ส.อ.ท. ผนึก วว. และ สมาคมไทยไอโอที ร่วมพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) ในเครื่องกลการเกษตร หวังช่วยพัฒนาการเกษตรไทยเดินหน้าสู่ยุค 4.0…

highlight

  • ส.อ.ท. ผนึก วว. และ สมาคมไทยไอโอที ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนา และสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อเร่งบูรณาการให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย ผ่านการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูล” ได้

3 หน่วยงานสานความร่วมมือพัฒนา “เอไอ” ในเครื่องจักรกลเกษตร

สภาอุตสาหกรรมประเทศไทย ผนึก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ Thai IoT ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการพัฒนา และสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในเครื่องกลจักรการเกษตร หวังช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกษตรทั้งระบบ

ด้วยการใช้เครื่องมือทางเกษตรที่มีความฉลาด ช่วยลดการลงทุน การใช้แรงงาน แต่สร้างประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ในยุคที่อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร มีแนวโน้มในการส่งออกเพิ่มขึ้น และสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนวันนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งการพัฒนา

และออกแบบ รวมไปถึงกำหนดมาตรฐาน และคุณภาพการให้บริการหลังการขาย ให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่เป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าจักรกลการเกษตรระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับโลก และยังเป้นการสนองต่อนโนบายในการขับเคลื่อนของภาครัฐ ที่ต้องการสร้างการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย

เอไอ

ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะที่เรามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์กรความรู้สู่สาธารณะทั้งในเชิงพาณิชย์ และสังคม รวมถึงความร่วมมือเชิงวิชาการ ร่วมภาครัฐ และภาคเอกชน แบบบรูณาการ

และนำไปใช้แก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐฏิจ และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการที่ทาง วว. ยินดีที่จะเข้าร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนานวัตกรมอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยความร่วมมือในครั้งนี้ยังจะเป็นการใช้ประโยชน์

จากสิ่งที่ วว. มี ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์ และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ รวมไปถึงยังเป็นการสานต่อความตั้งใจในการสร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ของเราด้วย และเชื่อว่าจะเป้นความร่วมมือที่สำคัญในการช่วยผลักดัน และสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรไทยให้ก้าวสู่ยุค Industy 4.0 อีกด้วย

ด้าน สุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศของอุตสาหกรรมการเกษตร ดังนั้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรให้ก้าวสู่ยุคของการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (industry 4.0) ผ่านงานวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์

ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอันทันสมัย ถือเป็นที่ควรทำ และส่งเสริม แม้ว่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรไทย จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคเกษตรทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้แรงงาน ลดต้นทุน

แต่ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว และผู้ผลิตในต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทำให้ สภาอุตสาหกรรมฯ จึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ และเอกชน ร่วมถึงหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่ผสมผสานนวัตกรรมใหม่ ๆ

ให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และเหมาะสมกับพืชชนิดต่าง ๆ ซึ่งการสานความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ในครั้งนี้จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถสร้างความแตกต่าง และรองรับการขยายตลาดของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรไทย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ต่อไป

อุตสาหกรรมการเกษตร คือ อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย หากเราต้องการแข่งขัน เราไม่สามารถหยุดที่พัฒนาได้ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ผสานเทคโนโลยี และเครื่องจักร ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ขณะที่ กำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคม ไทยไอโอที (ThaiIoT) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป้นจังหวะที่ดี เนื่องจากนวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรไทยในวันนี้พัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเกษตรกรยุคใหม่มีความรู้ และความเข้าใจในการเกษตรสมัยใหม่มากขึ้น

และให้ความสำคัญต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาเติมเต็มกระบวนการผลิตภาคเกษตรกรรมให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ซึ่งทางสมาคมไทยไอโอที เห็นทั้งปัญหา และโอกาส เพราะหากเราไม่พัฒนา เราก็จะไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ แต่หากพัฒนาก็จะช่วยให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ

และสร้างสิ่งที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำ(Precision Agriculture) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) เข้ามาวิเคราะห์ และจัดการพื้นที่เพาะปลูกแบบละเอียด ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีความฉลาด เรียนรู้ได้ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขัน ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาให้เกิดการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่สามารถใช้งานได้จริง ไม่ได้เพื่อศึกษา และจบลงเพียงแค่งานวิจัยเพียงเท่านั้น และยังจะเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันให้เกษตรกรไทยอีกด้วย

เอไอ

 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่