เราอยู่ในยุคของ Information Generation ยุคที่สังคมดิจิทัลกำลังเติบโต และข้อมูลทุกอย่างอยู่ที่ปลายนิ้ว ในมุมธุรกิจ เราจะใช้ประโยชน์เหล่านั้นได้อย่างไร

ซานเจ โจชิ ซีทีโอฝ่ายเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แผนกเทคโนโลยีใหม่ อีเอ็มซี สหรัฐอเมริกา ใหข้อมูลว่าด้วยจำนวนผู้ป่วยและผู้บริโภคในวงการสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ความคาดหวังของประชาชนในด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ความเร็วในการวินิจฉัยโรคและการรักษา รวมไปถึงการจัดการกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนไป จากผลการสำรวจล่าสุดโดยบริษัทวิจัยตลาด Vanson Bourne ซึ่งทำการสำรวจกับผู้นำในวงการสุขภาพทั่วโลก 236 คน พบว่าผู้ป่วยในยุค “Information Generation” เริ่มมองหาการรับบริการที่เร็วขึ้น รวมถึงประสบการณ์การรักษาที่เฉพาะตัวและสะดวกมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลและการเชื่อมต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านอุปกรณ์ที่มากกว่าหนึ่ง

การดูแลสุขภาพในอนาคตด้วยโมเดลระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณค่า

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โมเดลระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณค่า (Value-Based Care Model) ผู้นำในองค์กรด้านสุขภาพทั่วโลกได้ระบุถึง 5 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจให้บริการด้านสุขภาพยืนหยัดเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้
1. ความสามารถขององค์กรในการคาดการณ์ถึงโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างแม่นยำ ทั้งในสถานะสุขภาพประชากร, ระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณค่า, การดูแลโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
2. แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ สร้างทางเลือกในการรักษาและระดับความสำเร็จ, การเข้าถึงเวชระเบียนผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
3. ความสามารถขององค์กรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการวิจัยทางคลินิก, การบูรณาการด้านคลินิก, อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)
4. การมอบประสบการณ์การรักษาที่มีความเฉพาะตัวสำหรับแต่ละบุคคล เพิ่มการมองผู้ป่วยแบบ 360 องศา (360° Patient View), เทคโนโลยี Wearables, จีโนมิกส์, การรักษาทางการแพทย์ที่แม่นยำ (Precision Medicine)
5. พร้อมให้บริการและดำเนินการได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เกิดการรักษาโรคทางไกล (Telemedicine), mHealth, ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา (Medication Adherence)

อย่างไรก็ตาม มีผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ให้ความสำคัญ และเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้อย่างถ่องแท้ หรือนำปัจจัยเหล่านี้มาใช้งานในองค์กร ปัจจุบันข้อมูลในองค์กรเพิ่มมากขึ้นมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น แอพพลิเคชันทางการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีคลาวด์, บิ๊กดาต้า, โทรศัพท์มือถือ, และโซเชียลมีเดีย ที่ให้บริการด้านสุขภาพใช้ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบดั้งเดิมในองค์กรด้านสุขภาพทุกวันนี้ยังไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอ อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และขาดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำบิ๊กดาต้าที่มีจำนวนมากขึ้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์
ถึงเวลาแล้วที่ผู้นำในอุตสาหกรรมการบริการด้านสุขภาพต้องเริ่มปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในองค์กรให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ผ่านการใช้แอพพลิเคชันล้ำสมัยเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคต องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า อนาลิติกส์ ในการรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์จากหลาย ๆ ที่เข้าด้วยกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เร่งให้เกิดการให้บริการและรักษาร่วมกัน และทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถโฟกัสในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น

ใช้ประโยชน์จาก Data Lake

แนวคิดของ Data Lake คือการมอบกรอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย เพื่อรวบรวม เพิ่มประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพ และช่วยเติมเต็มช่องว่างให้สามารถนำข้อมูลดิบ (Raw Data) ไปพัฒนาเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ (Actionable Insight) โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลจากระบบการดูแลสุขภาพทั้งหมด ซึ่งทำหน้าที่เป็นคลังเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data) ซึ่งถูกดึงมาจากฐานข้อมูลดั้งเดิม และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น รูปภาพของผู้ป่วย ผลการวิจัย พยาธิวิทยา จีโนมิกส์ บันทึกด้านคลินิก และกิจกรรมบนโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือ เซนเซอร์ และข้อมูลที่ได้รับจากระยะไกล (Telemetry Data) สามารถถูกส่งเพื่อดำเนินการต่อได้แบบเรียลไทม์

 

 

 

ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกแยกประเภทและควบคุม ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดหรือจะถูกส่งไปที่ไหนก็ตาม สถาปัตยกรรมอันทรงพลังนี้ได้รวมระบบนิเวศน์ด้านการดูแลสุขภาพเข้ามาไว้ด้วยกัน เพื่อลดการทำงานแบบแยกส่วน (Silo) และมอบความสามารถในการสเกลขยายขนาด การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Multiprotocol Data-In-Place และป้องกันข้อมูลขององค์กร
ทั้งนี้ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของรูปภาพของผู้ป่วยและข้อความต่าง ๆ ก็สามารถเก็บรวบรวมได้ใน Data Lake เพื่อการแยกแยะและวิเคราะห์ข้อมูลลำดับต่อไปโดยแผนกคลินิก นักวิเคราะห์ธุรกิจ และทีมวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ด้วยการขยายขีดความสามารถเพื่อพัฒนาธุรกิจและการเพิ่มคุณค่าในการดูแลรักษาผู้ป่วยผ่านการวิเคราะห์ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะสามารถขับเคลื่อนและริเริ่มการดูแลผู้ป่วยแบบใหม่ที่เพิ่มความน่าเชื่อถือ สร้างมิติใหม่ของวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อเปิดเผยเทรนด์ รูปแบบ ความสัมพันธ์ และการค้นพบใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ
นอกจากนี้ การใช้ Data Lake ยังช่วยในแง่ของการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และช่วยลดความซับซ้อนด้านการจัดเก็บ บริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการบูรณาการข้อมูลแบบเรียลไทม์ ใกล้เรียลไทม์ รวมถึงกลุ่มข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยไม่กระทบกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันหรือการเข้าถึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอีกขั้นของการพัฒนาองค์กร ด้วยความสามารถในการรวบรวมรูปภาพของผู้ป่วยจากหลากสายการให้บริการ ตั้งแต่แผนกรังสีวิทยา แผนกหัวใจ แผนกพยาธิวิทยา และแผนกผิวหนัง เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ทันสมัยและคุ้มค่าได้ด้วยการติดตั้งระบบวิเคราะห์ที่สามารถทำนายผลได้ (Predictive Analytics) และค้นหา จัดการข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านระยะเวลาในการตอบสนองในการรักษาทางการแพทย์ ผลการรักษาทางการแพทย์ และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ประโยชน์ที่ได้รับจากวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Predictive Analytics และการใช้งาน Data Lake จะคุ้มค่าเงินลงทุนจำนวนมหาศาลหรือไม่ ? คำตอบคือ คุ้มค่าอย่างแน่นอน โดยจากรายงานของ Deloitte เผยว่า 54 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านไอทีในองค์กรที่ให้บริการด้านสุขภาพใช้งบประมาณในการดำเนินงานไปเพียง 1-5 เปอร์เซ็นต์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการด้านการเงินและคลินิก นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Goldman Sachs เมื่อปี 2015 แสดงให้เห็นว่าความคิดริเริ่มด้านดิจิทัล สามารถช่วยองค์กรที่ให้บริการด้านสุขภาพ ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ถึง 3.05 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

เมื่อผู้ให้บริการด้านสุขภาพต่างมุ่งหน้าปรับโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย และสร้างระบบวิเคราะห์ในยุคใหม่ที่สามารถทำนายผลได้อีเอ็มซี พร้อมแนะนำวิธีการในการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จอีกขั้น ดังต่อไปนี

1. พัฒนากลยุทธ์เพื่อการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าระยะยาว เพื่อจัดลำดับความสำคัญและจัดสรรงบประมาณ
2. กำหนดว่าการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นสามารถสร้างมูลค่าได้ตรงส่วนไหน ช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านธุรกิจและการดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยพัฒนาโครงสร้างของเทคโนโลยีและองค์กรได้อย่างไร
3. สร้างวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต เมื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจะกลายมาเป็นกลยุทธ์หลักขององค์กร
4. กำหนดภารกิจแรกที่ต้องทำ จัดลำดับความสำคัญในการใช้งาน และใช้งานแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อองค์กร
5. พัฒนาโครงการที่แสดงให้เห็นผลตอบแทนการลงทุน
6. จัดระเบียบแนวทางและความต้องการของธุรกิจ การให้บริการทางการแพทย์ และไอทีให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อใช้โครงสร้างพื้นฐานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อนาคตและโอกาสใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรมการให้บริการด้านสุขภาพได้เริ่มต้นแล้ว องค์กรต่าง ๆ ต้องก้าวตามนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ทัน เพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านการให้บริการด้านสุขภาพ และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณค่า การใช้ระบบวิเคราะห์ที่ก้าวหน้า เพื่อมอบการดูแลสุขภาพที่ล้ำสมัย จะกลายเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในของอุตสาหกรรมการให้บริการด้านสุขภาพในปัจจุบัน