SEAC

SEAC สานความร่วมมือ 4 พาทเนอร์ ทั้งใน และนอกประเทศ ได้แก่ Stanford, AIS, AP และKBank ร่วมทำงานวิจัยเชิงลึกนาน 5 ปี หวังช่วยพัฒนาธุรกิจ และสังคม…

highlight

  • ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ผนึกกำลัง เอพี (ไทยแลนด์) เอไอเอส และ ธนาคารกสิกรไทย ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ลุยงานวิจัยเชิงลึกนาน 5 ปี ภายใต้ชื่อ The Stanford Thailand Research Consortium พร้อมค้นหาองค์กรแนวร่วม และศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทย

SEAC สานความร่วมมือ 4 พาทเนอร์ ทำวิจัยหลากหลายเพื่อต่อยอดธุรกิจ และสังคม

ศูนย์พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (เอสอีเอซี) ผนึกกำลัง เอพี (ไทยแลนด์) เอไอเอส และ ธนาคารกสิกรไทย ทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ลุยงานวิจัยเชิงลึกนาน 5 ปี ภายใต้ชื่อ The Stanford Thailand Research Consortium พร้อมเตรียมค้นหาองค์กรแนวร่วม และศึกษาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

SEAC
Mrs. Arinya Talerngsri, Chief Capability Officer & Managing Director of SEAC

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ ศูนย์พัฒนา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (เอสอีเอซี) กล่าวว่า ความร่วมมือกับ 4 องค์กร ชั้นนำในหลากหลายอตสาหกรรมในครั้งนี้เพื่อ ปัจจุบัน สภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกยังส่งผลเชิงลบอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากบทสรุปของ “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” (World Economic Forum: WEF) ประจำปี พ.ศ. 2562 ประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานในอีก 4 ปีข้างหน้า ว่าจะมีจำนวนงานกว่า 75 ล้านตำแหน่งหายไป และจะมีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้น ถึง 113 ล้านตำแหน่ง

ซึ่งนับว่าเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้ทรัพยากรมนุษย์ปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเฉพาะโซนพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกเป็นจำนวนมาก เพราะ “คน” ในตลาดแรงงานส่วนใหญ่ยังคงทำงานในกลุ่มเกษตรกรรม

และถ้าต้องการก้าวให้ทันตามกระแสเศรษฐกิจโลก กลุ่มประเทศเหล่านี้จำเป็นต้องปรับตัวจากธุรกิจเกษตรกรรมไปสู่ธุรกิจบริการหรือนำเทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (Productivity) ให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้คนมากกว่า 28 ล้านคนใน 10 ประเทศสูญเสียตำแหน่งงานเดิมภายใน 10 ปี

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย หลายองค์กรและบริษัทชั้นนำต่างร่วมมือศึกษาและวิจัย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรคนและองค์กร รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจเพื่อแข่งขันบนเวทีโลก

SEAC
Mr. Paul Marca, Associate Vice Provost Strategy, Programs and Development at Stanford University

ด้าน พอล มาร์คา ผู้บริหารระดับสูง Stanford Center for Professional Development (SCPD) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก เราจึงได้เร่งคิดค้นกลวิธีเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าว

และพบว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรต่าง ๆ ในแต่ละประเทศให้สามารถปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลก ยุคดิสรัปชั่นได้อย่างทันท่วงที จากการเฝ้าสังเกตสถานการณ์มาอย่างยาวนาน ทำให้พบว่า ประเทศที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีการทำวิจัยอย่างเจาะลึก

เป็นจำนวนหลายหมื่นวิจัยต่อปี เพื่อวิเคราะห์ถึงต้นตอของปัญหาที่องค์กรกำลังเผชิญ หรือการคิดค้น และเร่งพัฒนาองค์กรสู่ความท้าทายใหม่ (Challenges) ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อมาสร้างเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว

สำหรับประเทศไทยยังมีความเป็นไปได้ในการพัฒนา และยกระดับศักยภาพ รวมไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรไทย ล่าสุดเราได้เข้ามาเริ่มดำเนินการเพื่อศึกษาระบบต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา

SEAC

ซึ่งการที่ เอสอีเอซี รับหนเช้าที่ดูแล โดยทำหน้าที่ผู้แทน และศูนย์กลางในการเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย จะช่วยให้หลาย ๆ องค์กรสามารถช่วยกันพัฒนางานวิจัยต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น โดยการเริ่มต้นจับบมือในครั้งนี้ เราได้รับความร่วมมือจาก บริษัทฯ ชั้นนำ ในหลากหลายอุตสาหกรรม เข้ามาร่วมมือ

ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้งหมดได้ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อที่จะสนับสนุนงานโครงการวิจัย และพัฒนาหลากหลายโครงการ ที่จะครอบคลุม 4 วัตถุประสงค์ ได้แก่

  1. การยกระดับความสามารถของคนไทยให้เท่าทันโลก
  2. การนำเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจไทย
  3. เสริมสร้างมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนไทยให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน
  4. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมเมืองที่คำนึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

อีกทั้งครั้งนี้นังถือเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก และประเทศไทยที่ได้ร่วมมือกับศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญระดับสูงของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดมากกว่า 20 คน จาก 9 สาขาวิชา อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมโยธา และสิ่งแวดล้อม คณะบริหารวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมชีวเวช คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะบริหารธรุกิจ คณะภูมิศาสตร์ พลังงานและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะแพทยศาสตร์ และคณะจิตวิทยา ในการดำเนินการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเจาะลึกอย่างเต็มรูปแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี ผ่านนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ อาทิ

  • มิส โรนี่ย์ ชิโล่ ผู้อำนวยการโครงการอาวุโส Stanford Center for Professional Development มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ศาสตราจารย์ ชัค อีสลีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมการจัดการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  • มิส พาเมล่า แพม เจ ไฮนส์ ศาสตราจารย์ และผู้อำนวยการ Center on Work, Technology, and Organization ภายใต้ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมการจัดการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  • ไมเคิล เลอเพ็ค ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และสิ่งแวดล้อม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

โดยเมื่อสำเร็จโครงการแล้ว จะนำข้อสรุปและผลสำเร็จของงานวิจัยมาต่อยอดในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของประเทศไทย เพื่อนำคุณค่ากลับคืนสู่ประเทศไทยในบริบทใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ฟื้นฟู และผลักดันศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่ององค์ความรู้

และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก้าวข้ามขีดความสามารถครั้งสำคัญขององค์กรไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเต็มภาคภูมิ และพร้อมเข้าสู่การแข่งขันเชิงธุรกิจที่จะนำไปสู่การขยายศักยภาพ และการเติบโตขององค์กรบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลกตอ่ไปในอนาคต

เอไอเอส เอพี กสิกร พร้อมร่วมวงพัฒนางานวิจัยที่ต่อยอดใช้งานจริง

SEAC
Ms.Kantima Lerlertyuttitham, Chief Human Resources Officer at AIS

นางสาวกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า วันนี้ คำว่า Digital Disruption ไม่ใช่เพียงกระแสที่พัดเข้ามาแล้วจากไป แต่เราเชื่อว่าสิ่งที่ท้าทายมากไปกว่าการปรับตัวให้ทันกระแสโลกยุคดิจิตอล

คือการเตรียมพร้อมให้คนไทยมีความเข้าใจ ตื่นตัว และเสริมสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนเกิดเป็นความสามารถใหม่ (New Ability) ที่จะสามารถต่อยอดทำสิ่งใหม่ ๆ โดยมีพื้นฐานจากความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยในวงกว้าง

เอไอเอสในฐานะภาคเอกชน และการเป็นคนดีของสังคมไทย มิได้ละเลยในการเร่งเป็นส่วนสำคัญของการรับมือกับกระแส Disruption ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงคน และสังคมอยู่ตลอดเวลา โดยเราเชื่อมั่นว่าการเติบโตแต่เพียงผู้เดียว มิใช่การเติบโตอย่างแท้จริง และยั่งยืน

พร้อมทั้งเชื่อมั่นในการสร้างสังคมเพื่อเติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งการเข้าร่วมศึกษาวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ SEAC ในครั้งนี้ จึงถือเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยยกระดับองค์ความรู้ของคนไทยได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยยกระดับสังคม และเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป

SEAC
Mr. Anupong Assavabhokhin, CEO of AP (Thailand) Plc.

ด้าน อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับ เอพี ไทยแลนด์ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อน เพื่อยกระดับศักยภาพประเทศไทย ซึ่งการก่อตั้ง The Stanford Thailand Research Consortium”

จะช่วยให้การทำวิจัยระดับโลก มาต่อต่อยอดองค์ความรู้ ความสามารถ และใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีมาช่วยพัฒนาศักยภาพประเทศไทยไทยในหลากหลายมิติ เพื่อยกระดับของคุณภาพของคน ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่โลกธุรกิจกำลังเผชิญอยู่

เชื่อว่าด้วยการสนับัสนุนอันดีจากสมาชิกในปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงองค์ความรู้ที่ประเทศไทยเราจะได้รับจากศาสตราจารย์ และผู้เชี่ยวชาญระดับโลกของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจะช่วยพัฒนาศักยภาพคนไทย ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำประเทศก้าวเดินไปสู่มาตรฐานใหม่ ให้เท่าทันกับบริบทของโลกได้

SEAC
Ms. Kattiya Indaravijaya, President of KBank

ด้าน นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นในการช่วยแก้ไขปัญหา และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยเน้นสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ และประชาสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ โครงการรักษ์ป่าน่าน โดยร่วมขับเคลื่อนโครงการ Nan Sandbox เพื่อปฏิรูป และหาวิธีแก้ปัญหารากฐานของความถดถอยของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหากับจังหวัดอื่นๆ ในอนาคต

สำหรับโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium ครั้งนี้ จะเป็นการทำวิจัยเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาของประเทศไทยให้เป็นที่ตระหนักและเข้าใจมากขึ้น และด้วย DNA ของ Stanford ที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องการพัฒนาผู้นำให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

และถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้าง DNA ให้กับทีมงานและผู้นำในทุกภาคส่วน เพื่อพร้อมผลักดันให้สังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อไป และผลลัพธ์จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งในเรื่องของ “Doing Good” และ “Doing Well”

SEAC

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage