Digital Transformation Survery เป็นแบบสำรวจที่ ELEADER จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจภาพรวมของการลงทุนด้าน Server และระบบ Backup ขององค์กร จาก 136 องค์กร
ความสำคัญของระบบ Backup ต่อการวางกลยุทธ์ทางด้าน IT
การที่องค์กรต่าง ๆ มีมุมมองว่าระบบ Backup มีความสำคัญเพียงแค่เอาไว้กู้คืนข้อมูลเฉพาะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น อาจทำให้องค์กรประเมินความสำคัญของระบบ Backup ต่ำเกินกว่าความเป็นจริง และสูญเสียโอกาสต่าง ๆ ได้ โดยองค์กรควรรับมุมมองเหล่านี้ไปพิจารณาเพิ่มเติมและประยุกต์กับองค์กรของตนเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม
โดยในปัจจุบันการทำ Backup เป็นหนทางเดียวที่จะปกป้องข้อมูลอันมีค่าขององค์กรอย่างได้ผล ซึ่งทุกวันนี้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่อาจทำให้ข้อมูลทั้งหมดขององค์กรสูญหายไปได้ภายในพริบตา ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติต่าง ๆ จากธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์อย่าง Virus, การถูกโจมตีทางช่องโหว่ด้านความปลอดภัย หรือแม้แต่ Bug ใน Software หรือ Hardware ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจก็ตาม
ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัดเจนลองจินตนาการถึงข้อมูลสำคัญภายในองค์กรอย่างเช่น ระบบบัญชี ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือระบบควบคุมการผลิต เกิดสูญหายหมดไปทันทีดูจะเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ในกรณีที่โชคดีองค์กรก็อาจจะแค่เสียโอกาสในการค้าขาย หรือเสียเวลาในการสร้างระบบหรือสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่
แต่ในกรณีที่เคราะห์ร้ายองค์กรที่ประสบปัญหาเหล่านี้และแก้ไขปัญหาไม่ได้ อาจถึงขั้นล้มละลายได้ทันที ฉะนั้น การสำรองข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่องค์กรควรปรับมุมมองให้แตกต่างจากเดิม และใช้ประโยชน์เพื่อสร้างคุณค่าเพิมเติมให้แก่ธุรกิจของตน
ทั้งนี้ เราได้ทำการสำรวจพนักงานส่วนงานด้านไอทีขององค์กรชั้นนำในประเทศ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 องค์กร ข้อมูลที่ได้มา สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางนโยบายด้านระบบ Backup และระบบ Server โดยจะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการวางแผนงานด้านไอทีให้สอดคล้องในยุคปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลที่สนใจมีดังนี้
จากการสำรวจ 136 องค์กร พบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะลงทุนเกี่ยวกับระบบ Backup หรือระบบบริหารการจัดเก็บสำรองข้อมูลในระยะเวลา 12-18 เดือน จำนวน 51.80% ระยะเวลา 0-6เดือน 27% และ 18 เดือนขึ้นไป 22.60%
กลุ่มตัวอย่างระบุว่าองค์กรส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล น้อยกว่า 5TB 27.70%, จำนวน 5TB-49TB 30.60%, จำนวน 50TB-99TB 14.60%, จำนวน100TB-499TB 17.50%, จำนวน 500TB-1PB 5.10%, จำนวน 1PB- 5PB 3 องค์กร 2.10% และมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากกว่า 5PB 9.40%
นอกจากนี้ เรายังมีการสำรวจการใช้ Application ภายในองค์กร ซึ่งพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้งาน Application มากกว่า 1 อย่าง แบ่งออกเป็น MS SQL Server จำนวน 89 องค์กร คิดเป็น 64.90% Oracle Database, จำนวน 61 องค์กร คิดเป็น44.50% MS Exchange จำนวน 57 องค์กร คิดเป็น 41.60%, SAP จำนวน 45 องค์กร คิดเป็น 32.80%
ขณะที่องค์กรส่วนใหญ่กำลังปรับปรุงระบบ Server ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่วนใหญ่สนใจระบบ Hyper Converged Infrastructure ซึ่งแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ CISCO 65.60%, Oracle 32.80%, EMC 26.20% ขณะที่แบรนด์รองลงไปได้แก่ Huawei, HPE, Nutanix, Simplivity
สำหรับระยะเวลาในการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้บริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ โดยมีหัวข้อ ดังนี้
1. ระยะเวลาในการลงทุนด้านการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center Modernization or Expansion) พบว่า 22.6% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 9.5% กำลังจะมีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 12.4% คาดว่าจะมีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 18.2% คาดว่าจะลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน และ 10.9% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 25.5% ไม่ต้องการลงทุนหากระบบเก่ายังใช้งานได้
2. ระยะเวลาในการลงทุนระบบไอทีเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการทำงาน (Business Continuity) พบว่า 18.2% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 13.9% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 18.2% มีการลงทุนในระยะเวลา 3- 6 เดือน 24.1% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 8.8% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 16.8% ไม่ต้องการลงทุนหากระบบเก่ายังใช้งานได้
3. ระยะเวลาของการลงทุนเพื่อการปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เสริมการทำงานยุค Mobility พบว่า 19.7% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 10.9% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 19% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 23.4% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 16.1% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 10.9% ไม่ต้องการลงทุน
4. ระยะเวลาในการลงทุนระบบ Hyper Converged Infrastructure หรือ Purpose-Built Storage Appliance พบว่า 26.3% กำลังอยู่อยู่ในช่วงการประเมิน 4.4%) มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 11.7% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 19% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 13.1% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 24.8% ไม่ต้องการลงทุนหากระบบเก่ายังใช้งานได้
5. ระยะเวลาในการลงทุนเพื่อบริหารจัดการระบบ storage (Storage Tech Refresch or expansion) พบว่า 24.8% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 5.8% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 16.8% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 21.2% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 11.1% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 18.2% ไม่ต้องการลงทุนหากของเดิมยังใช้ได้
6. ระยะเวลาในการลงทุนเพื่อปรับปรุงระบบ Backup ข้อมูล พบว่า 10.9% กำลังอยู่อยู่ในช่วงการประเมิน 12.4% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 23.4% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 23.4% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 13.9% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 16.1% ไม่ต้องการลงทุนหากของเดิมยังใช้ได้
7. ระยะเวลาในการลงทุนระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Big Data Analytics or Predictive Analytics) พบว่า 19% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 12.4% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 13.1% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 19.7% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 17.5% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 18.2% ไม่ต้องการลงทุน
8. ระยะเวลาในการลงทุนในเรื่องของ Application Virtualization/ Application Replatforming พบว่า 19.7% กำลังอยู่ในช่วงการประเมิน 10.2% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 10.2% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 24.8% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 10.9% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 24.1% ไม่ต้องการลงทุน
9. ระยะเวลาในการลงทุนในเรื่องของ Cloud Computing (Public / Private Cloud) / Cloud Services Deployment พบว่า 19% กำลังอยู่อยู่ในช่วงการประเมิน 13.1% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 10.9% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 24.8% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 13.1% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 19% ไม่ต้องการลงทุน
10. ระยะเวลาในการลงทุนในเรื่อง Data Warehouse Modernization พบว่า 22.6% กำลังอยู่อยู่ในช่วงการประเมิน 8% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 3 เดือน 10% มีการลงทุนในระยะเวลา 3-6 เดือน 12.4% มีการลงทุนในระยะเวลาน้อยกว่า 12 เดือน 16.1% มีการลงทุนในระยะเวลาที่มากกว่า 12 เดือน และ 30.7% ไม่ต้องการลงทุน
จากผลสำรวจในหัวข้อเดียวกัน คือข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้บริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ แต่ในส่วนนี้จะบอกถึงงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนขององค์กรต่าง ๆ พบว่า มีการลงทุนในเรื่องของการบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ มีตัวเลขการลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 24.1%, ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 18.2%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 13.1%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 19%
การลงทุนในเรื่องของการสร้างความต่อเนื่องในการทำงาน (Business Continuity) พบว่าองค์กรต้องการลงทุน ไม่เกิน 5 แสนบาท 37.2% ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 13.1%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 13.9%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 19%
การลงทุนในเรื่องของการปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เสริมการทำงานยุค Mobility พบว่าองค์กรต้องารลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 43.1%, ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 10.9%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 14.6%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 20.4%
การลงทุนในเรื่องของระบบ Hyper Converged Infrastructure หรือ Purpose-Built Storage Appliance พบว่าองค์กรต้องการลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 32.1% ลงทุน 500,000- 1 ล้านบาท 10.2%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 10.1% และลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท16.8%
การลงทุนในเรื่องของการบริหารจัดการระบบ storage (Storage Tech Refresch or expansion) พบว่าองค์กรต้องการลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 32.1%, ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 10.2%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 19%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 19%
การลงทุนในเรื่องของการปรับปรุงระบบ Backup ข้อมูล พบว่า องค์กรต้องการลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 35% ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 14 องค์กร 10.2%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 12.4%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 26.3%
การลงทุนในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Big Data Analytics or Predictive Analytics) พบว่าองค์กรต้องการลงทุน ไม่เกิน 5 แสนบาท 32.1%, ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 13.9%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 19%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 16.8%
การลงทุนในเรื่องของ Application Virtualization/ Application Replatforming พบว่า องค์กรมีการลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 31.4% ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 11.7%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 13.9%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 19%
ลงทุนในเรื่องของ Cloud Computing (Public / Private Cloud) / Cloud Services Deployment พบว่า องค์กรมีลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท จำนวน 35%, มีการลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 15.3%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 13.1%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 17.5%
ตัวเลขการลงทุนในเรื่องของ Data Warehouse Modernization พบว่า องค์กรลงทุนไม่เกิน 5 แสนบาท 25.5%, ลงทุน 500,000-1 ล้านบาท 13.9%, ลงทุน 1-3 ล้านบาท 15.3%, ลงทุนมากกว่า 3 ล้านบาท 14.6%