คุณทราบหรือไม่ว่าเครือข่าย 5G นี้ยังสามารถส่งสัญญาณเซ็นเซอร์เพื่อขับไล่บรรดาหมูป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขาล้อมรอบสนามกีฬาโอลิมปิกเปียงชาง (Pyeongchang) ออกไปจากบริเวณที่จัดการแข่งขันได้

5 เหตุผลที่ Wi-Fi และ 5G ยังคงต้องอยู่ด้วยกัน

ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาว 2018 (พ.ศ. 2561) ประเทศเกาหลีใต้ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เราจะได้ยินข่าวคราวที่กล่าวถึงเครือข่าย 5จี ว่าได้ปฏิวัติการเผยแพร่ภาพ VR และการออกอากาศในลักษณะคล้าย ๆ กันไปแล้ว แต่คุณทราบหรือไม่ว่าเครือข่าย 5จี นี้

ยังสามารถส่งสัญญาณเซ็นเซอร์เพื่อขับไล่บรรดาหมูป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณภูเขาล้อมรอบสนามกีฬาโอลิมปิกเปียงชาง (Pyeongchang) ออกไปจากบริเวณที่จัดการแข่งขันอีกด้วย ผู้ให้บริการการใช้พื้นที่ (Venue Operators) ต้องเฝ้าติดตามความก้าวหน้าของ 5จี อย่างใกล้ชิด

เพราะจำเป็นที่จะต้องเกาะติดทุกการเชื่อมต่อที่ต้องการในทุกกรณีการใช้งาน การพัฒนาคุณภาพของภาพวิดีโอ AR/VR, Ultra HD และการเติบโตของ IoT ล้วนทำให้เกิดการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้และการรับส่งข้อมูล (Data Traffic) อย่างมหาศาล

ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสนใจในการขยายขีดความสามารถให้ครอบคลุมเครือข่ายมากขึ้น รวมทั้งเจ้าของธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการจะนำหน้าเหนือคู่แข่งทางธุรกิจด้วยการติดตามเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตเหล่านี้ให้เท่าทันและนำมาใช้ประโยชน์ 

5G

จากการที่ 5จี มีการส่งสัญญาณด้วยความเร็ว (Speed) สูงขึ้น ความหน่วงเวลา (Latency) ลดลง ประกอบกับความจุ (Capacity) มากขึ้น นั่นหมายความว่า 5จี สามารถรองรับแอพพลิเคชันที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก (Data-intensive) และใช้เวลาประมวลผลนาน (Time-sensitive) ตัวอย่างที่พบเห็นกันในชีวิตประจำวัน

ได้แก่ การสตรีมมิ่งภาพยนตร์ซีรีย์เรื่อง “13 Reason Why” ในระดับ Ultra HD มาดูได้โดยไม่กระตุก สำหรับในแง่ของธุรกิจทั้งหลาย 5จี จะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับธุรกิจ เช่น การใช้งานระบบอัตโนมัติได้ทั่วทั้งโรงงาน การนำเทคโนโลยี 5จี มาใช้ในวงกว้าง (Mass) เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นและมิอาจหลีกเลี่ยงได้

หลายคนเริ่มตั้งคำถามถึงอนาคตของ Wi-Fi ถ้า 5จี ถูกใช้เป็นมาตรฐานเครือข่ายใหม่แล้ว Wi-Fi จะเป็นเรื่องล้าสมัยหรือไม่? ยิ่งมีกระแสความเข้าใจผิดที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า 5จี ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่ Wi-Fi ความเห็นนี้ดูจะไม่ห่างไกลจากความเป็นจริงนัก

ไว-ไฟ ยังจำเป็นในช่วงเปลี่ยนผ่าน

5G
จัสติน ชัวส์ ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวัน อรูบ้า (Aruba) ในเครือบริษัทฮิวเลตต์แพคการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์

จัสติน ชัวส์ ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไต้หวัน อรูบ้า (Aruba) ในเครือบริษัทฮิวเลตต์แพคการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ให้ความเห้นไว้อย่างนา่สนใจว่า 5จี เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นและยังมีเส้นทางอีกยาวไกลกว่าจะพัฒนาได้สมบูรณ์เต็มที่ (Matures) ดังนั้น Wi-Fi จึงถือว่าเป็นมาตรฐานในเชิงปฏิบัติสำหรับองค์กรต่าง ๆ ไปก่อน และอาจจะทำงานร่วมกับ 5จี ต่อไปอีกหลายปีก็เป็นได้? ต่อไปนี้เป็นเหตุผล 5 ประการที่สนับสนุนคำกล่าวนี้ 

5G

1. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมากในการอัพเกรดเทคโนโลยี เมื่อมีมาตรฐานการสื่อสารของอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สาย (Mobile Communications) แบบใหม่เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมหาศาล โดยคาดการณ์ว่า 5จี จะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสำหรับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ

ผู้ผลิตชิป ผู้ผลิตอุปกรณ์ และแม้แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นจำนวนเงินรวมกันประมาณ 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (ประมาณ 6.6 ล้านล้านบาทไทย) ในการวิจัย และการลงทุนเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากมาตรฐานการสื่อสารใหม่ได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นจึงเป็นผลทำให้ผู้ใช้จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงตามมา ด้วยเหตุนี้ Wi-Fi จึงยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงแต่ Wi-Fi จะให้ประโยชน์คล้ายคลึงกับ 5จี เท่านั้น แต่อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาดขณะนี้มีการเปิดใช้งาน Wi-Fi มาให้พร้อมแล้ว ขณะที่มีอุปกรณ์เพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถทำงานร่วมกับ 5จี ได้ 

5G

2. มีการกำหนดเป้าหมายให้ 5G สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2020 แต่พอเอาเข้าจริงอาจจะนานกว่านั้น 5จี ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเอกที่ทุกคนจับตามองในงาน Consumer Electronics Show (CES) และ Mobile World Congress (MWC) ในปีนี้

เรียกได้ว่าผู้ผลิตหลายรายไม่ว่าจะเป็น Huawei, Intel, Sprint และ Telstra ต่างประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟน 5จี และเปิดตัวแผนงานด้วยความหวังว่าจะได้กินส่วนแบ่งการตลาดคำโตจากตลาด 5จี แม้จะมีการคาดการณ์ว่าการเริ่มต้นใช้งานในเชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นในปี 2020 (พ.ศ. 2563) แต่ความนิยมที่มีต่อ

5จี จะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในภายหลัง เพราะเหตุใด? คำตอบง่าย ๆ – คือโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โครงสร้างพื้นฐาน Wi-Fi สำหรับประเทศต่าง ๆ ล้วนได้รับการติดตั้งและใช้งานมาหลายปีแล้ว อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและใช้เวลาพอสมควรในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วเปิดทางให้เทคโนโลยีใหม่

สำหรับการนำ 5จี มาใช้งานอย่างกว้างขวางเฉพาะในภูมิภาคเอเชียเพียงภูมิภาคเดียวคาดว่ามีประมาณ 90-100 ล้านหลังคาเรือนที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ช่วยขยายสัญญาณเซลลูลาร์ภายในบ้าน (Cellular Reception Indoors) หรือที่เรียกว่า Femtocells 

5G

3. Wi-Fi ยังคงเป็นเทคโนโลยีตัวหลัก (King) สำหรับการใช้งานที่ต้องการความหนาแน่นของข้อมูลสูง ทั้งสัญญาณ 5จี รวมไปถึง 4จี จัดเป็นทรัพยากรที่ต้องแบ่งปันกันใช้งาน เมื่อมีผู้ใช้สัญญาณร่วมกันหลายคน ย่อมทำให้สัญญาณเจือจาง ลองนึกภาพห้องที่มีคนทำงาน 10 คน แชร์การเชื่อมต่อ 1 Gbps

หมายความว่าผู้ใช้แต่ละคนจะใช้งานได้เพียง 100 Mbps เท่านั้น ถ้าเพิ่มจำนวนผู้ใช้มากขึ้นไปอีก คุณจะเข้าใจว่าทำไมจึงยากที่จะเชื่อมต่อสัญญาณในงานเทศกาล งานมหกรรม อีกทั้งงานคอนเสิร์ต ส่งผลให้ 5จี ต้องพึ่งพา Femtocells เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ความครอบคลุม และความแออัดของข้อมูลในแต่ละช่วง (Data Range)

เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีไร้สายอื่น ๆ แล้ว Wi-Fi มีความสามารถในการปรับขนาดได้ตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น การแข่งขัน Super Bowl 50 ในปี 2015 (พ.ศ. 2558) อรูบ้าสามารถให้บริการในการเชื่อมต่อ Wi-Fi อย่างต่อเนื่องที่ความเร็วรวม 3 Gbps เป็นเวลานานกว่า 4 ชั่วโมง! เลยทีเดียว

5G

4. ตลาด Wi-Fi กำลังเฟื่องฟูมากขึ้นกว่าเดิม คาดการณ์ว่าตลาด Wi-Fi จะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า คือจาก 5.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 (พ.ศ. 2560) เป็น 15.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2022 (พ.ศ. 2565) การเพิ่มจำนวนของอุปกรณ์เคลื่อนที่และการนำ BYOD และ IoT

ไปใช้ภายในองค์กรมากขึ้นอย่างมหาศาลถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เติบโต ในขณะเดียวกันการพัฒนามาตรฐาน Wi-Fi ใหม่ ๆ เช่น 802.11ax ที่กำลังมาถึงจะให้ความเร็วเพิ่มขึ้น ทำงานได้ดีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อจำนวนมาก เหมาะสำหรับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนอุปกรณ์ในปัจจุบัน ด้วยการคาดการณ์ของตลาดดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่าปัจจุบัน Wi-Fi ยังคงมีความจำเป็นที่ต้องใช้งานกันต่อไป 

5G

5. ความต้องการการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยมีปริมาณเพิ่มขึ้น Cyber​​security เป็นประเด็นสำคัญในที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัทและผู้นำทางธุรกิจ ซึ่งต่างเห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นในการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยในองค์กรของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอุปกรณ์เคลื่อนที่ IoT และ Cloud การใช้ Wi-Fi สาธารณะ

เป็นสิ่งที่หลายคนเคยเชื่อว่าเป็นเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี Wi-Fi มีพัฒนาการอย่างมากในปัจจุบัน จึงต้องทำให้มีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ ตัวอย่างเช่น โซลูชัน Aruba 360 Secure Fabric ช่วยสร้างกรอบการรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการสำหรับธุรกิจ

เพื่อให้สามารถมองเห็นและควบคุมเครือข่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบในขณะเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ (Cellular Connectivity) เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความปลอดภัย มีนวัตกรรมที่พัฒนามาอย่างยาวนานและไม่มี Cyberattacks คอยซุ่มโจมตี ความแข็งแกร่ง ความมีเสถียรภาพ และครบถ้วนของเทคโนโลยี Wi-Fi

แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งและความสามารถในการรองรับการรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่กว้างใหญ่ การวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าในปี 2023 (พ.ศ. 2566) อัตราการขอเข้าใช้ข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดือนต่อสมาร์ทโฟนที่ใช้งานอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะสูงถึง 15 GB ต่อเดือน จึงไม่น่าแปลกใจที่โซลูชันใหม่ ๆ จะนำเราไปสู่การใช้ 5จี ในที่สุด

5G

จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าการก้าวไปข้างหน้าร่วมกันของ Wi-Fi และ 5จี เป็นหัวใจสำคัญในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และธุรกิจที่ต้องการข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ข้อมูลอันล้นหลามที่เกิดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและฟุตบอลโลก

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่