CIO

CIO ต้องท้าทาย InnovatIon และ Cost จาก เกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที Chief Technology Officer บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้สัมภาษณ์กับ Theleader.com ถึงแนวทางของ CIO ในยุคปัจจุบัน

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน บทบาทของ CIO (Chief Information Officer) ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในวงของการเลือกซื้อฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสม ใช้ดีใช้ทนดูแลง่ายไม่มีปัญหา และโลกในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันสูงขึ้น ทุกสิ่งในโลกถูกเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบทบาทของ CIO จึงถูกนิยามใหม่ในฐานะผู้นำที่ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลให้กับองค์กร

เกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที Chief Technology Officer บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ให้มุมมองเกี่ยวกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของ CIO ว่า CIO ในปัจจุบันกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายของเทคโนโลยี ความคาดหวังขององค์กร และความรับผิดชอบของนักพัฒนาไอทีต่อประเทศชาติ ซึ่งเป็นภาระที่ค่อนข้างหนักหนาและ
แตกต่างจากบทบาทของ CIO ในอดีต

เทคโนโลยีที่เห็นเป็นสิ่งใหม่ในวันนี้แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการพูดถึงกันมาแล้วมากกว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็น AI, Cloud, Big Data ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีที่เคยอยู่บนงานวิจัยและในแล็บมาก่อนทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่

แต่วันนี้เทคโนโลยีพื้นฐานมีความสมบูรณ์แบบและประมวลผลได้เร็วขึ้น ความจุมากขึ้น เครือข่ายมีประสิทธิภาพดีและเร็ว
ขึ้น สมาร์ตโฟน 4G และกำลังจะไป 5G เทคโนโลยีพื้นฐานที่ดีขึ้น ทำให้องค์กรสามารถสร้างแอพพลิเคชันใหม่ ๆ ได้มากขึ้น ตอบสนองความต้องการขององค์กรและลูกค้าได้มากขึ้น

ความพร้อมของเทคโนโลยีพื้นฐานกลายเป็นความท้าทายใหม่ของผู้บริหารโดยเฉพาะ CIO เมื่อเทคโนโลยีพื้นฐานมีความพร้อมและองค์กรต้องการพัฒนาบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค CIO จึงมีบทบาทในการ Integrate เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อคิดค้นและสร้างนวัตกรรมที่มีผลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร

ซึ่งนวัตกรรมนั้นไม่ได้จำเป็นเฉพาะธุรกิจสื่อสาร แต่จำเป็นกับทุกภาคอุตสาหกรรม CIO ยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้ทันกับความต้องการขององค์กรและของประเทศ” โดยเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การปรับตัวให้ทันกับความต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ความยากอยู่ที่การบริหารจัดการคน เพราะประเทศไทยไม่ได้วางรากฐานของคนไว้แข็งแรงพอ

เมื่อองค์กรต้องการการพัฒนาอย่างรวดเร็วจึงกลับพบว่าเราไม่มีทรัพยากรบุคคลในด้านไอทีเพียงพอ ส่วนนี้ย้อนกลับไปดูประเทศที่มีความพร้อมในปัจจุบันทั้ง อเมริกา จีน และญี่ปุ่นต่างก็มีการวางรากฐานด้านคนมาอย่างยาวนาน เมื่อต้องพัฒนาจึงมีกำลังคนเพียงพอ ปัญหาเรื่องคนจึงเป็นสิ่งที่ CIO ของทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญและเตรียมความพร้อม

CIO ยุคใหม่จะต้องมีความเข้าใจในระบบและเทคโนโลยีจริง ๆ เพื่อจะร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ให้กับองค์กรว่าควรจะพัฒนาเทคโนโลยีไปทางใดควรมีแอพพลิเคชันอะไรบ้างที่จะช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้หากจำเป็นต้องพัฒนาก็ต้องพัฒนาขึ้นมาใช้ในองค์กร ซึ่ง AIS เชื่อว่าองค์กรที่ก้าวสู่นวัตกรรมนั้นต้องสามารถสร้างนวัตกรรมเองได้ หากต้องซื้อเทคโนโลยีจากคนอื่น จะต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องราคาที่แพง และการใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการไม่ได้ทั้งหมด

นอกจากบทบาทของ CIO แล้ว ในยุคดิจิทัลนั้นองค์กรทุกแห่งต่างก็มีความคาดหวังให้ CIO เข้ามามีบทบาทในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรซึ่งภายใต้ความคาดหวังขององค์กรนั้น มี 2 ประการที่ CIO ต้องให้ความ
สำคัญอย่างมาก คือ Innovation และ Cost

Innovation หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ จะเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า CIO ต้องมีบทบาทสำคัญที่จะบอกว่า Innovationอะไรที่องค์กรต้องทำ เช่น โลกของการชอปปิงกำลังก้าวสู่ E-Commerce จะซื้อสินค้าเพียงแค่คลิกสินค้าก็มาส่งถึงบ้านแล้ว ถูกกว่า เร็วกว่าประหยัดเวลากว่า หรือวันนี้เราสามารถใส่ IoT ไปในมิเตอร์นำ เพื่อให้
แจ้งปริมาณการใช้นำได้แบบ Real-time ไม่จำเป็นต้องมีคนเดินจดมิเตอร์อีกต่อไป หรือเทคโนโลยี AR, VR จะนำมาเสริมกับการทำธุรกิจได้อย่างไร

Cost หรือต้นทุนเป็นอีกประการที่มีความสำคัญ นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สามารถซื้อหาได้จากตลาด แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่า Software เป็นสิ่งที่มีราคาสูงมาก และภายใต้ธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างมากในปัจจุบันการมีต้นทุนที่สูงจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น Innovation กับ Cost จึงเกี่ยวพันกันอย่างมีนัยะสำคัญ หากองค์กร
สามารถคิดพัฒนา Innovation ได้เอง จะทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น สามารถเผชิญกับการแข่งขันได้ดีขึ้น

เกรียงศักดิ์ เล่าต่อว่า ในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือนั้น อัตราค่าบริการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากเดิมเคยให้บริการนาทีละ 3 บาทปัจจุบันเหลือนาทีละไม่ถึง 1 บาท หมายถึงรายได้ต่อนาที หรือ ARPU ลดลง

สิ่งที่จะทำให้เรารักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้ คือการสร้างนวัตกรรมของตัวเองขึ้นมา ซึ่ง AIS มีหน่วยงานที่ช่วยพัฒนานวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง นวัตกรรมหลายอย่างเราพัฒนาขึ้นเอง นั่นทำให้เรามีต้นทุนที่ต่ำและนำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับ CIO ทุกท่านคือ CIO ควรให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมให้กับองค์กรผ่านรูปแบบของการพัฒนาขึ้นใช้เองเพราะนอกจากจะเป็นนวัตกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้อีกด้วย

ซอฟต์แวร์บางยี่ห้อขายราคา 10 ล้านบาท แต่สามารถพัฒนาขึ้นได้เองในต้นทุนไม่ถึง 1 ล้านบาท และหากทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นเอง จะเกิดการรวมกลุ่มของนวัตกรรมในประเทศเพื่อใช้ในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับ
ประเทศอย่างมาก เพราะเราคงไม่สามารถใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อเทคโนโลยีมาใช้เองทั้งหมด