ที่งานเวิลด์ โมบาย คองเกรส 2018 Huawei เปิดตัวอุปกรณ์บรอดแบนด์ ไร้สายความเร็วสูงที่รองรับ 5G (CPE)ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์รับสัญญาณที่รองรับมาตรฐานการสื่อสารสำหรับเทคโนโลยี 5G อุปกรณ์นี้ถือเป็นอุปกรณ์สำคัญของหัวเว่ยที่จะพลิกโฉมวงการสื่อสารและวางรากฐานอนาคตของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

Huawei

Huawei Customer-Premises Equipment

โดย 5G CPE หัวเว่ยใช้ชิพเซ็ท Balong 5G01 ซึ่งหัวเว่ยพัฒนาขึ้นเองเพื่อเป็นชิพเซ็ทเชิงพาณิชย์ตัวแรกของโลกที่รองรับมาตรฐาน3GPP สำหรับเทคโนโลยี 5G โดยตามทฤษฎีสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 2.3Gbps นอกจากนี้ยังสามารถรองรับ 5G ได้ในทุกย่านความถี่ทั้ง sub-6GHz และคลื่นมิลลิเมตร (mmWave)

เพื่อสร้างโซลูชั่น 5G ที่สมบูรณ์แบบที่สุด รองรับการใช้งานที่หลากหลายได้อย่างเต็มที่ ชิพเซ็ท Balong 5G01 ยังทำให้หัวเว่ยเป็นบริษัทแรกที่สามารถนำเสนอโซลูชั่น5G ได้อย่างครอบคลุมทั้งเครือข่าย อุปกรณ์ และในระดับความสามารถของชิพเซ็ท

มร.ริชาร์ด หยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คอมซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา หัวเว่ยใช้เงินลงทุนรวมกว่า 600 ล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพื่อเฟ้นหาหนทางใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ทั้งในเรื่องการวางโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเครือข่าย การใช้งาน การตรวจสอบ

และอีกมากมาย ไล่ตั้งแต่อุปกรณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันและสมาร์ทโฮม เรื่อยไปจนถึงเทคโนโลยี AR/VR และวิดีโอโฮโลแกรม ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่สะท้อนความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการวางระบบรองรับเทคโนโลยี 5G ที่แข็งแกร่ง

เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุดจากโลกที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างแท้จริง และเป็นโลกที่พลิกโฉมวิธีการสื่อสารและการแชร์ข้อมูลไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยอุปกรณ์ 5G CPE จากหัวเว่ยมี 2 โมเดล ได้แก่ อุปกรณ์ 5G CPE ชนิดความถี่ต่ำ (sub6GHz)

และอุปกรณ์ 5G CPE ชนิดความถี่สูง (mmWave) อุปกรณ์ 5G CPE ชนิดความถี่ต่ำจะมีขนาดเล็กมีน้ำหนักเบา รองรับการใช้งานในเครือข่าย 4G และ 5G  ซึ่งรองรับการดาวน์โหลดด้วยความเร็วสูงสุด 2 Gbps ซึ่งถือว่าเร็วกว่าไฟเบอร์ 100 Mbps ประมาณ 20 เท่า

มอบประสบการณ์การใช้งานที่รวดเร็วขึ้นอีกมาก เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถดูวิดีโอ VR และเล่นเกม หรือดาวน์โหลดรายการทีวีได้ในเวลาเพียงวินาทีเดียว ส่วนอุปกรณ์ 5G CPEชนิดความถี่สูงเป็นอุปกรณ์ประเภทที่มีทั้งแบบภายในอาคาร และภายนอกอาคาร

Huawei

เครือข่าย 5G จะสร้างมาตรฐานสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตไฮสปีด ด้วยแบนด์วิธที่กว้างขึ้น การเชื่อมต่อแบบไร้สายที่มีอัตราการบีบอัดสัญญาณต่ำ และความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดที่ 20 Gbps รองรับอุปกรณ์ 1 ล้านอุปกรณ์ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร

และมีอัตราการบีบอัดสัญญาณต่ำเพียง 0.5ms เทคโนโลยี 5G โดยมาพร้อมการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นระหว่างคนกับไอโอที (Internet of Things) เพิ่มศักยภาพในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำนวนมากขึ้นที่สามารถเข้ามาเชื่อมต่อ เข้าถึง และแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้มากขึ้น

โดย หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ปพัฒนากลยุทธ์การสร้างสรรค์อุปกรณ์ 5G เพื่อรองรับการใช้อินเทอร์เน็ตไฮสปีด มีอัตราการบีบอัดสัญญาณต่ำ และมีคุณภาพการเชื่อมต่อแบบ 5Gที่ดีเยี่ยม มอบประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ไร้สายที่หลากหลายยิ่งขึ้น

Huawei

กลยุทธ์ดังกล่าวนี้หมายรวมถึงการพัฒนาสมาร์ทโฟน ระบบ Wi-Fi โมดุลในอุตสาหกรรม และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงผู้คนและสรรพสิ่ง ทั้งบ้าน ยานพาหนะ และอื่นๆ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ หัวเว่ยยังร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมกว่า 30 รายทั่วโลก

อาทิ โวดาโฟน ซอฟท์แบงค์ ที-โมบาย บีที เทโลโฟนิกา ไชน่าโมบาย และไชน่าเทเลคอม ในปี 2017 หัวเว่ยเริ่มต้นทดสอบการใช้เครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ร่วมกันกับพันธมิตรเหล่านี้จนแล้วเสร็จ และเริ่มต้นเปิดการใช้งานเครือข่าย 5G ในเชิงพาณิชย์แล้วในปี 2018

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่