Alipay

อาลีเพย์ (Alipay) เผย ประเทศไทยยังครองแชมป์อันดับสองจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาช้อปต่างแดนช่วงวันหยุดแรงงานปี 2562…

highlight

  • อาลีเพย์ เผยพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแอพออนไลน์เพย์เมนต์ ในช่วงวันหยุดแรงงาน (1-3 พฤษภาคม) ที่ผ่านมา พบว่า ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนผ่านบริการอาลีเพย์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 11% เป็น 1,790 หยวน (ประมาณ 8,400 บาท) โดยประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2

Alipay เผย ไทยขึ้นแท่นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว No.2 ของชาวจีน

มาถึงอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญที่ทางอาลีเพย์wfhเผยข้อมูลสำคัญ ซึ่งจัดทำโดย อาลีเพย์ ภายใต้การดำเนินงานของเเอนท์ ไฟแนนเชียล เผยพฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแอพออนไลน์เพย์เมนต์

ในช่วงวันหยุดแรงงาน (1-3 พฤษภาคม) ที่ผ่านมา พบว่า มียอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนผ่านบริการอาลีเพย์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 11% เป็น 1,790 หยวน (หรือ 8,400 บาท) ในช่วงวันหยุดแรงงานที่ผ่านมา โดยประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รวมถึงประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ติดอันดับ 10 ประเทศที่มียอดใช้จ่ายผ่านอาลีเพย์ในต่างประเทศสูงสุดโดยประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 2 สำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มอาลีเพย์ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ตามหลังฮ่องกง

Alipay 

ซึ่งครองอันดับ 1 ขณะที่มาเลเซียอยู่อันดับที่ 7 และสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 9 จาก 10 ประเทศที่มียอดใช้จ่ายผ่านอาลีเพย์ในต่างประเทศสูงสุดในระหว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 40% จากปีที่แล้วในช่วงวันหยุดแรงงาน

โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ค้าหลายหมื่นรายรับชำระเงินผ่านอาลีเพย์จากนักท่องเที่ยวชาวจีน  ผลการศึกษาก่อนหน้านี้จากบริษัทวิจัยข้อมูลนีลเส็น (Nielsen)และอาลีเพย์ระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนกว่า 90% จะใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือในต่างประเทศถ้าหากว่าสามารถทำได้

ข้อมูลสำคัญในรายงาน

  • ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนผ่านบริการอาลีเพย์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 11 เปอร์เซ็นต์เป็น 1,790 หยวน (หรือ 8,400 บาท)
  • ในแง่จำนวนการทำธุรกรรมนั้น ประเทศไทยติดอันดับสองของจุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวด้วยยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,153 หยวน (หรือ5,400 บาท) ซึ่งเกือบจะเท่ากับวันแรงงานปีที่แล้วที่มียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 1,122 หยวน (หรือ 5,270 บาท)
  • มาเลเซียและสิงคโปร์อยู่อันดับที่ 7 และ 9 ในแง่ยอดการใช้จ่ายของคนจีนภายในประเทศ

Alipay 

ผลการศึกษาที่สำคัญในประเทศไทย

  • ช่วงวันหยุดแรงงาน ผู้ประกอบการที่มีอัตราการเติบโตทางธุรกรรมสูง ได้แก่ แท็กซี่และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด
  • ผู้ประกอบการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายสินค้าปลอดภาษี (Duty Free) แท็กซี่ และร้านขายยา
  • ผู้ประกอบการที่มีการเติบโตของยอดใช้จ่ายเฉลี่ยในอัตราสูง ได้แก่ ร้านขายเครื่องประดับและอัญมณี

ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลการศึกษา

  • ข้อมูลช่วงวันแรงงานของอาลีเพย์ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน กล่าวคือ กลุ่มผู้สูงอายุชาวจีนเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง โดยธุรกรรมจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีวันเกิดในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า โดยยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนเพิ่มเป็น 1,622 หยวน (หรือ 7,600 บาท)
  • ราว 65 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ใช้บริการอาลีเพย์ในต่างประเทศในช่วงวันหยุดวันแรงงานเป็นผู้หญิง
  • ยอดใช้จ่ายจากผู้ที่เกิดในช่วงทศวรรษ 2000 เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า ส่งผลให้ยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 506 หยวน (หรือ 2,400  บาท) ในช่วงเวลาดังกล่าว

Alipay 

อาลีเพย์ทำงานร่วมกับหลายหน่วยงานรัฐบาล สถาบันทางการเงิน และหน่วยงานธุรกิจมากมายในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพื่อทำให้ประสบการณ์การใช้งานอาลีเพย์ดียิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถเข้าถึงแอพอาลีเพย์ในทุกจุดท่องเที่ยวได้อย่างราบรื่น สนุกกับการจับจ่ายใช้สอยผ่านแอพพลิเคชั่นธุรกรรมออนไลน์ที่การันตีความปลอดภัยบนมือถือ

สร้างแพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) โอกาสสร้างรายได้ธุรกิจที่ผู้บริหารต้องรู้

การนำเทคโนโลยีไอทีและการสื่อสารสมัยใหม่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และระบบบริการธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสนอบริการที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนการใช้บริการให้ต่ำลงได้

และจากแนวโน้มที่อาลีเพลย์เปิดเผย หากธุรกิจของคุณ คือ บริการ หรือผลิตภัณฑ์ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะเตรียมพร้อม ระบบให้รองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนี้ ด้วยการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ e-Payment  หรือ Electronic Payment System ของตัวเอง ทั้งในรูปแบบ Website และ Mobile

ซึ่งหากไม่มีทีมในการพัฒนาของตนเองก็สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการรายที่มีอยู่ในตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบ e-Payment ของตัวธนาคารเอง อาทิ ธนาคารกรุงศรี, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงไทย ฯลฯ หรือจะใช้บริการของผู้ให้บริการจากต่างชาติ อาทิ AirPay, Line Pay, Wechat Pay, โอมิเซะ  หรือAlipay เป็นต้น

หรือหากไม่สบายใจในการใช้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศก็สามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการในประเทศไทยอย่าง PaySolutions ก็ได้ ซึ่งมีบริการ Counter Service สำหรับค่าธรรมเนียมก็คิด 3.60% ถือว่าถูกที่สุด รองรับทั้งบัตร Visa, Mastercard และ Internet Banking

หรือ PayPal ที่รองรับทั้งบัตร Visa, Mastercard สำหรับเสียค่าธรรมเนียมก็คิด 4.4% แต่ ถ้าหากว่ามียอดการใช้งานมาก ผู้ที่สนใจใช้บริการจะต้องมีอีเมลก็สามารถสมัครใช้งานได้เลย

Alipay 
ระบบชำระเงินทั้งหมดในเอชีย ที่มีผู้ใช้มาก และเป็นที่นิยม

อย่างไรก็ตามหากธุรกิจใดที่ต้องการใช้งาน จำเป็นจะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเกิดการใช้งาน โดยเราสามารถแบบบริการธุรกิจ Electronic Payment System  ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยประกอบด้วยบริการทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ 

  1. การเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ซึ่งเป็นบริการในรูปแบบของการที่มูลค่าของเงินที่ถูกบันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจมาจากการใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่นๆ แทนเงินสด
  2. บริการเครือข่ายของบัตรเครดิต บริการแบบเครือข่ายที่จะให้บริการในการรับส่งข้อมูลทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่างๆ
  3. บริการเครือข่าย EDC Network บริการจุดเชื่อมโยงเครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่รับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
  4. บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching) บริการที่เป็นส่วนรวม หรือจุดเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลการชำระเงิน ให้กับผู้ให้บริการตามที่ได้ตกลงกันไว้
  5. บริการหักบัญชี (Clearing) การบริการในการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบ และยืนยันในคำสั่งของการชำระเงิน เพื่อให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ให้สำเร็จ
  6. บริการชำระดุล (Settlement) บริการระบบการชำระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อหักเงินของผู้ใช้บริการไปให้เจ้าหนี้
  7. บริการรับชำระเงินแทน บริการที่คิดขึ้นมาเพื่อชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้
  8. บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์ หรือผ่านทางเครือข่าย บริการการชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้

ซึ่งหากอยากจะได้ระบบที่เอาไว้รองรับนักเที่ยวชาวจีนโดยเฉพาะ แอดมินขอ แนะนำว่าไม่ควรพลาด 2 ผู้ให้บริการอย่าง Alipay และ Wechat pay เลย เพราะเป็น 2 ผู้ให้บริการที่มีผู้ใช้ชาวจีนเยอะมาก โดย Alipay นั้น มีผู้ใช้งานมากกว่า 400 ล้านคน (โดยประมาณ) และ Wechat pay มีผู้ใช้งานมากกว่า 800 ล้านคน (โดยประมาณ)

แต่หากอยากให้บริการคนไทย ก็ขอแนะนำว่าอาจได้บริการจากผู้ให้บริการยอดนิยมอย่าง AirPay และ Rabbit Line Pay ก็ได้ โดยผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย มีโครงข่ายทางธุรกิจที่หลากหลาย และให้บริการมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว โดยปัจจุบันมีการเชื่อมโยงระบบกับธุรกิจหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน คมนาคมขนส่ง หรือร้านอาหารต่าง ๆ

และหากถามวา่คำคัญแค่ไหนกับการที่ต้องเร่งเตรียมความพร้อม ต้องบอกว่าสำคัญมากครับ เพราะจาก ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีอัตราขายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยโตขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 33.0 ต่อปี เลยทีเดียว

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่