เดปป้า จับมือ ธนาคารโลก สร้างความตระรู้ถึงเทคโนโลยี IoT ที่กำลังเป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญของการเปลี่ยนรูปแบบอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง
การประกาศความร่วมมือระหว่างสองสถาบันมีขึ้นในงานสัมมนาเปิดตัวรายงานล่าสุดของธนาคารโลก ภายใต้ชื่อ “The Internet of Things: the New Government-to-Business Platform” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งจากภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนกว่า 150 คนเข้าร่วมงาน
IoT นั้นมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของ IoT ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลซึ่งจะกระตุ้นผลิตภาพและปรับปรุงชีวิตของประชาชนทุกคน เราจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการพัฒนา IoT ในประเทศไทยผ่านโครงการริเริ่มที่หลากหลาย” ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว
และ IoT ไม่ได้เป็นแค่เพียงเรื่องที่อยู่ในกระแสความสนใจเท่านั้น เราเล็งเห็นว่า IoT เป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นที่สุดในทศวรรษนี้ซึ่งจะช่วยเร่งในเกิดการเปลี่ยนผ่านให้ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยก้าวไปสู่ยุคดิจิทัล
ดังนั้น เราจึงต้องการสร้างการตระหนักรู้ในเรื่องของ IoT แก่ทุกภาคส่วน โดยการสร้างเครือข่ายเวทีสนทนา ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพบปะและอภิปรายถึงโอกาสต่าง ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีนี้ อีกทั้งยังเป็นหนทางให้นำ IoT มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยด้วย” ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าว
โดยธนาคารโลกมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับประเทศไทยเพื่อทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) เกิดประโยชน์กับคนไทยทุกคน” นายชาบีห์ อาลี โมฮิบ ผู้นำกลุ่มงานด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง การเงิน และสถาบัน ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทยกล่าว
อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) มีศักยภาพสูงมาก อย่างไรก็ตามภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจำเป็นต้องมีการทำงานที่เป็นระบบและสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ผมหวังว่าผลการศึกษาจากรายงานนี้จะช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของประเทศไทยในเรื่องนี้
และส่งเสริมความมีส่วนร่วมในการคิดและอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้กำหนดนโยบายและภาคเอกชนต่อไป ในเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของการนำ IoT ไปใช้งานในด้านต่างๆ” นายปราศสานา ลาล ดาส ผู้เขียนหลักของรายงาน กล่าว
IoT คือระบบดิจิทัลที่มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ มีการรับส่งรวบรวมข้อมูลผ่านระบบเซ็นเซอร์ (sensors) และส่งสัญญาณเชื่อมโยงเครือข่าย IoT ถูกนำมาใช้คิดวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ หรือในบางกรณีสามารถปรับการทำงานและการตอบสนองได้ตามปัจจัยแวดล้อม
ผลการศึกษาจากรายงานนี้เรื่องความก้าวหน้าของการดำเนินงานภาครัฐในการนำอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT) พบว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆ ล้วนมีความกระตือรือร้นที่จะนำ IoT มาใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน แม้ว่าจะมีอุปสรรคในระยะนำร่องไปแล้วก็ตาม รูปแบบของธุรกิจที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโครงสร้างพื้นฐานของ IoT นั้นต้องมีการพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต รวมถึงการปรับปรุงนโยบายภาพรวมดังต่อไปนี้
• ปรับปรุงความรู้และความเข้าใจในเรื่อง IoT และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในหน่วยงานภาครัฐอย่างเร่งด่วน
• เปลี่ยน “กระแสความสนใจไปสู่การปฏิบัติจริง” และเตรียม “คู่มือ” ในการดำเนินความริเริ่มนี้ซึ่งมีเรื่อง IoT เป็นองค์ประกอบ
การเผยแพร่ “บทเรียน” จากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่สนใจจะเรียนรู้ประสบการณ์ในเรื่องนี้จากประเทศอื่น ๆ และอะไรที่ทำแล้วสำเร็จและไม่สำเร็จ