จากความหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจในหลายๆอุตสหกรรม ต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านการยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ดังนั้นวันนี้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องศึกษาเทคโนโลยีต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ล่าสุดทาง TCCtech ได้ออกมาเผยถึง 10 แนวโน้ม ของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงินซึ่งกำลังจะเข้าไปมีบทบาทต่อวงการธุรกิจ และจะเกิดขึ้นภายใน 3 ปี ข้างหน้า
โดย บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด หรือ ทีซีซีเทค (TCCtech) สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (TFTA) และบริษัทวิจัยระดับโลกInternational Data Corporation (IDC) ได้ประสานความร่วมมือ จัดเสวนา “Fintech Dynamics in Asia:เทคโนโลยีฟินเทคที่
โดยภายในงานดังกล่าวมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 70 ราย รวมถึงผู้ดูแลกฎระเบียบ (Regulator) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน นักลงทุนและผู้ประกอบการในธุรกิ
ทั้งนี้เวทีดังกล่าวประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1. การแนะนำวัตถุประสงค์ของการเปิดเวทีสัมมนาจาก TCCtech มุ่งเน้นการริเริ่มสร้างสรรค์และการนำเสนอเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเทคโนโลยีฟินเทค 2. การอัพเดททิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีฟินเทคในเอเชียแปซิฟิก
พร้อมกรอบการทำงานเพื่อความร่วมมือภายในอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสำเร็จของเทคโนโลยีฟินเทค 3. การแบ่งปันความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีฟินเทคที่นำเสนอ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยสามารถนำมาประยุกต์ และใช้ประโยชน์ได้
ตลอดจนความสำคัญเกี่ยวกั
ด้าน IDC Financial Insights ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่มี
10 แนวโน้ม เทคโนโลยี ที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบ
1. การวิเคราะห์พฤติกรรมด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การทุจริต และการป้องกัน/การตรวจจับทางไซเบอร์ จะถูกใช้โดย 15% ของธนาคารทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและบทลงโทษ
2. ในปี 2020 เทคโนโลยี Blockchain/distributed ledger จะถูกพัฒนาถึง 20% ของการทำธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) ทั่วโลก
3. ในปี 2019 การพัฒนา Cloud จะช่วยลดการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานถึง 25% ของธนาคารชั้นนำ
4. ในปี 2018 การจ่ายเงินด้วยมือถือโดย Near-field communication (NFC) จะเพิ่มขึ้นถึง 15% ทั่วโลก สะท้อนถึงความไม่แน่นอนว่าใครจะเป็นเจ้าของอุปกรณ์นี้
5. Disruptive Technology ต่างๆ หรือเทคโนโลยีที่สร้างตลาดใหม่และสร้างคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยีแบบ Cognitive ระบบอัตโนมัติที่ใช้หุ่นยนต์ Robotic process automation (RPA) และ Blockchain จะถูกนำมาใช้ถึง 50% ของธนาคารทั่วโลกในปี 2020 และเพิ่มการปฏิวัติดิจิทัลถึง 30%
6. การลงทุนใน Third Platform การค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ จะเติบโตขึ้นถึง 2 เท่า ของอัตราการใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันที่ให้บริการทางการเงิน (FSIs) ทั้งหมดในปี 2020 ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั่วโลกสูงกว่า 5 แสนล้าน
7. ในความพยายามที่จะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบ live chat ประมาณ 20% ของธนาคารจะเริ่มโครงการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof-of-Concept) ที่จะรวมทุกการสนทนาและการเชื่อมต่อต่างๆ ในรูปแบบการเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง (omni-channel) ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ปี 2017 นี้
8. ในปี 2018 ทุกๆ การบริหารความมั่งคั่งและบริษัทตลาดทุนจะสร้างหรือให้สิทธิใช้แพลตฟอร์ม หุ่นยนต์ที่ปรึกษา (Robo-Advisor Platform) หรือใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)ในการจัดการเงินทุน
9. ในปี 2019 ประกันภัยที่ขึ้นอยู่กับการใช้จริง (UBI) ถูกสร้างขึ้นโดย Internet of Things (IoT) จะถูกใช้อย่างน้อย 15% ในตลาดประกันรถยนต์ทั่วโลก และ 10% ในตลาดประกันที่อยู่อาศัยทั่วโลก
10. ในขณะที่การพัฒนาอย่างทั่วถึงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในปี 2017 เทคโนโลยีแบบ Cognitive จะถูกนำมาใช้ 15% ในธนาคาร โดยจะนำเสนอ “Voice banking” บนอุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ลูกค้า
เทคโนโลยีที่ Fintech มองหา
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน รวมทั้งฟินเทคต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะพัฒนา “ทุกอย่างที่จะช่วยนำสินค้าและบริการเข้าสู่ตลาด” จากโครงสร้างพื้นฐาน ไปสู่การประมวลผล การพัฒนาแอพพลิเคชั่น กระบวนการทำงานที่เข้าถึงง่ายและสะดวก ตลอดจนความสามารถในการทำงานของแอพพลิเคชั่น
สถาบันที่ให้บริการทางการเงินทั่วไปจะเสียประโยชน์อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งตกทอดมาจากยุคก่อน ในขณะที่ต้องประเมินว่าเทคโนโลยีอะไรที่จะนำมาผสมผสานกับเทคโนโลยีในอนาคต
ซึ่งฟินเทคสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้ดีกว่า ในมุมที่ไม่มีภาระที่ตกทอดมามากนัก แต่คือผู้รับมรดกจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นที่รู้กันว่างานที่แต่เดิมต้องทำด้วยการรวบรวมบันทึก คอมพิวเตอร์ส่วนตัว workflow และใช้คนทำงานจำนวนมาก
ปัจจุบันนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผ่านเทคโนโลยี Interface ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทสตาร์ทอัพยังเห็นว่ากิจกรรมทางการเงินส่วนใหญ่ รวมทั้งการจ่ายเงิน การบริหารความมั่งคั่ง การกู้ยืม และการ Refinance ต่างก็ต้องใช้ความเฉลียวฉลาดทางธุรกิจและการวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า
เช่นเดียวกับการกำหนดกระบวนการที่ฟินเทคจะนำมาใช้มัดใจลูกค้า เทคโนโลยีที่ผู้เข้าร่วมการเสวนาเชื่อว่าจะได้รับชัยชนะในตลาดได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุดประกอบด้วย
1. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
2. การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Machine Learning)
3. วิทยาศาสตร์ข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นสูง (Data Science and Advanced Analytics)
4. บริการ Cloud (Cloud services)
ทั้งนี้ 3 เทคโนโลยีแรกถูกจัดประเภทกว้างๆ อยู่ใน “การวิเคราะห์ข้อมูล” อันเป็นอนาคตขององค์กรต่างๆ ที่จะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Manual หรือด้วยการใช้แรงงานมนุษย์มหาศาล เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยพัฒนาสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ในการนำ Artificial Intelligence (AI) และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรมาใช้จริง
ซึ่งฟินเทคจะต้องเก็บข้อมูลจากการทำธุรกรรม (มากที่สุดและ real-time ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) และจะต้องมีแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้เพื่อจะประสาน รวบรวม และเก็บข้อมูลทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเทคโนโลยีลำดับที่สี่อันได้แก่แพลตฟอร์มและบริการ Cloud ที่เชื่อถือได้จึงมีความสำคัญ
โอกาสในด้านข้อมูลและ Cloud
นอกจากนี้ IDC Financial Insights ยังเปิดเผยว่า การวิเคราะห์จะถูกนำมาใช้ในบริษัทต่างๆ และการใช้งานที่หลากหลาย อันจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความต้องการข้อมูลที่เป็น real-time แม่นยำ และเป็นข้อมูลที่มีคุณค่า อันจะเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อกับลูกค้า
ธนาคารในวันนี้ควรจะเชื่อมโยงธนาคาร และเทคโนโลยีฟินเทค (Data Monetization) เพื่อให้สามารถสร้างธุรกิจที่มีรายได้จากธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากข้อมูล ทั้งนี้ในกรอบการทำงานของโมเดลธุรกิจที่ใช้ข้อมูลสร้างรายได้นั้น องค์กรจะต้องสร้างท่อข้อมูล ทั้งออกและเข้า
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มที่สมเหตุสมผล ซึ่งในที่สุดจะนำธนาคารและธุรกิจฟินเทคมาสู่คำถามว่าจะสร้างธุรกิจข้อมูลได้อย่างไร คำว่า “สมเหตุสมผล” จะต้องเข้าใจว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางครั้งอาจไม่มีการแลกเปลี่ยนด้วยเงิน ความเข้าใจของลูกค้าขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลที่แบ่งปันนั้นมีมูลค่ามากพอในการตอบโจทย์ด้านความพึงพอใจของลูกค้าหรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น สถาบันการเงิน (FSIs) ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและนำมาพัฒนาเพื่อยกระดับการให้บริการพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน อาทิ การเปิด API (Application Program Interface) เพื่อประสานฟินเทคกับองค์กรภายนอกที่เชื่อถือได้ การเปิดกว้างเพื่อการได้มา การใช้ และการส่งข้อมูล
ซึ่งจะทำให้ฟินเทคและสถาบันการเงินสามารถร่วมกันส่งมอบสินค้าและบริการได้ถูกต้องตามเวลาและสถานที่เพื่อประโยชน์ของลูกค้าในแง่ของประสิทธิภาพด้านต้นทุน รูปแบบการประมวลผลด้วย Cloud สะท้อนให้เห็นชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากรายจ่ายลงทุน (CAPEX)
ขณะนี้ได้เปลี่ยนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ในลักษณะการจ่ายค่าบริการ (as-a-service) ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น (pay-per-use) ช่วยให้ฟินเทคสามารถส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้าได้ด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น แม้สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการมานานยังเห็นประโยชน์อย่างชัดเจน
การพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มากขึ้นบน Cloud นี้จะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ลดลงของรายจ่ายลงทุน (CAPEX) ทำให้สามารถลงทุนเพิ่มขึ้นได้ด้านนวัตกรรมและการปฎิวัติดิจิทัล (Digital Transformation)
ความท้าทาย
ความท้าทายที่ฟินเทคต้องเผชิญในขณะที่พยายามจะประสบความสำเร็จในประเทศไทย ซึ่งแนวคิดหนึ่งที่ระบุคือกรอบแนวคิดเรื่อง 3U คือ 1. Utility (ความมีประโยชน์) 2. Usability (ความง่ายในการใช้) 3. Ubiquity (ความสะดวกในการเข้าถึงบริการ) ซึ่งในกรณีดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันในกลุ่มธุรกิจฟินเทค
ซึ่งยอมรับว่าประสบปัญหาในการเข้าถึงทั้ง 3 U สำหรับนวัตกรรมร่วมกันระหว่างฟินเทคและสถาบันบริการทางการเงิน (FSIs) ตามที่ IDC รายงานนั้น โดยส่วนมากใช้เวลาประมาณ 1 ปี กว่าจะนำสู่ตลาด (GO-TO-MARKET) นอกจากนี้ทางออกสำหรับความท้าทายข้างต้นถูกยกมากล่าวถึงเช่นกัน เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเลือกบริการและเทคโนโลยีที่ใช่
เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดจะนำมาสู่ปัญหามากมาย แทนที่จะเพียงตอบโจทย์กับความท้าทายต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเทคโนโลยีในการถูกสร้างมา ดังนั้นสิ่งที่ผู้ให้
- ความสามารถในการขยาย และต่อเติมโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะที่ธนาคารต้องทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ (ธุรกิจฟินเทค นายหน้า ผู้ให้บริการและผู้ให้ข้อมูล)
- กลยุทธ์เพื่อความปลอดภัยแบบเชิงรุก (Proactive security strategy) ในฐานะที่องค์กรย้ายระบบต่างๆ เข้าสู่การทำงานบน Cloud แบบหลากหลายและแบบผสมผสาน ในการช่วยสนับสนุนพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ
- การทำโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยโดยการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเพิ่มมูลค่า (Data monetization) นั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้หากขาดข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้
- มาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับด้านความเสถียรและความน่าเชื่อถือของศูนย์ข้อมูล เนื่องจากศูนย์ข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์หลักในการสนับสนุน Data monetization
- วิธีการใหม่ๆ ในการกำกับข้อมูลได้แก่นโยบายที่เกี่ยวกับการเข้าถึง การใช้ และความปลอดภัยของแหล่งข้อมูลทั้งหมด รวมทั้งเครือข่าย จะต้องบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่