ทำสำเร็จ นักวิจัยใช้ AI แก้ไขปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญรังสีมะเร็งปอด
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard สามารถเขียนใช้อัลกอริทึ่มควบคู่กับปัญญาประดิษฐ์ เรียนรู้การฉายรังสีสำหรับมะเร็งปอด เพื่อทดแทนการหาผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องราวเกิดขึ่้นเมื่อนักวิจัยในสถาบันเหล่านั้น ได้อธิบายวิธีการในการพัฒนาแพลตฟอร์ม AI โดยเปิดประกวดบนเว็บไซต์ Topcoder.com เพื่อเปิดให้นักพัฒนาออกแบบอัลกอริทึ่มให้เหมาะสมกับการเรียนรู้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสี โดยมีเงินรางวัล $55000
การประกวด Topcoder มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างอัลกอริทึมและปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถระบุเนื้องอกในปอดและระดับรังษีในการรักษา โดยวิธีการนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาบุคลากรด้านเนื้องอกรังสีวิทยาที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั่วโลกได้ ซึ่งโรคมะเร็งปอดทำให้เรามีผู้เสียชีวิตราว 150,000 คนในสหรัฐอเมริกาในปี 2561
อย่างไรก็ตามปัญหาทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงพอ ทำให้แพทย์ไม่สามารถเข้าถึงผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสจำนวนมากทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ถึงแม้ว่าประมาณ 58% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดจะเกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า แต่ประเทศเหล่านี้มีปัญหาการขาดแคลนนักรังสีวิทยาด้านรังสีโดยมีนักรังสีวิทยาด้านรังสีประมาณ 23,952 คนที่ต้องการใน 84 ประเทศ
การเข้ามาของ Ai ในจุดนับว่าเป็นกาารแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เพราะการจะฝึกนักรังสีวิทยาที่มีคุณภาพนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร และความต้องการนักรังสีวิทยานั้นก็เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่สร้างบุคลลาเท่าเดิม….