IoT

AIS ผนึก KMUTNB ร่วมพัฒนา IoT Smart Meter นวัตกรรมมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะบนโครงข่าย NB-IoT สำเร็จ พร้อมนำไปให้บริการจริงเป็นรายแรกในไทย…

highlight

  • AIS และ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) เผยผลสำเร็จในการสร้าง Smart Meter ที่ทำงานบนเครือข่าย เอ็นบี ไอโอที เป็นผลสำเร็จ โดยสามารถควบคุมผ่านระบบ Cloud และระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวก ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคน เตรียมพัฒนาต่อด้วยการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) เพื่อใช้ในการลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบ Technical ก่อนนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน

AIS IoT Smart Meter บน NB-IoT

อัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กร และบริการระหว่างประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า ในฐานะผู้นำนวัตกรรม ไอโอที ที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้าน Platform และเครือข่าย เอ็นบี ไอโอที, eMTC ซึ่งครอบคลุมแล้วทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรม ไอโอที มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยนำมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ มาผสมผสานเข้ากับอุปกรณ์ ไอโอที ที่ทำงานบนเครือข่าย เอ็นบี ไอโอที เพื่อประยุกต์ใช้งานโครงข่ายดิจิทัลกับ การบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid)

ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนคอยจดมิเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ของอุปกรณ์ ไอโอที มีอายุการใช้งานยาวนาน, อุปกรณ์สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า ไอโอที มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ จะอยู่ในอาคาร รวมถึงสามารถตรวจสอบ

และควบคุมผ่านระบบ Cloud และระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย จึงถือเป็นครั้งแรกของไทยที่นำเอาโครงข่าย เอ็นบี ไอโอที มาเพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคได้สำเร็จโดย ไอโอที มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน

IoT

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ พิรักษ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Smart Grid Technology Research Center บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย เยอรมัน กล่าวว่า เทคโนโลยีสื่อสารเอ็นบี ไอโอที มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล

ของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารสำหรับ Smart Grid เนื่องจากใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น ความถี่คลื่นวิทยุที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย และ สถานีฐานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นต้น

ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาครัฐวิสาหกิจในการลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership) ในระบบ Advanced Metering Infrastructure (AMI) ต่อไป ซึ่งในก้าวต่อไปเป็นเรื่องของการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) เพื่อใช้ในการลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบ Technical 

และ Non-technical Losses อีกทั้งการนำข้อมูลพลังงานที่ได้แบบ real-time ในการซื้อขายไฟฟ้าเสรีผ่านเทคโนโลยี Block Chain อาทิเช่น การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Roof เป็นต้น โดยความร่วมมือกับเอไอเอสในครั้งนี้เป็นการทดลองนำนวัตกรรมเครือข่าย ไอโอที มาเพิ่มประสิทธิภาพ

การใช้งานรับส่งข้อมูลของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ซึ่งประสบสำเร็จด้วยดี และพร้อมจะให้หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้านำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน เชื่อมั่นว่าจะช่วยตอบโจทย์การบริหารจัดการไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้อย่างแน่นอน

IoT

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่