หลายคนที่เริ่มทำอไจล์มาสักพักก็จะมีคำถามกับตัวเองว่า เราทำอไจล์ได้ดีแค่ไหน อย่างนี้เรียกว่าอไจล์หรือยัง ซึ่งหลายคนถามหาตัวชี้วัด กูรูบางท่านก็ตอบว่าให้วัดจากความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ระยะห่างระหว่างอไจล์ทีมกับลูกค้านั้น มีระยะห่างมาก และมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายปัจจัยซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า แต่ไม่อยู่ในการควบคุมของทีมอไจล์

กับคำถามข้างต้นนี้ Scaled Agile Framework (SAFe) ให้คำตอบเรื่องการวัดผลการทำงานของทีมอไจล์ไว้อย่างน่าสนใจ

SAFe เสนอว่า ทีมอไจล์ที่ดีนั้นควรมองย้อนเพื่อวัดผลการทำงานของตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและสม่ำเสมอ โดยตรวจวัดสุขภาพของทีมใน 5 หมวด ได้แก่
1. Product Ownership
2. Release
3. Sprint
4. Team
5. Technical
(แทรกภาพ Team Agility Assessment Rader Chart : File Agile Enterprise_318_pic1) อ้างอิง: ที่มาจาก Lean In Consulting
Product Ownership Health
Product Owner (PO) จะต้องสนับสนุนให้มี User Story โดย User story ที่ดีจะมีขนาดเล็ก และมีคุณค่าทางธุรกิจในตัวเอง การที่ User Story มีขนาดเล็ก จะทำให้ระยะเวลาในการพัฒนาสั้นลง สิ่งสำคัญคือขนาดจะต้องไม่เล็กเกินไป จนขาดคุณค่าที่ลูกค้าจะนำ
ไปใช้ได้

User story ทั้งหมดจะบรรจุอยู่ใน Product Backlog โดยเรียงลำดับความสำคัญตามคุณค่าทางธุรกิจ โดย Product Backlog นี้จะต้องได้รับการทบทวน และจัดลำดับความสำคัญใหม่เป็นประจำ

Release Health
ทีมซึ่งเป็นผู้สร้างคุณค่าที่แท้จริงจะเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการ Release ได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญคือ เมื่อมีการ Release แล้วจะต้องมีการรีวิวเพื่อตรวสอบว่า สิ่งใดที่ทำได้ดี สิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการทำงาน

ความสำเร็จในการวางแผนการ Release ขึ้นกับการจัดวางลำดับความสำคัญของ User Story ใน Product Backlog เป็นสำคัญ Product Backlog จึงต้องมีการแตก Feature และจัดลำดับความสำคัญอย่างเหมาะสม

ในการทำงานในโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่นั้น มักจะมีทีมทำงานร่วมกันมากกว่าหนึ่งทีม การประสานงานระหว่างทีมได้อย่างมั่นใจ จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีอุปสรรคที่ต้องร่วมมือกัน

Sprint Health
ทีมจะต้องร่วมไม้ร่วมมือในการทำ Sprint Plan ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการกำหนด Sprint Goals ที่ชัดเจนทุกครั้ง และสัญญาว่าจะทำให้สำเร็จ โดยทีมจะต้องใช้ Acceptance Criteria และ Definition of Done ในการกำหนด ความสำเร็จของ Story ทีมที่ทำงานได้ดีจะมีความคลาดเคลื่อนน้อยในการกำหนด Velocity ของแต่ละ Sprint และสามารถ Deliver ได้ตาม Sprint Goals อย่างสม่ำเสมอ

Team Health
ทีมที่มีสุขภาพดีจะประกอบด้วยสมาชิกทีม สามารถจัดระเบียบกันเองได้ มีความเคารพกันระหว่างคนในทีม มีการช่วยเหลือกันเพื่อ
ให้สำเร็จตาม Sprint Goals มีการพึ่งพาอาศัยกัน และทำงานสอดคล้องกันภายในทีม โดยหากมีการทำงานร่วมกันมากกว่าหนึ่ง
ทีม ก็สามารถประสานงานระหว่างทีมได้อย่างสอดคล้องกัน

ทีมจะมีการวางแผนประจำวัน (Daily Meeting) อย่างร่วมไม้ร่วมมือ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยทุกคนมีส่วนร่วม มีการให้ Status ที่ชัดเจน มีการหยิบยกประเด็นปัญหามาพูดคุย อุปสรรคได้รับการขจัด และมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน และมีการทำ Retrospective หลังจบแต่ละ Sprint และทำการปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Technical Health
การที่ทีมจะสามารถรักษาประสิทธิภาพในการทำงานไว้ได้ ทีมต้องสามารถลด Technical Debt อย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ Sprint โดยการปรับปรุงคุณภาพให้สามารถทำได้ โดยมีการทำ Refactor อย่างต่อเนื่อง และจัดให้ Automated Acceptance Test และ Unit Test เป็นส่วนหนึ่งของ Definition of Done ของ Story และมีการปรับปรุง Infrastructure สำหรับทำ Continuous Integration, Build และ Test Automation อย่างต่อเนื่อง
(แทรกภาพ Scaled Agile : File Agile Enterprise_318_pic2) อ้างอิง: ที่มาจาก Lean In Consulting

กระบวนการวัดผล
SAFe กำหนดให้วัดสุขภาพของทีมทั้ง 5 หมวดนี้ โดยใช้วิธี self-assessment กล่าวคือ สมาชิกทุกคนในทีมจะร่วมกันประเมิน ให้คะแนนในแต่ละหมวด แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ โดยใช้แบบฟอร์ม SAFe Team Self-Assessment

แน่นอนว่าในการทำ self-assessment เช่นนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่สมาชิกในทีมแต่ละคนจะให้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่ตรงกัน แต่ความเห็นต่างกันนี้เองจะเปิดโอกาสให้ทีมได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแบ่งปันมุมมองและความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ผลการ ประเมินจะทำให้ทีมได้ทราบว่าควรจะโฟกัสไปที่สุขภาพของทีมด้านใด หากทีมได้ทำ self-assessment อย่างสม่ำเสมอ การ