Alibaba Business School

2 สตาร์ทอัพ ชั้นนำของไทย เป็นปลื้มหลังเข้าร่วมหลักสูตร eFounders รุ่นที่ 6 จาก อังค์ถัด (UNCTAD) และ อาลีบาบา บิซิเนส สคูล (Alibaba Business School) 

highlight

  • หลักสูตร eFounders Fellowship มีเป้าหมายที่จะให้โอกาสในการเข้าถึงประสบการณ์ด้านอีคอมเมิร์ซ และนวัตกรรมที่ทันสมัยต่าง ๆ โดยตรง จากผู้ประกอบการชั้นนำทั้งในประเทศจีน และจากทั่วโลก เพื่อให้สามารถนำความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ภายหลังการอบรม กลับไปใช้พัฒนาธุรกิจ และขยายเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน
  • โดยการอบรมครั้งที่ 6 นี้ ดึงดูดผู้ประกอบการจำนวน 48 ราย จาก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาจากสายงานที่แตกต่างกัน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce iณndustry) ฟินเทค (FinTech) การท่องเที่ยว (Tourism) การขนส่ง (Transportation) และบิ๊กเดต้า (Big Data)

2 สตาร์ทอัพ ชั้นนำของไทยเข้าร่วม Alibaba Business School

วามสำเร็จอีกขั้นได้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ประกอบการชาวเอเชียจำนวน 48 คน สำเร็จหลักสูตรการอบรม eFounders Fellowship รุ่นที่ 6 ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มจากความร่วมมือของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) ร่วมกับอาลีบาบาบิซิเนสสคูล (Alibaba Business School)

โดยหลักสูตร eFounders Fellowship มีเป้าหมายที่จะให้โอกาสในการเข้าถึงประสบการณ์ด้านอีคอมเมิร์ซ และนวัตกรรมที่ทันสมัยต่าง ๆ โดยตรง จากผู้ประกอบการชั้นนำทั้งในประเทศจีน และจากทั่วโลก เพื่อให้สามารถนำความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ภายหลังการอบรม กลับไปใช้พัฒนาธุรกิจและขยายเศรษฐกิจดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ และยั่งยืนในตลาดของตนได้ 

แจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหารของ อาลีบาบา กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษของอังค์ถั กล่าวว่า เรามีปณิธานที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในตลาดธุรกิจใหม่ ๆ โดยจะสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการด้านดิจิทัลจำนวน 1,000 คน จากประเทศที่กำลังพัฒนาภายในระยะเวลา 5 ปี 

และการจัดการอบรมให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นที่ 6 ที่ผ่านมานี้ ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่เข้าใกล้เป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้ โรงเรียนสอนธุรกิจของอาลีบาบา และอังค์ถัด ได้ร่วมกันฝึกอบรมผู้ประกอบการมาแล้วกว่า 212 คน จากทั่วเอเชีย และแอฟริกา ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

โดยการอบรมครั้งที่ 6 นี้ ดึงดูดผู้ประกอบการจำนวน 48 ราย จาก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาจากสายงานที่แตกต่างกัน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce iณndustry) ฟินเทค (FinTech) การท่องเที่ยว (Tourism) การขนส่ง (Transportation) และบิ๊กเดต้า (Big Data)

ซึ่งในภาพรวมผู้ประกอบการทุกรายได้สร้างงานไปแล้วกว่า 2,700 ตำแหน่ง และมีรายได้ร่วม 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีการบริการให้แก่หน่วยงานภาคธุรกิจและผู้บริโภคไปแล้วกว่า 7 ล้านแห่ง

ด้าน อาร์แลตต์ แวร์โปลเอค (Arlette Verploegh) ผู้ประสานงานโครงการ eFounders Fellowship ประจำ อังค์ถัด กล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เรากำลังมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคสังคมดิจิทัล โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมอบรมจะสามารถกลับไปช่วยพัฒนา

สภาพแวดล้อมด้านอีคอมเมิร์ซในระดับประเทศอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับบริษัทของตนด้วยหลัการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)  เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจภายในองค์กรและแผนธุรกิจ

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมยังจะได้รับการช่วยเหลือด้านงานวิจัยของอังค์ถัด ร่วมพูดคุยเสวนาเกี่ยวกับการประยุกต์การใช้งานด้านเทคโนโลยี ทั้งยังได้รับโอกาสในการเข้าร่วมงานสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ระดับนานาชาติ และนำความรู้ที่ได้ไปแบ่งปันกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนของตนได้

Alibaba Business School

ผู้เปลี่ยนเกมในโลกเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่

ในช่วง 12 วัน ที่ผู้เข้าร่วมการอบรมได้มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อกัน โดยนำการทำธุรกิจของอาลีบาบามาเป็นกรณีศึกษา ทำให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ว่า ปัจจัยสำคัญใดบ้างที่ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จ รวมถึงความท้าทายต่างๆ ที่ได้พบเจอระหว่างทาง ที่ทำให้อาลีบาบากลายเป็นดังเช่นทุกวันนี้ได้

และนอกจากนี้ จากการเข้าห้องเรียน และการเดินทางไปดูงานตามสถานที่ต่างๆ จะทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนได้เรียนรู้ถึงวิถีเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลของจีนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้และประสบการณ์เหล่านี้มาประยุกต์ ใช้กับธุรกิจของตน

สร้างความแตกต่าง และการพัฒนาภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการทบทวนแผนธุรกิจของพวกเขาเทียบกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการยังสามารถพัฒนาความรับผิดชอบทั้งต่อสังคม และต่อโลกได้อีกด้วย

ไบรอัน หว่อง (Brian Wong) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อาลีบาบา กรุ๊ป และประธานเครือข่ายโกลเบิล อีคอมเมิร์ซ ทาเล้นท์ กล่าวว่า ในการจัดโครงการครั้งนี้ เรามุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเข้ากับสังคมของตน

โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและวิธีบริหารธุรกิจให้เกิดการพัฒนาต่อสังคมที่ยั่งยืนและมั่นคง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของตนให้เติบโตเป็นอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญในอนาคต

 

QueQ และ StockRadars เผยความรู้สึกหลังเข้าร่วม

นอกจากจะได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลของจีน และคำแนะนำด้านการดำเนินธุรกิจจากอาลีบาบาแล้ว โครงการยังมุ่งเน้นการสร้างมิตรภาพและเครือข่าย โดยมีกิจกรรมต่างๆ มากมายให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ทำความรู้จักกัน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมโครงการด้วยกันเอง และกับวิทยากรผู้สอน

ในระหว่างการเดินทางไปยังหมู่บ้าน Bainiu ในมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบแห่งหนึ่งของประเทศจีน ชาวบ้านในหมู่บ้านต่างได้นำระบบอีคอมเมิร์ซมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และส่งเสริมบางคนได้ร่วมงานกับบริษัท Taobao ในการส่งออกสินค้า

นอกจากนี้ยังเป็นหมู่บ้านที่มีวัฒนธรรมโบราณอันเก่าแก่ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้ร่วมเฉลิมฉลองประเพณีเรือมังกรกับชาวบ้าน และร่วมทำ Zongzi หรือที่รู้จักเป็นอย่างดีในไทยว่า “บะจ่าง” ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าถึงวัฒนธรรมโบราณของจีนอย่างใกล้ชิด

อังค์ถัด และอาลีบาบา มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยสามารถนำสิ่งที่ได้กลับไปปรับใช้ในสังคมและประเทศของตน และยังมีการติดตามการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ 3 เดือน เพื่อสนับสนุน และติดตามความก้าวหน้าของพวกเขา

และเมื่อสำเร็จการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องสัญญาว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีต่อจากนี้ ต้องประยุกต์สิ่งได้ที่เรียนรู้มาเพื่อพัฒนาชุมชน และร่วมเครือข่าย eFoundersFellowship เพื่อเป็นการให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ และร่วมมือขับเคลื่อนโครงการไปสู่ระดับภูมิภาค และระดับโลก

โครงการ eFounders Fellowship มีจุดประสงค์ที่จะสร้างชุมชนนานาชาติอย่างแท้จริง โดยจะเริ่มต้นจากการเข้าเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของอาลีบาบาภายในประเทศจีน ตามด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการเป็นระยะเวลาต่อเนื่องถึง 2 ปี

ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการที่ยังคงผูกสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ออกมาปฏิบัติภารกิจร่วมกัน พร้อมทั้งช่วยกันติดตามผลงานต่างๆ ของกันและกัน รวมถึงมีการจัดมีตติ้งกัน

โดยในวันพุธที่ 19 มิถุนายนนี้ ชาวสมาคมจะมีการรวมตัวกันอีกครั้ง ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองความก้าวหน้าที่พวกเขาทุกคนต่างได้ทำตามแบบแผนจากที่ได้เรียนรู้มาจากการฝึกอบรมดังกล่าวที่ผ่านมา

Alibaba Business School

รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO & Co-Founder บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของแอพฯ คิวคิว (QueQ) กล่าวว่า โครงการนี้ได้เปลี่ยนมุมมองของผมที่มีต่อเทคโนโลยีไปอย่างสิ้นเชิง เทคโนโลยีนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่สร้างมาเพื่อทำให้คนเห็นแล้วรู้สึก ว้าว!” เท่านั้น

แต่มันสามารถช่วยแก้ปัญหาสังคม สร้างความเท่าเทียม แถมยังสามารถเปิดโอกาสให้คนที่มีไอเดียสร้างสรรค์อะไรขึ้นมาก็ได้มากมาย ถ้าคุณถามผมว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ผมได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้คืออะไร ผมก็จะตอบว่า การที่ได้เห็นว่าอาลีบาบาสามารถสร้างอะไรมากมายให้กับโลกใบนี้ ไม่ใช่แค่สำหรับประเทศจีนเท่านั้น แต่สำหรับคนทั้วโลกด้วย

ด้าน ธีระชาติ ก่อตระกูล ผู้ก่อตั้ง บริษัท สยามสแควร์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น สต็อคเรดาร์ (StockRadars) กล่าวว่า ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ถูกเลือกให้เข้ามาร่วมโครงการ eFounders Fellowship ผมได้เรียนรู้ที่จะมองไปในอนาคต แล้วดูว่ามันน่าจะเป็นยังไงพร้อม ๆ

กับเพื่อน ๆ ที่เป็นผู้ประกอบการเหมือนกันแต่มาจากหลากหลายธุรกิจ ประสบการณ์ที่ผมได้รับเปรียบเสมือนการได้นั่งไทม์แมชชีนเพื่อไปดูอนาคต ว่าเทคโนโลยีจะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างไร ผมประทับใจเป็นพิเศษตอนที่รู้เกี่ยวกับความฝันของอาลีบาบา ที่อยากจะเชื่อมโยงทั้งโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

ซึ่งก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผม และเพื่อน ๆ ในโครงการ eFounders ในการสร้างสรรค์ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีของเราต่อไปเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราต่อไป

ผู้สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย Asia eFounders Fellowship สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://activity.alibaba.com/supplier/efounders-fellowship-class-8.html

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่