Blockchain เทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่วงการ FinTech จะต้องจับตามอง เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างความเข้าใจให้คนไทยก้าวทันนวัตกรรมของโลก และรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ทางด้านการเงิน และผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
Blockchain Technology Is Integral FinTech
ปัจจุบันธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเทคโนโลยี บล็อกเชน ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับการทำธุรกรรมทางการเงินในหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ ทั้งในแง่ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และการลดค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับองค์กรภาครัฐของไทยที่มีส่วนในการกำกับทิศทางที่จะใช้เทคดนดลยีดังกลา่วนี้
ในภาคการเงินการธนาคารก็กำลังมุ่งศึกษาการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมนี้เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลกดังกล่าว อีกทั้งเพื่อผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล โดยเมื่อในปีที่ผ่านมา ดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทที่ดำเนินการศึกษา และพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์
ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท Ripple ผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี บล็อกเชน ได้ทดลองระบบการโอนเงินข้ามประเทศผ่าน บล็อกเชน ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในการนำเทคโนโลยีนี้มาเชื่อมโยงกับโครงข่ายการทำ Cross Border Payment หรือระบบการโอนเงินข้ามประเทศแบบเรียลไทม์ให้เกิดขึ้นจริง
สุวิชชา สุดใจ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิทัล บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายเกี่ยวกับ บล็อกเชน หรือ DLT (Distributed Ledger Technology) ว่าหากพูดถึง บล็อกเชน หลายคนจะนึกถึงบริการสกุลเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Bitcoin ซึ่งจริง ๆ แล้ว Bitcoin เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นำเอาเทคโนโลยี บล็อกเชน มาใช้ในการดำเนินการเท่านั้น
โดย บล็อกเชน คือระบบการทำงานบนฐานข้อมูลออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งยังโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จากเดิมที่ปัจจุบัน ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
ในขณะที่บล็อกเชน ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกในระบบทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้ การอัพเดตข้อมูลจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลงและเห็นชอบร่วมกันระหว่างบุคคลส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น โดยเมื่อข้อมูลถูกบันทึกลงในระบบแล้ว ข้อมูลนั้นจะไม่สามารถถูกลบทิ้งได้
“หากพูดถึง บล็อกเชน หลายคนจะนึกถึงบริการสกุลเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Bitcoin ซึ่งจริง ๆ แล้ว Bitcoin เป็นเพียงหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นำเอาเทคโนโลยี บล็อกเชน มาใช้ในการดำเนินการเท่านั้น โดย บล็อกเชน คือระบบการทำงานบนฐานข้อมูลออนไลน์ประเภทหนึ่งที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น
และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งยังโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จากเดิมที่ปัจจุบัน ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในขณะที่ บล็อกเชน ใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่อนุญาตให้สมาชิกในระบบทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
ทั้งนี้ การอัพเดตข้อมูลจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการตกลงและเห็นชอบร่วมกันระหว่างบุคคลส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น โดยเมื่อข้อมูลถูกบันทึกลงในระบบแล้ว ข้อมูลนั้นจะไม่สามารถถูกลบทิ้งได้” สุวิชชา กล่าวเสริม
บล็อกเชน มีส่วนคล้ายคลึงกับอินเทอร์เน็ตในแง่ของการเก็บข้อมูล เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็นระบบที่เอื้อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดย บล็อกเชน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ บล็อกเชนส่วนตัว และบล็อกเชนสาธารณะ ซึ่งหากเปรียบเทียบว่า Public บล็อกเชน คืออินเทอร์เน็ต
ในแง่ของการอนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลในระบบได้อย่างเท่าเทียมกัน บล็อกเชนส่วนตัว ก็จะเปรียบเสมือนอินทราเน็ต (Intranet) ที่จำกัดสิทธิ์ให้เฉพาะบุคคลหรือบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากทางระบบในการเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ ทั้งนี้เทคโนโลยี บล็อกเชน ไม่ใช่ก้าวถัดไปของอินเทอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดีย แต่เป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบยิ่งกว่าอินเทอร์เน็ต 2 เท่า
เพราะได้เข้าไปทลายกำแพงในด้านขั้นตอนและกระบวนการ ความรวดเร็ว ความปลอดภัย และทำให้ผู้ใช้งานไม่ถูกจำกัดในกฎระเบียบหรือค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการมากเกินไป วันนี้เราไม่สามารถบอกได้ว่าจริง ๆ แล้ว บล็อกเชน คืออะไร แต่รู้ไว้ว่าคือเทคโนโลยีโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างจากหลาย ๆ แห่ง
หลาย ๆ คนจะนึกถึง Cloud Computing แต่จริง ๆ แล้ว บล็อกเชน เป็นมากกว่า Cloud เพราะทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ และนำไปทำประโยชน์ได้หลายรูปแบบ ในปัจจุบัน บล็อกเชน ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ในการโอนเงินข้ามประเทศ เพราะ บล็อกเชน จะช่วยลดทอนขั้นตอนในการโอนเงิน ช่วยเอื้อประโยชน์สำหรับภาคธุรกิจในด้านการลดต้นทุน
ในขณะที่ลูกค้าเองก็จะได้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น จากเดิมการโอนเงินข้ามประเทศที่ใช้เวลาหลายวัน ก็เหลือเพียงไม่กี่นาที นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม ทั้งยังปลอดภัยขึ้น จึงนับได้ว่า บล็อกเชน จะก้าวขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีอันทรงอิทธิผลแห่งอนาคตในอีกไม่ช้า
ซึ่งในขณะนี้มีธนาคารชั้นนำทั่วโลกกว่า 50 แห่งที่ได้เข้าร่วมในระบบ บล็อกเชน เพื่อพัฒนาการโอนเงินข้ามประเทศนี้แล้ว อาทิ Standard Chartered, Royal Bank of Canada (RBC), Westpac, National Australia Bank (NAB), Mizuho Financial Group (MHFG), BMO Financial Group และ Shanghai Huarui Bank
อย่างไรก็ดี บล็อกเชน อาจต้องอาศัยเวลาในการสร้างการรับรู้และเข้าใจถึงบทบาทและประโยชน์ เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตที่กว่าจะเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันและมีอิทธิพลต่อชีวิตผู้คนในวงกว้างก็ต้องอาศัยเวลากว่า 20 ปี
ส่วนขยาย * Compose : พิพัฒน์ เพิ่มผัน (Editors and Reporters) Articles from : ELEADER Magazine ฉบับที่ 333 NOV 2016 *** ขอขอบคุณภาพประกอบจาก www.pexels.com
สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่