สิ่งที่นักธุรกิจทั้งหลายต้องการมีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ เพิ่มรายได้, ลดรายจ่าย, และเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจของตนเอง ตลอดเวลาเจ้าของกิจการทั้งหลายต้องคอยเสาะแสวงหาหนทางเพื่อให้ได้มาของทั้ง 3 สิ่งนี้
ใครบอกว่าอะไรดี อะไรทำแล้วได้ผลเราก็สนใจ และอยากไปลองกันทั้งนั้น
แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง คือ การเปลี่ยน(มาใช้ซอฟต์แวร์) แล้วทำให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างกรณีของร้านอาหารแห่งหนึ่งที่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์การจัดการในร้าน แล้วช่วยลดจำนวนพนักงานไปได้ถึง 50%
เดิมทีร้านนี้ก็เหมือนร้านอาหารทั่วไป ที่ให้ความสำคัญอันดับแรกกับคุณภาพความอร่อยของอาหาร อาหารที่นี่ต้องอร่อย กินแล้วติดใจทำให้อยากกลับมาทานอีกบ่อยๆ และคุณภาพรวมถึงความสะอาดต้องมีมาตรฐาน ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จจนเป็นที่ติดอกติดใจของผู้บริโภค และบอกต่อๆกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ร้านยิ่งโด่งดัง ยิ่งขายดี ก็ยิ่งจ้างพนักงานเยอะขึ้นๆเรื่อยๆ ทุกอย่างเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ครั้นจะไม่เพิ่มพนักงานก็ไม่ได้ เพราะจะบริการไม่ทัน รับออเดอร์ไม่ทัน ส่งอาหารให้ไม่ทัน เดี๋ยวลูกค้าหน้างอ รอนาน ก็จะไม่อยากกลับมากินอีก
ร้านนี้คนเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจ้างพนักงานเพิ่มแล้วใช่ไหม?
“ไม่จริง”
ถ้าเรามานั่งวิเคราะห์กันจริงๆว่า พนักงานที่เพิ่มเข้าไปนั้นเราเพิ่มเข้าไปทำอะไร จะเห็นได้ว่า เราเพิ่มเข้าไปเพื่อทำงานซ้ำๆเดิม เพียงแต่จำนวนความต้องการมีมากขึ้นเท่านั้นเอง เช่น รับออเดอร์ให้ได้มากขึ้น, ส่งอาหารให้ได้มากขึ้น เป็นต้น
แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราทำให้การทำงานเหล่านั้นทำได้เร็วขึ้นอีกเท่าตัว เราก็อาจไม่จำเป็นต้องมีคนเพิ่มอีก 1 เท่าก็เป็นไปได้ใช่ไหม?
จุดนี้เองที่ซอฟต์แวร์เข้ามาเปลี่ยนการทำงานที่ทำอยู่เดิมให้เร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแผนกต่างๆได้ดียิ่งขึ้น จนนำไปสู่การใช้จำนวนคนลดลง แต่ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จุดเปลี่ยนที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อมีการรับออเดอร์ จากเดิมที่ต้องจดลงบนกระดาษแล้วขีดฆ่าไปมา แล้วเอาไปยื่นให้ที่ครัว ที่ต้องคอยอ่านลายมือของเด็กเสริฟ แล้วก็ทำอาหารแต่ละจานนำไปส่งที่โต๊ะ ก็เปลี่ยนมาเป็น เด็กเสริฟรับออเดอร์ด้วยแท็บเล็ต ลูกค้านึกจะแก้เพิ่มลดอะไรก็ทำได้ง่าย ทันทีที่ยืนยันออเดอร์กับลูกค้ารายการทั้งหมดก็ถูกส่งไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ในห้องครัว ช่วยให้อ่านง่ายตลอดจนป้องกันความผิดพลาดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
อีกจุดที่เห็นได้ชัดคือ แคชเชียร์ ที่เดิมถ้าไม่มีซอฟต์แวร์จัดการ ก็จะดูวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา แถมยังไม่มีใครมั่นใจได้บ้างว่าแคชเชียร์จะไม่คิดเงินผิด จนเกิดเหตุการณ์ “ขายดีจนเจ๊ง”
เมื่อเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ แคชเชียร์จะทำงานได้ง่าย ถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็วแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะรายการอาหารของทุกโต๊ะถูกป้อนมาตั้งแต่การสั่งและรับออเดอร์อยู่แล้ว แคชเชียร์มีหน้าที่แค่ตรวจสอบความถูกต้อง และส่งให้เรียกเก็บเงินให้ไปเก็บเงินกับลูกค้่าเท่านั้น
จะเห็นได้จากตัวอย่างนี้ว่า การเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ทำให้ช่วยลดต้นทุนเกี่ยวกับพนักงานได้ถึง 50% และเชื่อแน่ว่าไม่เพียงแต่ธุรกิจร้านอาหารเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ แต่ยังรวมไปถึงทุกๆประเภทกิจการ เพราะซอฟต์แวร์เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา และทำให้เราทำสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลายมีสัดส่วนการนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานในธุรกิจไม่ต่ำกว่า 80%
ประเทศไทยเราเองก็มีสัดส่วนการเติบโตเรื่องนี้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการรวมตัวกันของบริษัทคนไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์กันในรูปแบบของ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) ที่รวมตัวกันมาได้เกือบ 20 ปีแล้ว และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์ไปใช้ประโยชน์ต่อสังคนไทยอยู่เสมอ
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 นี้ ATSI ได้เตรียมจัดงาน Thailand Software Fair 2017 เพื่อแสดงศักยภาพของซอฟต์แวร์ไทยให้ได้ประจักษ์กับคนไทย ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง