ปัจจุบันภาคธุรกิจได้ปรับตัวสู่ Digital Transformation โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise) เพื่อไม่ให้ธุรกิจได้รับผลกระทบจากการ Disruption ในขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีการจัดเก็บข้อมูลมหาศาล รวมถึงการประมวลผลในรูปแบบ Digital มากขึ้นเรื่อยๆ
โดยอัตราการใช้งานคลาวด์ ทั่วโลกมีอัตราเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 30% ต่อปี และในประเทศไทยก็มีแนวโน้มเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรมต่างมีความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานคราวด์ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินงานย้ายฐานข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์รูปแบบเดิมมาสู่ระบบคลาวด์, ความต่อเนื่องในการใช้งานของระบบเมื่อย้ายมาสู่ระบบคลาวด์, แอพพลิเคชันระดับองค์กรหรือ ERP (Enterprise Resource Planning) และต้นทุนของทรัพยากรทางด้านไอทีในการบริหารจัดการรวมถึงการบำรุงรักษา เป็นต้น
ความกังวลของภาคธุรกิจในการใช้แอพพลิเคชันสำคัญ (Critical Application) กับการย้ายมาสู่คลาวด์
แต่เดิมธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ ERP เช่น SAP มักให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาข้อมูลไว้ที่ศูนย์ข้อมูลของตนเอง เพราะต้องการบริหารจัดการภายในองค์กร ซึ่งต้องแลกมาด้วยการจัดสรรทรัพยากรบุคคลมาดูแลโดยเฉพาะ รวมถึงการวางแผนเรื่องการจัดซื้อเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล และการเตรียมความพร้อมให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงการขยายระบบเครือข่ายเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจ อย่างไรก็ตามต้องพบกับปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชันเวอร์ชันใหม่ และการโยกย้ายเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ และส่งผลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจได้
เมื่อธุรกิจเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบคลาวด์ ปัญหาหลายอย่างได้รับการแก้ไข แต่ไม่ทั้งหมด เพราะผู้ให้บริการคลาวด์ส่วนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงมักเป็นผู้ให้บริการระดับโลก อาทิ Microsoft Azure, Google Cloud, Amazon Web Service เป็นต้น ซึ่ง
- ไม่มีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย
- ไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมแก้ไขปัญหาประจำในประเทศ
- ที่สำคัญ ไม่ให้บริการการบริหารจัดการแอพพลิเคชัน ERP ให้ด้วย
ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้งาน ต้องเสียเวลาในการค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และจากที่ใด ซึ่งเป็นอุปสรรคที่จะทำให้แอพพลิคชันทางธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
ในกรณีที่องค์กรเลือกใช้มัลติคลาวด์ที่ใช้บริการคลาวด์จากผู้ให้บริการหลายราย เพื่อกระจายความเสี่ยงจากระบบผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งไม่สามารถทำงานได้ องค์กรยังคงไม่มีระบบบริการจัดการที่ดีพอที่จะช่วยเฝ้าระวังและประสานการทำงานของระบบคลาวด์ผสมผสานนี้ รวมถึงต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์สูง
อัพเกรดสู่ SAP HANA Cloud
ในส่วนของแอพพลิเคชัน SAP ก็มีการพัฒนาแอพพลิเคชันให้ทันสมัยและรองรับเทคโนโลยีใหม่อยู่เสมอ โดย SAP มีแผนงานที่จะอัพเกรดระบบที่ให้บริการทั้งหมดไปสู่ SAP S/4 HANA ในปี 2025 ซึ่งองค์กรธุรกิจควรวางแผนการอัพเกรดล่วงหน้าก่อน 4-5 ปี เพื่อจัดเตรียมงบประมาณ แผนการดำเนินการงานให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปด้วยความราบรื่น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบริการที่องค์กรเลือกใช้อยู่ เพราะการอัพเกรด SAP ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรด้านความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการเงินและธนาคารที่ต้องการระบบที่มีเสถียรภาพ โอกาสในการดาวน์ของระบบน้อยที่สุด และต้องอัพเกรดในเวลาที่น้อยที่สุด ถ้าเกิดเหตุขัดข้องก็สามารถกลับคืนสู่ระบบเดิมได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางอุตสาหกรรมออาจจะใช้เวลาได้มากขึ้นเพราะต้องการความสมบูรณ์ของระบบที่อัพเกรดมากกว่า
ดังนั้นการเลือกผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์ในการอัพเกรดระบบ SAP ที่เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรม และมีบริการแบบครบวงจร จะทำให้องค์กรสามารถย้ายระบบ (migrate) สู่ระบบ SAP HANA ได้ด้วยความมั่นใจ และลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
ความพร้อมของ NTT global cloud service
NTT คือ ผู้ให้บริการเทคโนโลยีและโซลูชั่นชั้นนำระดับโลก ได้เล็งเห็นความยุ่งยากและความซับซ้อนที่ภาคธุรกิจจะต้องเผชิญ NTT จึงได้พัฒนา NTT global cloud ในประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพอย่างครบวงจร มีความปลอดภัยระดับสูง ตามมาตรฐานการรับรองระดับสากล โดยมีบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือที่จะช่วยเคลื่อนย้ายระบบแอพพลิเคชันสำหรับองค์กร รวมถึง SAP HANA ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Framework ที่สำคัญของ NTT
- ด้านบุคลากร
NTT มีทีมวิศวกรที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญที่จะช่วยการอัพเกรดระบบแอพพลิเคชัน ERP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจเฉพาะเจาะจงในแต่ละอุตสาหกรรม จึงเข้าใจถึงปัจจัยความสำเร็จของการย้ายระบบ (migrate) แอพพลิเคชันเป็นอย่างดี และด้วยบริการแบบครบวงจร จึงลดความกังวลของธุรกิจในการเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน
- ด้านกระบวนการ
NTT ให้ความสำคัญกับมาตรฐานต่างๆ ในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็น ISO:27001, PCI-DSS, CSA-STAR เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานของแอพพลิเคชัน ERP สามารถสนับสนุนการทำงานของธุรกิจได้อย่างดี ด้วยระดับการบริการ SLA ที่สูงถึง 99.999% ที่การันตีการดำเนินงานให้มีสเถียรภาพ เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
- ด้านเครื่องมือ
ในกรณีที่องค์กรธุรกิจมีความต้องการระบบแบบมัลติคลาวด์ ทาง NTT ก็สามารถเชื่อมโยงการติดตามการทำงานของทุกผู้ให้บริการไว้ในเครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะในที่เดียว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ดูแลระบบของหน่วยงานเมื่อต้องการติดต่อการใช้งานระบบคลาวด์ทั้งหมด นอกเหนือจากที่ทาง NTT ช่วยดูแลให้อยู่แล้ว
World – Class Managed Service กับ NTT global cloud