พฤติกรรมของเหล่านักโจรกรรมทางไซเบอร์ หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อของ Hackers ในปัจจุบันนั้นเรามักจะนึกถึงบุคคลอันตราย หรือกลุ่มบุคคลที่สร้างเสียหายให้แก่องค์กรธุรกิจ และทำให้องค์กรสูญเสียรายได้ไปแล้วเป็นหลักหลายหมื่นล้านทั่วโลก แต่หากมองในอีกแง่มุมเราควรจะต้องขอบคุณพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

Thanks to Hackers

ที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าควรชื่นชม หรือยกย่องพฤติกรรมของนักโจรกรรมเหล่านี้ แต่มองในแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจคือ เราได้เห็นอะไรบ้างสิ่งที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมในธุรกิจต่างๆ หากขาดความระมัดระวังในการป้องกัน และศึกษาให้ดีถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน และหากมองเหตุผลที่มองเป็นประโยชน์ก็สามารถแยกออกมาเป็น 5 เหตุผลด้วยกัน

Hackers

กำเนิดแฮกเกอร์หมวกขาว

เหตุผลข้อแรกที่เราควรขอบคุณ แฮกเกอร์ คือ การเข้าโจมตีนั้นทำให้เกิดกลุ่มก้อนนักโจมตีหลายๆกลุ่ม ที่แม้มีความเชี่ยวชาญคล้ายกันแต่ก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ในกลุ่มที่เป็นสาย “หมวกดำ” วัตถุประสงค์ก็อย่างที่ทราบกันดีว่ามุ่งโจมตีเพื่อแสวงหาผลกำไรจากช่องโหว่ในระบบเทคโนโลยีที่องค์กรต่างๆใช้อยู่

ในขณะพวก “หมวกเทาๆ” แม้จะไม่ได้มุ่งโจมตีเพื่อแสวงหาผลกำไรแต่ก็ได้สร้างความเสียในด้านของกฏระเบียบทางสังคม เช่นการแอบเอาข้อมูลส่วนตัวของบุคคลมาเผยแพร่ ซึ่งสร้างความเสื่อมโทรมในสังคมเป็นอย่างมาก แต่ด้วยการทำเช่นนี้ก็ทำให้เกิดกลุ่มนักโจรกรรม “หมวกขาว” ขึ้นมาด้วย

โดยในกลุ่มของหมวกขาวนี้ไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องผลกำไร และสร้างความเสื่อมเสียในสังคม แต่จะทำการ แฮกระบบขององค์กรต่างๆ เพื่อทดสอบ และปรับปรุงความปลอดภัยเพื่อไม่ให้แฮกเกอร์อีก 2 ประเภท ที่กล่าวในข้างต้น สามารถโจมตีได้สะดวกมากขึ้น

ซึงในความเป็นจริงนั้นกลุ่มหมวกขาวนี้ ในทางวิชาชีพคือกลุ่มที่ทำงานในระบบเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยข้อมูล แต่ถึงอย่างนั้น เรากลับพบว่า มีเพียง 24 % ของกลุ่มที่ทำงานทำงานด้านระบบเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยเท่านั้น ที่สนใจที่จะมาทำงานด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์

และแน่นอนว่าในปัจจุบันเป็นที่ต้องการในทุกวงการธุรกิจอย่างมาก โดยจากการสำรวจของ Semper Secure ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2013 กลุ่มคนที่ทำงานด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ นี้สามารถทำรายได้เฉลี่ย 116,00 เหรียญต่อปี (ประมาณ 387,717 บาท เมื่อเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน )

ซึ่งถือว่ารายได้ดีเลยทีเดียว และหากคิดถึงการโจมตีที่เพิ่มสูงขึ้นมากในปัจจุบัน คาดว่ารายได้น่าจะมากกว่าที่ได้มีการเปิดเผยไว้ 5 ที่แล้ว จึงกล่าวได้ว่านับเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่น่าจะเลือกทำงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตัวเอง และครอบครัวได้

Hackers

แฮกเกอร์ช่วยทำให้เครื่องพีซีของคุณทันสมัยยิ่งขึ้น

ย้อนกลับไปยุคที่คอมพิวเตอร์ยังเป็นเพียงอุปกรณ์ที่มีไว้ใช้เพียงเพื่อช่วยงาน หรือเพื่ออำนวยความสะดวก เรื่องของภัยคุกคามทางไซเบอร์จากเหล่า แฮกเกอร์ อาจจะไม่ใช้เรื่องที่คุณต้องหวั่นวิตก เพราะด้วยราคาที่แพง เกินกว่าจะองค์กรจะลงทุนมาใช้กับทุกฝ่ายขององค์กร ดังนั้นการโจมตีในสมัยก่อนจึงเป็นเพียงเรื่องของการโจมตีเพื่อความสะใจ

หรือลองภูมิความรู้ของ แฮกเกอร์ ที่สร้างความเสียหายเป็นกลุ่มคนไม่กี่กลุ่มเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นเหล่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีต่างๆก็มองเห็นโอกาส และได้ออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และปลอดภัยมากขึ้นออกมาเสนอขายให้แก่ตลาด ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเหล่าแฮกเกอร์ตามทัน เหล่าผู้ผลิตก็หนีไปเช่นกัน

มันจึงกลายเป็นเกมส์การต่อสู่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้จ้องจะโจมตี และทำให้เกิดการแข่งขันจนทุกวันนี้เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี และคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค ที่ทันสมัย ร่วมถึงโซลูชั่นต่างๆ มาช่วยยกระดับในการทำงานอย่างเช่นในปัจจุบัน

Hackers

แฮกเกอร์คือบางส่วนของ Coders ที่ดีที่สุด

ผู้ที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์หลายคนเริ่มหันมาสนใจการออกแบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมใหม่ ๆ หลายๆ คนคิดว่าตัวเองเป็นแฮ็กเกอร์ที่เก่ง และเป็นโปรแกรมเมอร์ที่น่าทึ่ง เพราะสามารถเขียนรหัสในการเจาะช่องโหว่ของโปรแกรม ได้ ซึ่งก็อาจจะไม่ได้เป็นคำกล่าวอ้างยกตัวเองที่เกินจริงไปนัก

เพราะหลายๆกรณีของชุด รหัส ที่เหล่า แฮกเกอร์ ใช้คือ การใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ในการทดสอบ และปรับปรุง มัลแวร์ โทรจัน ฯลฯ อีกมาก ของตนเอง ในการเข้าโจมตี และพัฒนาไปจนเป็นกลุ่มที่เราเรียก “แฮกกาธอน” (Hackathon) ที่ทำงานแบบมาราธอนเพื่อพัฒนาชุดรหัสใหม่ๆออกมา ใช้งาน

แต่การทำเช่นนั้นก็ให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ถูกนำมาใช้ถูกพัฒนามากขึ้น และทำให้เจ้าของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสามารถนำบางส่วนจากชุดรหัสใหม่ที่นักโจรกรรมมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับ บริษัท ซอฟต์แวร์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ และสร้างบริการใหม่ๆออกมาได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันได้มีการจัดแข่งขัน แฮกกาธอน (Hackathon) เพิ่มขึ้น

ทั้งในรูปแบบของการแข่งขันจากบุคคลภายนอก หรือการแข่งขันภายในองค์กรเองเพื่อเตรียมใช้กับผลิตภัณฑ์จริงๆ ของธุรกิจของบริษัท อย่างที่เราเห็นแอปพลิเคชั่นที่มีฟีเจอร์โอนเงินด้วยเสียงความถี่สูงจากผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมแถวย่านรัชดา-พระราม9  ในบ้านเรา

Hackers

แฮกเกอร์ได้ทำบางสิ่งที่มหัศจรรย์

ที่กล่าวเช่นนนี้เพราะเมื่อเอ่ยถึงคำว่า “แฮกเกอร์” หลายคนน่าจะถึงถึงแต่การกระทำที่ไม่ค่อยดี และหยักไปในทางสร้างความเสียหายซะมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว แฮกเกอร์ นั้นไม่ใช่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่จะสร้างแต่ความเสียหายแก่เทคโนโลยีเท่านั้น เพราะแฮกเกอร์หลายๆคนที่เมื่อค้นพบจุดบอด หรือโอกาส

จากช่องว่างของเทคโนโลยี ก็สามารถนำความรู้ความเชี่ยวชาญมาสร้างสรรค์สิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกทั้งใบได้เลยทีเดียว หลายท่านอาจแปลกใจถ้าจะบอกว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้ง เฟสบุ๊ค (Facebook) หรือสังคมโซเชียลยอมนิยมอันดับ 1 ของโลก ในปัจจุบัน คือ แฮกเกอร์ คนหนึ่งของโลก

ที่มองเห็นโอกาสจากทักษะที่ตนมีมาสร้างสิ่งมหัศจรรย์ที่คนไทยหลายคนแทบติดงอมแงม และสร้างรายได้ในตัวเองจนติดอันดับคนรวยในอันดับต้นๆของโลกไปแล้ว หรือไลนัส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ผู้สร้างระบบ Linux ก็เป็นแฮ็กเกอร์เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกันกับ ทิม เบอร์เนอร์ส- ลี (Tim Berners-Lee) ผู้ที่สร้าง “Wold Wide Web  : www” ขึ้นมา

Hackers

แฮกเกอร์เป็นผู้นำนักวิจารณ์

เหตุผลสุดท้ายที่ต้องขอบคุณเหล่าแฮกเกอร์ และเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ว่าจริงหรือไม่ แต่ส่วนตัวแล้วเชื่อว่าแนวคิดนี้มีน้ำหนักมากขึ้น เพราะจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ให้มีทั้งโซลูชั่น และแอปพลิเคชั่นใหม่ออกมาให้เลือกใช้กันมาอย่างมากมาย ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปอาจเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ทันทีว่าซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ ๆ

มีการปรับปรุงดีขึ้นจริงหรือไม่ แต่ซึ่งที่ แฮกเกอร์ ทำคือการใช้ความผิดพลาด และช่องโหว่ของโซลูชั่น และแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ของบริษัทฯที่คิดค้น โจมตี และทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งในมุมนี้จะสะท้อนให้ผู้ใช้งานระบบต่างๆ เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทฯเหล่านั้น ซึ่งทำให้บริษัทฯที่คิดค้นต้องระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในทางอ้อม

 

ส่วนขยาย
เรียบเรียง : ชลัมพ์ ศุภวาที บรรณาธิการ ELEADER
ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่