Smart Factory ระบบโรงงานอัจฉริยะที่นำ IoT เข้ามาบริหารจัดการภายในโรงงาน โดยจะมีความฉลาดสามารถจัดการอะไรได้เองโดยพึ่งพามนุษย์น้อยที่สุด
เราอาจจะเคยได้เห็นการใช้ไอโอที ในมุมของการเปิดหลอดไฟ หรือระบบล็อคประตูระบบอัตโนมัติ แต่ความจริงแล้ว มีธุรกิจจำนวนมากที่กำลังให้ความสำคัญของการเชื่อมต่อระบบระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่มีอยู่ เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเต็มที่ และการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการดำเนินงานในโรงงาน หรือ Smart Factory
โดยกระบวนการทำงานต่างๆจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติ และเชื่อมต่อถึงกันในทุกภาคส่วน เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างสรรค์และส่งมอบคำสั่งซื้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นต่างๆของโรงงานอัจฉริยะนี้ยังช่วยให้ลูกค้า ผู้สั่งซื้อสามารถออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้ การผลิตที่เชื่อมต่อถึงกันดังกล่าว มักหมายความถึง Industry 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
หากจะอธิบายสั้นๆ อุตสาหกรรมการผลิตที่ฉลาด เกิดจากการใช้อุปกรณ์ไอโอทีที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากขั้นตอนการผลิตต่างๆที่เกิดขึ้นได้ โดย “สิ่งเหล่านี้” จะทำหน้าที่เก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่ไม่สิ้นสุด
ทุกวันนี้ ผู้ผลิตล้วนต้องการข้อมูลเชิงลึกจากส่วนต่างๆของระบบซัพพลายเชน และเทคโนโลยีไอทีต่างๆ คือตัวขับเคลื่อนข้อมูลเหล่านั้น เช่นเดียวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆเข้ากับชีวิตประจำวันของเรา ส่งผลให้เกิดข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำต่างๆ
โดยไอโอทีในโรงงาน จะทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบสำนักงาน (top floor) เข้ากับระบบของโรงงาน (shop floor) เพื่อช่วยให้เกิดวิธีการเชื่อมต่อระหว่างกันในอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยความช่วยเหลือจากข้อมูลที่เชื่อมต่อถึงกัน ข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลวัตถุดิบขาเข้า และสินค้าขาออก จะช่วยให้ขั้นตอนทางธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการคลังสินค้า สามารถทำงานควบคู่กันไปได้อย่างสมบูรณ์
ที่จริงแล้ว มีรายงานว่า ผู้ผลิตต่างๆ สามารถดำเนินงานได้ดีกว่าแผนที่ตั้งไว้ถึง 7.7% เมื่อมีการข้อมูลวันที่จัดส่ง เข้ามาวางแผนการผลิตร่วมกับความพร้อมของทรัพยากรที่มีอยู่ และข้อจำกัดทางการผลิตแบบเรียลไทม์ เพื่อสร้างแผนการผลิตที่คำนึงถึงการใช้เครื่องจักรและแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงกันระหว่าง “โรงงานและสำนักงาน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ผู้ผลิตต้องคิดให้เหนือกว่าข้อจำกัดที่โรงงานแต่ละแห่งสามารถทำได้
ส่วนขยาย
* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่ได้มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
** Columnist อาชิช พูจารี ผู้จัดการทั่วไป และรองประธานกรรมการ ฝ่ายไอโอที
และดิจิตอล ซัพพลายเชน ของเอสเอพี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
Compose : พิพัฒน์ เพิ่มผัน (Editors)
ตัวอย่างโรงงานอัจฉริยะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่าง Audi