ภายในอีก 3 ปีหลังจากนี้ อุตสาหกรรมบริการทางการเงินทั่วโลกจะก้าวสู่เปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ โดยเทคโนโลยีต่าง ๆ จะเข้าไปมีบทบาทต่อรูปแบบของการให้บริการอย่างที่เรียกว่าถึงตัวทำธุรกรรมได้จากทุกที่ทุกเวลา เพื่อตอบรับ

แบงก์พาณิชย์ดึงเบรกลงทุนขยายสาขารับเทรนด์ดิจิทัลแบงกิง

เทรนด์ดิจิทัลแบงกิง

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น สิ่งที่ธนาคารทั้งหลายเคยดำเนินกิจการมาก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยสิ่งแรกที่เราเห็นคือการลดขยายสาขาของธนาคาร เนื่องจากกิจกรรมในปัจจุบันที่สาขาของธนาคารส่วนใหญ่จะดำเนินอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่นการช่วยดำเนินธุรกรรมอย่างการฝาก ถอน โอนเงินต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้บริการเองก็สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองผ่านแอพพลิเคชันโมบายหมดแล้ว ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั่วโลก และแม้แต่ธนาคารที่ให้บริการภายในประเทศไทยเองก็เช่นกัน

อย่างในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารในประเทศไทยต่างเริ่มขยับตัวให้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยทางธนาคารกรุงไทยก็ได้ออกมาประกาศว่าจะหยุดการขยายสาขา และอยู่ในระหว่างทำแผนงานดิจิทัลของธนาคารเพื่อให้สอดรับการให้บริการทางการเงินในอนาคต

โดยทางธนาคารกรุงไทยออกมาประกาศว่าจะหยุดการขยายสาขา และอยู่ในระหว่างทำแผนงานดิจิทัลของธนาคารเพื่อให้สอดรับการให้บริการทางการเงินในอนาคต โดยที่ผ่านมา ทาง ธนาคารกรุงไทย เองก็ได้เดินหน้าปล่อยบริการใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้บริการของธนาคารทำธุรกรรมผ่านบนอุปกรณ์อย่างสมาร์ตโฟน ผ่านแอพพลิเคชัน KTB netbank ที่ลูกค้าสามารถจัด Personal Menu บันทึก Bookmark ในรายการโอน/ชำระบ่อย หรือโอนเงินแบบระบุเลขที่บัญชีโดยที่ผู้โอนไม่ต้องบันทึกเลขที่บัญชีนั้นเข้ารายการผู้รับโอนของตนเอง และสามารถใช้บริการทำธุรกรรมผ่าน Video Call

โดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร (Net Officer) เสมือนทำธุรกรรมเองที่สาขา สำหรับลูกค้าที่มีบัญชี NetSavings ก็ยังสามารถเปิดบัญชีฝากประจำแบบไม่มีสมุดบัญชี (NetFixed) ผ่าน Internet ได้โดยสมบูรณ์ เพื่อรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อีกทั้งยังสามารถค้นหาหน่วยงานรับชำระด้วย Company Code หรือชื่อหน่วยงานก็ยังได้

ขณะที่ด้านของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นธนาคารใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศไทยก็ไม่อยู่นิ่ง โดยได้ดำเนินแผนการธุรกิจของตนเองครั้งใหญ่ในช่วงปีที่ผ่านมาด้วยการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ โดยเป็นรูปแบบของการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน หรือ Venture Capital เพื่อลงทุนกับ Startup ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศต่อไป พร้อมกับลงทุนทางด้าน Lab โดยเน้นการทำวิจัยด้าน FinTech หรือเทคโนโลยีทางการเงิน

ด้าน ธนาคารกสิกรไทย เองก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะนอกจากจะพัฒนาแอพพลิเคชัน K-Mobile Banking PLUS ขึ้นมาเพื่อให้บริการการทำธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าได้ใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอนเงิน ชำระหนี้ ซื้อ-ขายกองทุนต่าง ๆ ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกมานานแล้ว

เทรนด์ดิจิทัลแบงกิง

แต่ก็ยังใช้ในการพัฒนาไอที และร่วมสร้างพันธมิตรใหม่ทั้งสตาร์ทอัพและฟินเทค โดยลงทุนสร้างพื้นที่เพื่อให้นักพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินมีสนามไว้ทดสอบการให้บริการ โดยใช้ฐานข้อมูล และทีมที่ปรึกษาทางกฎหมาย ก่อนเปิดใช้งานจริง และหากใช้ให้บริการได้ก็จะเซ็นสัญญาเพื่อนำบริการทางการเงินใหม่ ๆ ออกมาให้บริการแก่ลูกค้า

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดในด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อดูแลความปลอดภัยของระบบภายในธนาคาร โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตรวจค้นตรวจจับป้องกันข้อมูลสำคัญรั่วไหลต่าง ๆ แต่จากการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่นี่เองก็ทำให้ธนาคารอย่างกสิกรไม่มีแผนจะขยายสาขาในการให้บริการลูกค้าเช่นกัน แต่จะทำการควบรวมสาขาในสาขาที่มีปริมาณการทำธุรกรรมน้อยลง

ส่วนอีกธนาคารที่เห็นการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่าธนาคารอื่น อย่าง ธนาคารกรุงเทพ แม้จะเปิดแอพพลิเคชันบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง (Bualuang mBanking) โดยหวังเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมงในปีที่ผ่านมา ก็เดินหน้าพัฒนาความสามารถของแอพพลิเคชันเพิ่มเติ่ม

ด้วยการจับมือผู้ให้บริการเทคโนโลยีโซลูชันชั้นนำของโลกที่ให้บริการแก่สถาบันการเงินทั่วโลก อย่าง ไฟเซิร์ฟอิงก์ (Fiserv Inc) อเมริกา โดยยกระดับป็นแบบ Mobility Edge หรือระบบชำระเงินให้สามารถใช้ผ่านได้ทุกอุปกรณ์ ไม่ใช่เพียงแค่บนสมาร์ตโฟนเพียงเท่านั้น แต่สามารถใช้งานได้แม้แต่บนแท็บเล็ต หรือแม้แต่บนสมาร์ตวอตช์ของแอปเปิลก็ยังได้ ล่าสุดยังเดินหน้าจับมือกับ LINE ให้บริการเติมเงินเข้ากระเป๋าเงิน LINE Pay หรือ LINE Pay E-wallet

ซึ่งทำให้ผู้ใช้ LINE สามารถเชื่อมต่อกับบัญชีของบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และบัวหลวง เอทีเอ็ม ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดอีกด้วย

ฝั่งแบงก์ขนาดกลาง ธนาคารทหารไทย ก็ประกาศเปิดตัวทีเอ็มบี ทัช (TMB Touch) โมบายแอพพลิเคชันที่ใช้เวลากว่า 2 ปีในการพัฒนาระบบจนสามารถยก TMB Internet Banking ให้เข้ามาอยู่ในโทรศัพท์มือถือเป็นโมบายแบงกิงอยู่ที่ไหน เวลาใดก็ใช้บริการได้ โดยรวมทุกบัญชีของลูกค้าทั้งจากบัญชีฝากประจำ บัญชีออมทรัพย์ ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลสินเชื่อบ้านและสินเชื่อบุคคลไว้ในรายการเดียว แถมตั้งเวลาชำระค่าบริการ รวมถึงเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้สูงสุดถึง 6 เดือน

ด้าน ธนาคารกรุงศรี ก็ปล่อยกรุงศรีโมบายแอพพลิเคชันที่ออกแบบเมนูการใช้งานที่หลากหลายใช้งานง่ายโดยผู้ใช้บริการของธนาคารสามารถเข้ามาดูบัญชีได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก และสามารถทำธุรกรรมทางเงินไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การตรวจดูอัตราแลกเปลี่ยน การซื้อขาย และดูข้อมูลกองทุนต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการแนะนำข้อมูลการลงทุน พร้อมสรุปภาวะการลงทุนรายสัปดาห์ ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในเครือธนาคารกรุงศรี รวมถึงบริการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ

แม้แต่ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หรือ LH Bank เองก็เตรียมขยับไปสู่ดิจิทัลแบงก์ด้วยเช่นกัน โดยได้ปล่อยแอพพลิเคชัน LH Bank M Choice ออกมา โดยชูในเรื่องสามารถโอนเงินไปต่างธนาคาร (ORFT) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งเป็นการชูจุดขายนอกเหนือไปจากในส่วนของบริการ โอนเงิน เช็กยอดเงิน ชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ดังนั้น บทบาทที่เหลืออยู่ของสาขาธนาคารในวันนี้จึงอาจจะเหลือแต่เพียงเรื่องของการให้คำปรึกษาการลงทุน การขอกู้สินเชื่อต่าง ๆ แทน ซึ่งก็เริ่มมีหลาย ๆ ธนาคารเตรียมปรับให้ใช้บริการในส่วนนี้ได้เช่นกัน แต่ยังไม่เป็นในวงกว้าง ดังนั้น ตัวธนาคารเองคงต้องวางกลยุทธ์ใหม่ว่าจะทำเช่นไรถึงจะสามารถดำเนินกิจการได้ต่อ โดยมีโจทย์สำคัญคือการให้ลูกค้าประทับใจในบริการให้มากที่สุด และไม่หนีไปใช้บริการจากธนาคารรายอื่น ๆ หรือผู้ให้บริการทางการเงินผ่านทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีค่าธรรมเนียมถูกกว่านั่นเอง