Global Digital Reform

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลวิจัย ผู้นำทางธุรกิจชี้ความล่าช้าที่สำคัญในการปฏิรูปทางดิจิทัลทั่วโลก (Global Digital Reform)โดยตลาดเกิดใหม่เป็นตลาดที่เติบโตแบบดิจิทัลมากที่สุดโดยอิงจากดัชนีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลล่าสุดกับผู้นำธุรกิจ 4,600 รายจาก 40 ประเทศ

ความล่าช้าที่สำคัญของการก้าวสู่รับบดิจิทัล Global Digital Reform

แม้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง แต่ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell Technologies Digital Transformation (DT) Index) ครั้งล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าแผนงานด้านการปฏิรูปทางดิจิทัลของธุรกิจจำนวนมากยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น

นี่คือหลักฐานที่ 78% ของผู้นำธุรกิจยออมรับว่าการปฏิรูปทางดิจิทัลควรเป็นการดำเนินการในวงกว้างให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร (ประเทศไทย 90%) ทั้งนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจ (51%) เชื่อว่าพวกเขาจะต้องดิ้นรนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

ที่เปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลา 5 ปี (ประเทศไทย 71%) และเกือบหนึ่งในสาม (30%) ยังคงมีความกังวลว่าองค์กรของตนเองจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง (ประเทศไทย 33%)

ซึ่งจากผลวิจัยล่าสุดที่ทาง เดลล์ เทคโนโลยีส์ ร่วมมือกับอินเทล และแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ในการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจจำนวน 4,600 คน ในระดับผู้อำนวยการขึ้นไปจนถึงผู้บริหารในระดับประธานเจ้าหน้าที่ (C-suite) 

จากบริษัทธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่ทั่วโลกเพื่อประเมินความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรของพวกเขา ชี้ว่า ตลาดเกิดใหม่คือตลาดที่มีความพร้อมและการเติบโตทางดิจิทัลมากที่สุด โดยมีอินเดีย บราซิล และประเทศไทยอยู่ในรายชื่อของการจัดอันดับในระดับโลก

ในทางตรงกันข้าม ตลาดที่พัฒนาแล้วกลับเลื่อนไหลลงไปอยู่ข้างหลัง อาทิ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และฝรั่งเศส  ที่มีคะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลในระดับต่ำสุด ที่ยิ่งกว่านั้น ตลาดเกิดใหม่ยังมีความมั่นใจมากกว่าในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถ “เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างสิ้นเชิงมากกว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลง” (53% เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ระดับ 40% ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว)

ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกองค์กรธุรกิจต่างจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นองค์กรดิจิทัล แต่งานวิจัยของเราชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในการเดินทางอีกยาวไกล

เบื้องหลังเส้นกราฟ

Global Digital Reform

ไมเคิล เดลล์ ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า งานวิจัย DT Index II  สร้างขึ้นต่อยอดจาก DT Index ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2559 การเปรียบเทียบผลการวิจัยสองปีเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความคืบหน้าที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า

พร้อมด้วยการดิ้นรนขององค์กรธุรกิจในการที่ต้องตามก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงให้ทัน ในขณะที่เปอร์เซนต์ของจำนวนของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) เพิ่มจำนวนมากขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้าในระดับบน เกือบ 4 ใน 10 (39%) ของธุรกิจยังคงกระจายตัวอยู่ใน 2 กลุ่มของผู้ที่มีความพร้อมทางดิจิทัลน้อยที่สุด

Global Digital Reform

 

ตามการจัดมาตรฐาน (ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล หรือ Digital Laggards และผู้ตามในเรื่องดิจิทัล หรือ Digital Followers)

องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับเทคโนโลยีที่พวกเขาใช้งานให้ทันสมัย เพื่อมีส่วนร่วมในโอกาสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอย่างการปฏิรูปทางดิจิทัล ถ้าจะลงมือก็ต้องเป็นในตอนนี้เลย

อุปสรรคในการปฏิรูป และความมั่นใจ

Global Digital Reform

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจต่างกำลังอยู่ในสภาวะของวิกฤตความเชื่อมั่น โดย 91% ถูกเหนี่ยวรั้งไว้ด้วยอุปสรรคเรื้อรังที่มีมายาวนานขณะที่ 49% เชื่อว่าองค์กรของพวกเขาต้องต่อสู้เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือภายในอีกห้าปีข้างหน้า

และเกือบ 1 ใน 3 (32%) ไม่เชื่อว่าองค์กรของตัวเองที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ได้ (อาทิ กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป หรือ EU General Data Protection Regulation) หนึ่งในสามไม่เชื่อถือว่าองค์กรของตนจะปกป้องข้อมูลของพนักงานหรือลูกค้า

ห้าอันดับอุปสรรคสูงสุดที่มีต่อความสำเร็จของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

Global Digital Reform

  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (อันดับ 1 ในประเทศไทย)
  • การขาดงบประมาณและทรัพยากร
  • การขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมภายในองค์กร (อันดับ ในประเทศไทย)
  • การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมาย (จากอันดับ ในปี 2559)
  • ความไม่สมบูรณ์ของวัฒนธรรมดิจิทัล

แผนงานต่างๆ เพื่ออนาคตดิจิทัลที่เป็นจริง

Global Digital Reform

นำต่างรายงานถึงการจัดลำดับความสำคัญที่คล้ายคลึงกันและการลงทุนเพื่อช่วยการปฏิรูปในอนาคต รวมไปถึงการใหความสำคัญเพิ่มขึ้นในเรื่องของคนทำงาน (workforce) การรักษาความปลอดภัย (security) และระบบไอที

ทั้งนี้ 46% กำลังพัฒนาทักษะและความสามารถด้านดิจิทัลภายในองค์กร (in-house) อาทิ ด้วยการสอนพนักงานทุกคนสามารถเขียนโค้ดได้ ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2559 ถึง 27% (ประเทศไทย: 65%) การเดินทางขององค์กรธุรกิจจะเป็นอย่างไรในอนาคตจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนที่พวกเขาเลือกที่จะเริ่มต้นในวันนี้

Global Digital Reform

ยกตัวอย่าง Draper ซึ่งเป็นลูกค้าของเดลล์ เทคโนโลยีส์ จากที่เคยมุ่งเน้นไปที่แผนกการวิจัยด้านการป้องกัน ปัจจุบันได้เริ่มต้นที่จะมุ่งไปสู่ภาคส่วนที่เป็นเชิงพานิชย์มากขึ้น อาทิ วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (biomedical science)

อันดับสูงสุดของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในอีก 1-3 ปีข้างหน้า

Global Digital Reform

  • การรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity)
  • เทคโนโลยี Internet of Things
  • สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์
  • ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence
  • แนวการดำเนินงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง (compute centric)

เทคโนโลยีช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาที่ยากที่สุดในโลกนี้ได้ จากโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่สนับสนุนนวัตกรรมของเราไปจนถึงเทคโนโลยีการทดลองที่เราใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรคเป็นต้น

เราไม่สามารถขยายขอบเขตการทำงานแล้วเรียกตัวเราเองว่าเป็นองค์กรด้านการวิจัย และวิศวกรรมได้โดยไม่ปฏิรูปปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันสมัยจากภายในสู่ภายนอก

ประเทศที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล (digitally mature) มากที่สุด
  1. อินเดีย
  2. บราซิล
  3. ไทย
  4. เม็กซิโก
  5. โคลัมเบีย
ประเทศที่มีความพร้อมด้านดิจิทัล (digitally mature) น้อยที่สุด
  1. ญี่ปุ่น
  2. เดนมาร์ค
  3. ฝรั่งเศส
  4. เบลเยี่ยม
  5. สิงคโปร์

Global Digital Reform

ระเบียบวิธีในการวิจัย

ในช่วงซัมเมอร์ของปี 2561 ทาง Vanson Bourne ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยอิสระ ได้ทำการสำรวจผู้นำธุรกิจ 4,600 รายจากองค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ใน 42 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งอนุภูมิภาค (sub-regions) ต่างๆ   เพื่อประเมินลำดับขั้นขององค์กรเหล่านั้นใน  ดัชนีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์  ทั้งนี้ Vanson Bourne ได้จัดประเภทความพยายามทางธุรกิจดิจิทัลของธุรกิจโดยตรวจสอบกลยุทธ์ด้านไอทีของพวกเขาความคิดริเริ่มในการเปลี่ยนพนักงานและการรับรู้ประสิทธิภาพเทียบกับชุดหลักของคุณลักษณะทางธุรกิจดิจิทัล

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่