบคลาวด์นั้นยังสามารถรองรับการขยายตัวขององค์กรและการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กลับหลากหลายเทคโนโลยี เช่น IoT, Big Data, DevOps, AI หรือ Machine Learning ได้อีกด้วย
ซึ่งการลงทุนในคลาวด์เป็นการช่วยการบริหารองค์กรในไทยที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีเสมือนหรือ Virtualization เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน IT ขององค์กรที่มีอยู่ให้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการบำรุงรักษาระบบไปพร้อมๆ กัน
รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีทางเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพนักงาน เช่น เทคโนโลยีเพื่อรองรับการประชุมทางไกล (Conferencing) ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยปรับปรุงระบบไอทีโดยรวมขององค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวลงได้เช่นเดียวกัน
กลยุทธ์หนึ่งในการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายด้านทุน (Capital Expenditure-CAPEX) ให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenditure-OPEX) แทน คือการใช้บริการทางด้านเอาท์ซอร์ส ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในการลดค่าใช้จ่าย เก็บรักษาเงินสด และรักษาสภาพคล่องขององค์กรให้ได้มากที่สุด
ขณะเดียวกันก็ทำให้บริษัทหลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว เมื่อแต่ละองค์กรเล็งเห็นถึงแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน การรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
จะส่งผลให้เศรษฐกิจในองค์รวมสามารถเติบโตไปได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ประเทศไทยยังเป็นผู้ที่นำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ยังไม่แพร่หลายมากและอยู่ในวงจำกัด ถ้าให้มองคลาวด์ก็เปรียบเหมือนกับ Internet
ซึ่งยิ่งหากมีการใช้งานอย่างกว้างขวางและสามารถที่จะทำงานร่วมกัน (Inter-workable) เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยเร่งให้เกิด Ecosystem ระหว่างพวก Startup นักประดิษฐ์ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทำให้เกิดประสบการณ์และนวัตกรรมใหม่ๆ
ซึ่งหากมองประโยชน์จากเทคโนโลยีคลาวด์นอกจากจะสามารถสนับสนุนการบริหารด้านการลงทุนและประสิทธิภาพขององค์กรแล้ว ยังช่วยให้ผู้ให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดการและส่งมอบบริการคลาวด์ให้กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ ด้วยระบบการให้บริการร่วม (Service Orchestration)
ที่มีการทำงานรวมกัน (Integrated Service) ของทั้งระบบ Server, Storage, Network และ Application ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบ Monitor และจัดสรรทรัพยากรของระบบคลาวด์ ทำให้องค์กรและผู้ใช้บริการขององค์กรสามารถใช้งานผ่าน User Interface ได้แบบ Real Time
ซึ่งทำให้บริหารจัดการได้ง่าย ลดการผิดพลาด และตอบสนองได้รวดเร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการลงทุนเพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูง และระบบต้องรองรับการขยายตัวได้ในอนาคต หากองค์กรมีการประมาณการขนาดของการจัดเก็บข้อมูลที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน
จะทำให้ระบบที่ลงทุนไปนั้นไม่สามารถรองรับความต้องการ และไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรหลายแห่งในปัจจุบันจึงเริ่มเล็งเห็นประโยชน์และความจำเป็นของการจัดเก็บข้อมูลลงในระบบคลาวด์ และในอนาคตจะยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานแบบยืดหยุ่น คือสามารถเพิ่มหรือลดขนาดของระบบที่ใช้จัดเก็บข้อมูล
ได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างระบบ ซึ่งองค์กรต้องรับความเสี่ยงในเรื่องของการประมาณการขนาดการจัดเก็บข้อมูลดังที่กล่าวไป ทั้งนี้ระบบคลาวด์ยังสนับสนุนระบบที่ต้องการเสถียรภาพ และความปลอดภัยสูงที่สามารถรับประกันบริการ (SLA) ได้อีกด้วย
ซึ่งองค์กรธุรกิจในวันนี้สามารถสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ จากการลงทุนใช้คลาวด์ได้จากบริการของคลาวด์ทั้งในรูปแบบ เช่น การใช้งาน Email จาก Public Provider อย่าง Google หรือการใช้ ระบบ ERP หรือ CRM จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคไม่ต้องลงทุนสร้างระบบเองนั้นก็เป็นการใช้งานคลาวด์แบบที่เป็น SaaS รูปแบบหนึ่ง
การใช้งาน เว็บโฮสติ้ง, คลาวด์ ดาตาเบส ก็เป็น PaaS รูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้และเข้าถึงบริการได้จากหลากหลายผู้ให้บริการ
บริษัท เอ็นทีที คอมมูนิวเคชั่นส์ ประเทศไทย เองก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ทั้ง ไพรเวต คลาวด์ และพับลิค คลาวด์ และยังเป็นผู้นำด้านการบริการและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ระดับโลก ที่ให้บริการด้านเครือข่ายทั่วโลกครอบคลุม 196 ประเทศ และมีสำนักงานตามเมืองในประเทศต่างๆ
มากกว่า 120 สาขา ที่พร้อมให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ICT ของพื้นที่นั้นอย่างลึกซึ้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม เอ็นเตอร์ไพรซ์ คลาวด์ ซึ่งให้บริการในประเทศไทยมาแล้วกว่า 7 ปี โดยมีลูกค้ากลุ่มองค์กรมากมายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่