Smart Healthcare
การก้าวสู่ Smart Healthcare เป็นหนึ่งในความท้าทายของภาครัฐในการผลักดันระบบสาธารณสุขของไทยให้ก้าวไปอย่างถูกต้องถูกทาง เพื่อสร้างระบบการรักษาพยาบาลที่มีสุขภาพ

ปัจจุบันระบบสาธารณสุขของไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายในการบริหารจัดการระบบไอทีในหลายด้าน ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่สอดคล้องกับการใช้งาน

และระบบการเชื่อมโยงข้อมูลของระบบสาธารณสุขของไทย รวมถึงการจัดลำดับชั้นความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลต่อไปนี้ 4 ประการ ที่ท้าทายในการจัดการระบบไอทีของสาธารณสุขไทย

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับแพทย์ พยาบาล

Smart Healthcare
สร้างกระบวนการเรียนรู้

เป็นหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นในแทบทุกโรงพยาบาล เมื่อแพทย์และพยาบาลประสบปัญหากับการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ และต้องมีการเทรนนิ่งเพื่อให้สามารถใช้งานระบบใหม่ได้อย่างเต็มที่ แต่กลับพบว่าแพทย์และพยาบาลเคยชินกับระบบเก่า

และไม่มีเวลาเรียนรู้ระบบใหม่ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล และนำไปสู่ปลายทางของการพัฒนาระบบการแพทย์ที่ไม่สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาบริการทางการแพทย์ได้

ขณะที่แพทย์เองก็ต้องโฟกัสกับการรักษาคนไข้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดและละเลยการ Input ข้อมูลเพราะเห็นว่ามีความสำคัญน้อยกว่า ในสหรัฐอเมริกา รัฐกำหนดให้การ Input ข้อมูลเป็นหนึ่งใน Patient Safety

ที่หมอและพยายาลต้องปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้เกิดระบบการจัดเก็บข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพให้ประสบความสำเร็จในที่สุด

2. การรักษาแบบ Smart Healthcare

Smart Healthcare

ปัจจุบันระบบสมาร์ท เฮลท์แคร์ของไทยสามารถเดินหน้าไปได้เฉพาะในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการช่วยดูแล ติดตาม เฝ้าระวังผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่วิเคราะห์ Big Data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้

ตัวอย่างเช่น การรักษาโรคท้องร่วง ระบบการรักษาพยาบาลของไทยยังขาดระบบที่ช่วยวิเคราะห์ ว่าแนวทางการรักษาแบบใดจะเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งในเรื่องเพศ อายุ ตัวยา และแนวทางการรักษา

ในต่างประเทศ ได้มีการนำระบบฐานข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยมาช่วยในการพยากรณ์แนวทางการรักษา (Predictive) โดยนำประวัติคนไข้มาเทียบกับฐานข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยทั่วประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ทำให้ผลการรักษาที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ มีสถิติการรักษาที่ดีขึ้น

แนวทางรักษาแบบสมาร์ท เฮลท์แคร์แม้จะเป็นแนวทางที่ได้ผลดี แต่ในบ้านเรายังติดปัญหาในเรื่องการจัดเก็บเพราะการพยากรณ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการ Input ข้อมูลเข้าระบบเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเองยังขาดมีอุปสรรคในด้านนี้

3. Smart Data ก้าวสำคัญของ การแพทย์อัจริยะ

Smart Healthcare

อีกประการที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการก้าวสู่สมาร์ท เฮลท์แคร์คือการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลด้วยกัน ปัจจุบันระบบสาธารณสุขของไทยยังไม่มีการบูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามยังมีความพยายามจากภาครัฐในการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวเข้าด้วยกัน

โดยปัจจุบันเป็นโครงการนำร่องของภาครัฐนำโดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการ ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Record) ที่ดำเนินการกับจังหวัดต้นแบบ 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ และกาญจนบุรี

ภายใต้รูปแบบของการรวมศูนย์ข้อมูลที่เรียกว่า PHR Data Center เพื่อเปิดเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลและบริการสาธารณสุข และเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของแต่ละคนได้

ส่วนในภาคเอกชนนั้น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพก็เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงพยาบาลที่การเชื่อมโยงประวัติคนไข้เข้าหากัน โดยผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพนั้น สามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลในเครือแห่งใดก็ได้ โดยโรงพยาบาลที่เครือนั้นสามารถจะดึงแฟ้มประวัติคนไข้

และประวัติการรักษาจากฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ในการดูแลรักษาคนไข้ได้ ซึ่งปัจจุบันการเชื่อมโยงดังกล่าวใช้ได้กับโรงพยาบาลในเครือ 50 แห่งเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการแชร์ข้อมูลยังต้องคำนึงถึง ระเบียบในการเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยด้วย เพราะข้อมูลของผู้ป่วยถือเป็นความลับที่จะดูได้เฉพาะแพทย์ที่ได้รับคำอนุญาตเท่านั้น

ดังนั้นการแชร์ข้อมูลของผู้ป่วยจึงต้องมีระบบความปลอดภัยชั้นสูงรองรับ และต้องมีระบบการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสมอีกด้วย เพื่อป้องกันการนำข้อมูลของผู้ป่วยไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง

4. Patient Safety ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึง

Smart Healthcare

ในการก้าวสู่ สมาร์ท เฮลท์แคร์ นั้น นอกจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้วให้ดีขึ้นแล้ว ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือเรื่อง Patient Safety ที่ต้องมีการให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ยังต้องกระตุ้นภาครัฐให้เกิดจิตสำนึกในการบริหารจัดการ กำหนดกฎระเบียบ และแนวทางป้องกัน ปัญหาเรื่อง Patient Safety ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ภาครัฐควรจะมีบทบาทในการกำหนดกติกาให้ชัดเจน

ทั้ง 4 ประการเป็นอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งสมาร์ท เฮลท์แคร์ให้เกิดขึ้นได้ช้ากว่าที่ควร และเป็นสิ่งที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ระบบสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : พิพัฒน์ (Editors)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่