Digital Transformation

การวางแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน และการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรภายในองค์กร ปัจจัยสำคัญในการการเปลี่ยนองค์กรสู่ยุค Digital Transformation…

highlight

  • มีเพียง 11% ขององค์กรธุรกิจที่พึงพอใจอย่างมากต่อการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล แม้ว่า 3 ใน 4 ขององค์กรเหล่านั้นยังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านองค์กร
  • 71% ขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินการเปลี่ยนผ่านในระยะเริ่มต้น เชื่อว่าการปรับโครงสร้างของธุรกิจและการปรับวิธีการดำเนินการเป็นพื้นฐานแรกของการทำ ดิจิทัลทรานส์ ฟอร์เมชั่น
  • 49% ของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า ทีมผู้นำขององค์กรมีทักษะที่เหมาะสมในการจัดการและดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล 
  • มีเพียง 12% ที่มีความพึงพอใจอย่างมาก และเห็นว่าการวางแผนต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือภายในองค์กรปัจจัยความสำเร็จยุค Digital Transformation

การสร้างความร่วมมือ และทำงานร่วมกันระหว่างทีมไอที และการขยายธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในแผนกลยุทธ์ของการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล เป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของการทำ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

โดยจากรายงาน Digital Means Business Report 2019 จัดทำโดย เอ็นทีที พบว่ามีเพียง 11% ขององค์กรธุรกิจที่พึงพอใจอย่างมากต่อการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล แม้ว่า 3 ใน 4 ขององค์กรเหล่านั้นยังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านองค์กร

วันนี้แม้ว่าองค์กรธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล แต่องค์กรเหล่านั้นก็ยังมองว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และหากองค์กรไม่สามารถสร้างภาวะผู้นำในการเปลี่ยนผ่านที่เข้มแข็งได้ และไม่ให้ความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนบุคคลากรภายใน

Digital Transformation

อาจทำให้แผนการดำเนินงานในการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลไม่ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งในการสำรวจ พบว่า 71% ขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินการเปลี่ยนผ่านในระยะเริ่มต้น เชื่อว่าการปรับโครงสร้างของธุรกิจ และการปรับวิธีการดำเนินการเป็นพื้นฐานแรกของการทำ ดิจิทัลทรานส์ ฟอร์เมชั่น

ขณะที่ 49% ของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า ทีมผู้นำขององค์กรมีทักษะที่เหมาะสมในการจัดการ และดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล อย่างไรก็ตาม การขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของการทำ ดิจิทัลทรานส์ ฟอร์เมชั่น

ปัจจัยดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ผู้นำองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งกำหนดลำดับความสำคัญของพฤติกรรม และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานรูปแบบใหม่ เพื่อผลักดันแนวทาง และวิธีการการเปลี่ยนผ่านองค์กรในเชิงรุกและกลยุทธ์ให้มากขึ้น

ดังนั้นองค์กรสามารถตระหนักถึงคุณค่าที่ขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งยังมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการเติบโตทางดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบขององค์กร อย่างไรก็ตาม การขาดความร่วมมือในทิศทางเดียวกันระหว่างทีมไอที และการขยายธุรกิจขององค์กร จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งความก้าวหน้าขององค์กรต่อการเปลี่ยนสู่ดิจิทัล

Digital Transformation

โดย 29% ขององค์กรธุรกิจ ดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลโดยสร้างความร่วมมือระหว่างทีมไอที และหน่วยงานธุรกิจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ 42% ของผู้ถูกสำรวจเชื่อว่า ทีมบริหารธุรกิจ และทีมไอทีมีแนวทางการบูรณาการระหว่างกันมากขึ้น

โดยได้รับการสนับสนุนผ่าน Chief Digital Officer หรือ CIO อย่างไรก็ตาม มีเพียง 12% ที่มีความพึงพอใจอย่างมาก และเห็นว่าการวางแผนต่างๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประมาณ 49% ของการทำ ดิจิทัลทรานส์ ฟอร์เมชั่น ในองค์กรยังคงดำเนินงานโดยทีมไอทีเป็นหลัก

Digital Transformation

องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อเป็นฐานในการต่อยอดการทำธุรกิจ

Wayne Speechly, VP of Advanced Competencies บริษัท เอ็นทีที กล่าวว่า องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องหาวิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อเป็นฐานในการต่อยอดการทำธุรกิจต่อไปในอนาคต การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยสร้างโอกาสในเชิงคุณค่าทางธุรกิจให้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง

จากการที่องค์กรเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ดังนัั้น องค์กรต่าง ๆ ควรลดความสำคัญต่อการทำแผนดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบให้น้อยลง โดยมุ่งเน้นไปที่ขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัลให้รอบคอบ และถี่ถ้วนมากขึ้น

เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า และมีการดำเนินการที่ชัดเจนเพื่อเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำที่จริงจัง และมีความตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

Digital Transformation

  • รายงาน Digital Means Business Report 2019 จัดทำขึ้นโดยการสำรวจความคิดเห็นจาก 1,150 ผู้บริหารชั้นนำใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม จาก 15 ประเทศในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่