ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้าอย่างมาก และได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ แม้เทคโนโลยีจะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นเดียวกัน หากผู้ใช้รู้ไม่เท่าถึงการ ก็อาจจะเกิดจากการใช้อุปกรณ์มือถือหรือพกพานั้นๆ วันนี้เราจึงขอเสนอแนวทางในเรื่องของ Cyber Security มาเพื่อให้ทราบ และป้องกันเองได้ในเบื้องต้น

Cyber Security
ขอขอบคุณภาพจาก www.pexels.com

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่าการ “ออนไลน์” (Online) หรือการเข้าสู่โลก “ไซเบอร์” (Cyber) นั้นมีประโยชน์ และสร้างความสะดวกอย่างมหาศาลทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน การสันทนาการหรือบันเทิงต่างๆ เพราะทำให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนหรือใช้บริการสารพัดอย่างได้โดยไม่ต้องเดินทางไปพบกันจริงๆ และทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

แต่ในทางกลับกันก็เป็นช่องทางให้อันตรายต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึง เข้ามาถึงตัวเรา หรืออุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเราได้ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้เห็นหรือไม่ทันระวังตัวเลยเช่นกัน ทางแก้ปัญหานี้คงไม่ใช่การเลิกเข้าสู่โลกออนไลน์ แต่คือการรู้จัก และเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่ออินเทอร์เน็ตอย่างถูกต้อง ปลอดภัย รู้หลักการ และเทคนิค รวมถึงข้อควรระวังหรือวิธีแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้นได้นั่นเอง

 

Cyber Security
ขอขอบคุณภาพจาก www.pexels.com

How-to Cyber Security : ควรตั้งรหัสกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโลกออนไลน์

อุปกรณ์พกพานั้นมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากมาย อย่างแรกคือ หายได้ง่ายเนื่องจากพกพาไปไหนมาไหนด้วยตลอด อีกทั้งภายในอุปกรณ์ก็จะเต็มไปด้วยข้อมูลส่วนตัวมากมาย จึงควรตั้งรหัสผ่านให้กรอกก่อนเข้าเครื่องไว้ด้วย และหากถ้าอุปกรณ์นั้นสามารถต่อเน็ตได้ก็จะต้องระวังภัยออนไลน์ ทั้งไวรัส สแปม แฮกเกอร์การหลอกลวง ข้อมูลเท็จต่างๆ ที่ปะปนอยู่ ฯลฯ 

และเนื่องจากโทรศัพท์มีแอพพลิเคชั่นต่างๆมากมายให้ได้เลือกใช้ จึงเชื่อว่าในโทรศัพท์หนึ่งเครื่องย่อมมีแอพฯเป็น 10 ซึ่งหมายถึงว่าอาจมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต อยู่ตลอดเวลาโดยที่ไม่รู้ตัวทำให้ข้อมูลต่างๆ ไหลเข้า และออกจากอุปกรณ์ของเราตลอด
เวลา ถึงแม้ขณะที่เราเสียบชาร์จไว้เฉยๆ และยังอาจะหมายถึงโอกาสที่จะโดนโจมตีได้ในเวลาที่นอนอยู่ 

โดยจาการสำรวจในช่วงเวลากลางคืน มักเป็นเวลาที่แฮกเกอร์มักใช้ในการนำข้อมูลที่ดักจับได้มาลองของ เพราะเป็นเวลาที่เจ้าของหลับใหล ซึ่งแฮกเกอร์สามารถลองล็อกอินเว็บหรือบริการต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ดักจับมาได้เพื่อกระทำการบางอย่าง กว่าเจ้าของจะรู้ตัวก็อาจถูกแฮกหรือขโมยอะไรไปแล้วก็ได้

แล้วจะทำอย่างไร? มักเป้นคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ดังนั้นผู้ใช้ควรป้องกันตัวเองด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่บริการต่างๆมีให้ใช้
โดยควรจะตั้งค่าให้ครบเพื่อให้ระบบคอยแจ้งเราในกรณีต่างๆ

เช่น ให้ส่งข้อความเตือนเมื่อมีการล็อกอินแอคเคาท์ด้วยอุปกรณ์เครื่องใหม่, ให้ส่งรหัส OTP มาที่โทรศัพท์เพื่อนนำไปกรอกยืนยันก่อนใช้บริการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเราจะรู้ได้ทันทีว่ามีใครมาทำอะไรกับแอคเคาท์ ทำให้ป้องกันตัวได้ทันท่วงทีไม่ตกเป็นเหยื่อของเหล่าแฮกเกอร์

Cyber Security

How-to Cyber Security : เปิดให้น้อย ก็จะปลอดภัยมากขึ้น

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของเราก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะเกิดช่องโหว่ในการโจมตี โดยเฉพาะในยุคที่จะกินอะไร จะไปเที่ยวไหน อยากบ่นใครอยากด่าใครก็ทำผ่านโซเชียล การเป็นสังคมที่ไม่มีการยับหยั่งชั่งใจในการคิดก่อนทำ แต่เป็นทำก่อนค่อยคิด อาทิ การคลิก ถูกใจ Like ก็5nvเป็นข้อมูลให้ผู้อื่นรู้ว่าคุณชอบหรือสนใจอะไร ทำให้ข้อมูลเฉพาะตัวถูกเอาไปใช้ได้ง่ายขึ้น

ทั้งจากนักการตลาด (ประกันนี่บ่อยเลยที่น่าจะได้ข้อมูลตรงนี้มาโทรหา) และผู้ไม่หวังดี ดังนั้นการเปิดเผยเรื่องส่วนตัวต่างๆ ก็ควรทำด้วยความรอบคอบ บางเรื่องที่ดูเล็กน้อยไม่น่ามีปัญหาก็อาจส่งผลเสียได้ เช่น การเช็คอินตำแหน่งที่อยู่ บอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-นามสกุล บ้านอยู่ไหน ทำงานอะไร วันเกิดวันที่เท่าไหร่ มีพี่น้อง กี่คน เพื่อนสนิทเป็นใคร เบอร์โทรศัพท์อะไร กำลังจะไปไหน ไปกับใคร

หรือชอบบอกให้โลกรู้ว่ามีใครอยู่บ้านบ้าง ระบบกันขโมยหรือกล้องวงจรปิดเสีย รถจอดหน้าบ้านในซอยเปลี่ยว กลับดึกเป็นประจำ ใช้ของมีค่า ฯลฯ เหล่านี้เป็นข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ บางคนก็โพสต์บอก สถานะส่วนตัวเสียอย่างกับเป็นเซเลป อาจคิดว่าอยากแชร์เปิดเผยแล้วไม่น่าจะมีอันตราย

แต่พอข้อมูลหลายๆ อย่างมารวมกัน ปะติดปะต่อจนอาจกลายเป็นโอกาสที่ผู้ไม่หวังดีจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น เอาไปแอบอ้างเป็นตัวเราหลอกผู้อื่นให้โอนเงินให้, รู้ว่ามีของมีค่าอาจแอบมาดักจี้ในซอยเปลี่ยว, บอกหมดเลยรถจอดหน้าบ้านไม่มียามก็เสร็จโจร, รู้ว่าไม่มีใครอยู่บ้านหลายวันก็ย่องมาขโมยของ, ระบบกันขโมย เสียใช่มั้ย ย่องมายกเค้าซะเลย เป็นต้น

หรือจะเป็นการชอบแชร์รูปภาพที่โพสต์ขึ้นไปบนอินเทอร์เน็ตก็มีการแอบเอาไปใช้กันบ่อยครั้ง บางรายถูกนำภาพที่อัพโหลดไว้บนอัลบั้มออนไลน์ไปใช้แอบอ้างเป็นคนอื่น แอบอ้างว่าคนนั้นเป็นเจ้าของภาพ นำไปตัดต่อเป็นภาพลามกอนาจาร บ้างก็ถูกนำไปเป็นภาพประกอบโฆษณาบนเว็บลามกหรือขายบริการก็มีให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ

ที่กล่าวมาเป็นเพียงแค่  2 ประเด็นที่ถูกพบเจอกันว่าโดนกันบ่อยๆ ในตอนต่อไปเราจะขอมาอะฺบายเพิ่มในส่วนของ ภัยที่เกิดขึ้นจาก “โดนเดักเก็บข้อมูลเมื่อเข้าเว็บ” และวิธี “ปิดโฆษณาบน FB ที่น่ารำคาญ” มาให้ทราบกัน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กสทช.

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่