หัวเว่ย (Huawai) ลงนามในข้อตกลง ข้อเรียกร้องซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลฝรั่งเศส หรือ “ปารีส คอล” (Paris Call) หวังยกระดับความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล
highlight
- Huawei Technologies co.,ltd. ได้เข้าร่วมโครงการ ปารีส คอล (Paris Call) หรือ ข้อเรียกร้องซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลฝรั่งเศส ให้มีการพัฒนาหลักการร่วมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิทัล
- Huawai ในการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการขยาย และปรับปรุงระบบการทำงานตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับของ แต่ละประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ บริษัทฯ จึงเต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลง “ห้ามสอดแนม (No-backdoor)” กับทุกประเทศ
- โครงการ ปารีส คอล นั้นเกิดขึ้นจาก ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ได้นำเสนอข้อตกลง Paris Call for Trust and Security in Cyberspace ต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตโลก ครั้งที่ 13 ในช่วงปี 2561
หัวเว่ย ร่วมลงนาม “ปารีส คอล” (Paris Call)
ในขณะที่โลกกำลังเรียกร้องหาเอกภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยในโลกดิจิทัล Huawei Technologies co.,ltd. ได้เข้าร่วมโครงการ ปารีส คอล (Paris Call) หรือ ข้อเรียกร้อง ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลฝรั่งเศส ให้มีการพัฒนาหลักการร่วมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และบริการดิจิทัล
ซึ่งข้อเรียกร้องระดับสูงดังกล่าวประกาศขึ้น โดยรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อปี 2561 เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาเรื่องอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายที่สุดของโลก ในฐานะสมาชิกของข้อเรียกร้อง Huawai ได้ร่วมกับองค์กรอีก 564 แห่ง
เพื่อประกาศพันธกิจในการทำงานร่วมกันเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลต่าง ๆ มีความปลอดภัยมากขึ้น และให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเกี่ยวกับการทำงานอย่างมีความรับผิดชอบในโลกไซเบอร์
Hauwai เห็นด้วยกับการ ห้ามสอดแนม (No-backdoor) กับทุกประเทศ
มร. เหริน เจิ้งเฟย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง ของ Huawai ให้ความเห็นว่า การตอบรับต่อข้อเรียกร้องนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของ Huawai ในการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการขยาย และปรับปรุงระบบการทำงานตามมาตรฐานสากลอย่างเข้มแข็ง
เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับของ แต่ละประเทศที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ บริษัทฯ จึงเต็มใจที่จะลงนามในข้อตกลง “ห้ามสอดแนม (No-backdoor)” กับทุกประเทศ
“เราเชื่อว่าเราสามารถเซ็นข้อตกลง “ห้ามสอดแนม (No-backdoor)”
ซึ่งในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมชั้นนำ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจของ Huawai มาตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทใช้งบประมาณมหาศาลไปกับการวิจัย เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ และโซลูชันที่ให้บริการมีความปลอดภัยมากที่สุด
และในอีก 5 ปีข้างหน้า Huawai จะทุ่มงบอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และบริการในทุกประเทศ
อนึ่ง โครงการ ปารีส คอล นั้นเกิดขึ้นจาก ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ได้นำเสนอข้อตกลง Paris Call for Trust and Security in Cyberspace ต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตโลก ครั้งที่ 13 ในช่วงปี 2561 เพื่อสร้างข้อตกลงด้านธรรมาภิบาล
โดยหวังว่าจะช่วยเสริมสร้างความไว้วางใจ และกระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เฉพาะอย่างยิ่งเพื่อยับยั้งการกระทำที่ประสงค์ร้ายด้วยอาวุธทางไซเบอร์ (CyberWeapons)
เช่น การแทรกแซงการเลือกตั้ง การเผยแพร่แนวคิดเกลียดชัง การเซนเซอร์ออนไลน์ และการโจรกรรมข้อมูลทางการค้า การทหาร รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคล
*ข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ มร. เหริน เจิ้งเฟย
ส่วนขยาย * บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ ** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว) *** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่