เมื่อโลกก้าวสู่ยุคสมัยใหม่ ที่ทุกทุกสิ่งเชื่อมโยงกันด้วยอินเทอร์เน็ต หรือยุคของ Internet of Things หรือ IoT ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า นาฬิกา รองเท้า เสื้อผ้า รถเข็นสิ่งค้า และรถยนต์ ย่อมเกิดคำถามว่าความปลอดภัยจะมีมากแค่ไหน จะเสี่ยงโดนโจมตีทางไซเบอร์หรือไม่?

highlight

  • ปัจจุบันนี้รูปแบบของบริการ ไอโอที ที่ใช้กับรถยนต์มี 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ การซื้ออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อรถยนต์จากผู้จัดจำหน่าย หรือการเพิ่มฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์เสริมกับอุปกรณ์เดิมที่มากับรถ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นทำให้ประสบการณ์การใช้รถให้ดีมากยิ่งขึ้น ยังไม่ใช่ใช้เพื่อส่งข้อมูลไปที่อื่น

อะไรคือ  Internet of Things?

ก่อนอื่นสำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจว่า Internet of Things หรือ ไอโอที นั้นคืออะไร? ต้องขออธิบายทำความเข้าใจกันก่อน เพื่อที่จะได้ไม่สับสนกันไปใหญ่ ว่าทำไมภาคธุรกิจต่าง ๆ ถึงสนใจ ที่จะนำมาใส่ไว้ในสินค้า และบริการของตนเองกันมากมาย อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง

หรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) แล้วแต่จะสะดวกเรียก กล่าวให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนให้สิ่งของต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ โดยที่มนุษย์เกี่ยวข้องน้อยที่สุด

ซึ่งอปกรณ์ที่สามารถทำให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้นครอบคลุมได้เกือบทุกอย่าง ตั้งแต่ กล้องบันทึกภาพ นาฬิกา หลอดไฟ รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบิน กันเลยทีเดียว โดยการทำงานของ IoT นั้นเป็นในรูปแบบวงจรที่ครอบคลุม (EcoSystem) หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปก็จะเกิดความบกพร่องได้

เพราะข้อมูลที่ Smart Sensor จะทำคือการส่งมอบข้อมูลต่าง ๆ ไปยังระบบ ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่เก็บนั้นไม่เพียงแต่ข้อมูลที่มีโปรแกรมสั่งให้เก็บตามหน้าที่กำหนดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพของอุปกรณ์ด้วย ทำผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเดินทางมาตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยตัวเองเป็นประจำ

แต่สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ที่จะส่งผลทำให้ฝ่ายการตลาดขององค์กร หรือธุรกิจ สามารถนำไปแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ และนำไปพัฒนาปรับปรุง หรือแม้แต่ใช้เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ๆ

ให้สอดรับกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการใช้งาน และนำไปใช้ตัดสินใจในการพัฒนาบริการ ต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่า ไอโอที จะสร้างความคล่องตัวในการบริหารจัดการธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้น

IoT

รถยนต์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อ IoT ปลอดภัยแค่ไหน ?

แต่การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ไอโอที เองนำมาซึ่งปัญหาในด้านความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพราะจากรายงานบริษัทฯ ที่ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีป้องกันภัยทางไซเบอร์ต่าง ๆ ต่างชี้ไปทางเดียวกันว่า อุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ ไอโอที กลายเป็นเป้าหมายที่เหล่าผู้ที่ไม่ประสงค์ดีใช้เป็นช่องทาง

ในการโจรกรรมข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2 -3 เท่า เนื่องจากอุปกรณ์ด้านไอโอทีที่เพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล แต่อุปกรณ์ ไอโอที บางประเภทไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ หรือไม่มีโปรแกรมอัพเดตที่ทันสมัย มากเพียงพอ

และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นเมื่อ อินเทอร์เน็ต นั่นเข้าไปอยู่ในทุกสิ่ง ย่อมสร้างความกังวลให้แก่ผู้ใช้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้นั้นปลอดภัยมากเพียงพอ หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน รถยนต์ ที่เราใช้ในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง เราอาจจะต้องแยกว่ารถยนต์ที่มีความอัจริยะมากขึ้นในปัจจุบัน

หรือที่เราเรียกว่า “สมาร์ทคาร์” ในวันนี้นั้นยังไม่ได้นำเอา ไอโอที เข้าไปมีส่วนในการบังคับควบคุมรถ เหมือนอย่างที่หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจผิดว่า ไอโอที คือ หนึ่งเทคโนโลยีใช้ในรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-Driving Car) ซึ่งในอนาคตอาจไม่แน่ แต่วันนี้เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า

ในตลาดรถยนต์ที่เราเห็นว่าฉลาดมากขึ้นนั้นยังเป็นแบบ รถที่ขับเคลื่อนแบบ “กึ่งอัตโนมัติ” (Semi-Autonomous) หรือกล่าวคือรถที่ขับเคลื่อนเองโดยผู้ขับยังต้องดูแล และรับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยของตัวเองอยู่นะครับ ไม่ได้เป็นรถที่ขับเคลื่อนเอง (Autonomous) อย่าง Tesla ที่พูดกันโครม ๆ

จนเกิดเป็นความเข้าใจผิดว่ารถของTesla นั้นจะถูกสร้างให้ขับเคลื่อนได้เอง โดยที่ผู้ขับไม่ต้องทำอะไรแค่นั่งเฉย ๆ แล้วปล่อยให้รถพาไปส่งยังจุดหมายปลายทาง เพราะในความเป็นจริงรถที่ว่าอัจริยะที่ Tesla พูดถึงนั้น ปัจจุบัน ผู้ขับขี่ก็ยังคงต้องจะต้องจับพวงมาลัยตลอดเวลาอยู่เพื่อตัดสินใจได้ในกรณีฉุกเฉิน

เพราะยังไม่มีเมืองไหนในโลกนี้ที่มีการใช้เทคโนโลยีการ รับ-ส่ง ข้อมูล ที่มีความหน่วงต่ำได้ (Low latency) อธิบายคือ ข้อมูลที่รถจะถูกส่งจากรถยนต์ไปยังศูนย์ข้อมูลจะต้องสามารถส่งกลับมาในทันที่ เหมือนปาลูกบอลยางใส่กำแพงแล้วเด้งกลับมาทันที ในอัตราที่เร็วเท่าเดิมด้วย

ไม่งั้นไม่สามารถทำให้รถยนต์ที่อาจมีสมองกลฝังไว้ประมวลผลแล้วออกคำสั่งให้รถ เร่ง ผ่อน เลี้ยว หรือเบรก ได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผู้ใช้รถยนต์ในวันนี้ที่ต้องการใช้ สมาร์ทคาร์ ยังไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด ว่าการนำเอาเทคโนโลยี ไอโอที มาใช้กับรถยนต์นั้นจะไม่ปลอดภัย

IoT

ปัจจุบันนี้รูปแบบของบริการ ไอโอที ที่ใช้กับรถยนต์มี 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ การซื้ออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อรถยนต์จากผู้จัดจำหน่าย หรือการเพิ่มฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์เสริมกับอุปกรณ์เดิมที่มากับรถนั้น ๆ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นทำให้ประสบการณ์การใช้รถให้ดีมากยิ่งขึ้น ยังไม่ใช่ใช้เพื่อส่งข้อมูลไปที่อื่น

โดยมากแล้วการใช้ ไอโอที ในรถยนต์ ในปัจจุบัน มักจะเป็นการใช้เพื่อทำให้เจ้าของตัดสินใจได้ดีขึ้นในการขับขี่ในท้องถนน เช่น การบอกถึงระยะความเร็ว ระยะห่างของรถ ระยะการบำรุงรักษาอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ของรถ เพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่ดีมากที่สุด หรือแม้แต่ใช้เพื่อแนะนำเส้นทาง หรือร้านอาหาร เท่านั้น

ซึ่งจากงานวิจัย repeatedly shown ที่ทางนักวิจัยของ Kaspersky ได้ทำการค้นหาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอุปกรณ์ ไอโอที ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้ผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะในอุตสาหกรรมยานยนต์ พบว่า “ไม่มีช่องโหว่ที่ใช้ประโยชน์ได้”

อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหาด้านความปลอดภัย ไม่แง่มุมที่น่าสนใจ อาทิ มีช่องโหว่ที่เปิดสามารถในการเข้าถึงข้อมูลการขับผ่านทางการสแกน หรือการควบคุมสัญญาณจากระบบการตรวจสอบยาง และความสามารถในการเปิดประตูรถด้วยการตั้งระบบเตือน เป็นต้น

วิคเตอร์ เชบีเชฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย Kaspersky กล่าวว่า แต่ปัญหาช่องโหวดังกล่าวทั้งหมดนี้ล้วนนำไปใช้งานในทางอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ยาก เพราะอุปกรณ์ที่เราได้ตรวจสอบมีนโยบายด้านความปลอดภัยที่น่าพึงพอใจ

ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหา เล็ก ๆ น้อย ๆ ในฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำกัด และไม่มีช่องทางที่อันตรายที่สามารถทำให้เกิดการโจมตีได้ เนื่องจากเพราะผู้ผลิตให้ความระมัดระวังในการผลิต ซึ่งในภาพรวมถือเป็นสัญญาณที่ดีในอุตสาหกรรมยานยนต์

แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังวางใจไม่ได้ เเนื่องจากอุปกรณ์หากยิ่งมีความอัจฉริยะมากขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดปัญหาด้านความปลอดภัยสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นควรจะพิจารณาด้านความปลอดภัยเป็นอันดับต้น ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการผลิตอุปกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอุปกรณ์รุ่นใหม่ในตลาด

IoT

ผู้ประกอบการเริ่มผสานร่วม IoT และ AI ไว้ในรถยนต์

ในด้านของเทคโนโลยี ไอโอที ในรถยนต์นั้นสามารถพัฒนาแบบเฉพาะเจาะจงได้นำไปสู่การเพิ่ม
ความปลอดภัยทางถนน การขนส่งที่มีประสิทธิภาพมาขึ้นได้ อย่างในประเทศไทย ก็เริ่มมีหลายผู้ให้บริการที่แล้ว อาทิ Nostra Logistics ที่ออกมาให้บริการในชื่อ “Telematics”

ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีไอโอที และเอไอ มาใช้เพิ่มความปลอดภัยในการขับรถ และลดการสูญเสียทรัพยากรเพื่อการบำรุงรักษารถ หรือใช้ตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถ และนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการขับรถให้ปลอดภัยมากขึ้น พฤติกรรมการขับรถที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเร่งความเร็วกะทันหัน เบรกกะทันหัน เปลี่ยนเลนกะทันหัน และการขับรถด้วยความเร็วสูง

หรือ ระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ i-SMART คือเทคโนโลยีล่าสุดของ เอ็มจี (MG) ที่หยิบเอาเทคโนโลยี ไอโอที และเอไอ เข้ามาอยู่ในรถยนต์ เพื่อเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของผู้ขับ อาทิ การค้นหาเพลงที่ชอบ หรือแนะนำร้านอาหารเด็ด ๆ หรือใช้ก่อนที่จะเข้าไปนั่งในรถยนต์ เพื่อสั่งสตาร์ตรถ หรือเปิดระบบปรับอากาศ ผ่านมือถือได้

ขณะที่ ด้าน Honda เอง ก็เริ่มวางคอนเซ็ปต์รถยนต์ไฟฟ้า NeuV และ Sports EV ที่มีระบบเอไอ เชื่อมโยงกับรถคันอื่นผ่านเครือข่าย 5G ของ SoftBank ในประเทศญีปุ่น เพื่อช่วยในการขับเคลื่อน โดยคาดว่าจะเปิดตัวในปี 2025 นี้

ด้าน Toyota เอง ก็ผุดไอเดีย โตโยต้า คอนเซ็ปต์-ไอ ที่จะใช้ เทคโนโลยี เอไอ ที่เรียกว่า “ยูอิ” ซึ่งใช้งบประมาณหลายพันล้านจากการร่วมลงทุนมาพัฒนาเทคโนโลยี เอไอ โดยโตโยต้า ได้เปิดเผยว่า ระบบ ยูอิ จะไม่ได้เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบทั่วไป

แต่สามารถตอบโต้กับผู้ขับ และทำความรู้จักผู้ใช้ให้มากขึ้นผ่านการดูจากความชอบ, อารมณ์ และอุปนิสัย ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ โดยคาดว่าน่าจะเห็นการทดสอบรถยนต์ไร้คนขับของเขาในปี 2020

ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะให้ เอไอ ทำงานได้ด ก็ยอมหมายถึงการวางระบบในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในรถ ด้วยเทคโนโลยี ไอโอที ด้วยเช่นกัน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่