บริษัท Chevron ประเทศไทย เผยโฉมนักสร้างสรรค์นวัตกรรมรุ่นใหม่ จากโครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 2” โดยด้ผู้ชนะจะได้รับทุนการศึกษาและทริปร่วมงาน Maker Faire Bay Area มหกรรมแสดงผลงานของเมกเกอร์ระดับโลกที่เมืองซานฟรานซิสโกต่อไป

Chevron Enjoy Science : Young Makers Contest ปี 2

อุบัติเหตุและอุบัติภัยนับเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญและพยายามปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2558 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1.25 ล้านราย สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก  

ทั้งนี้เป็นเพราะ “ความปลอดภัย” เป็นรากฐานสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน การส่งเสริมความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรใส่ใจ และสามารถเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ อย่างชุมชน เพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่ระดับประเทศต่อไปในอนาคต

Chevron

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การประกวดโครงการ Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 2 ส่งเสริมให้เยาวชนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม และสร้างความสนใจให้กับเยาวชนในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสาขาสะเต็ม

อันเป็นรากฐานสำคัญของการผลักดันประเทศไทยสู่ Makers Nation ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล เพราะเมกเกอร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการคิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล กระทรวงฯ

จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ สวทช. และหน่วยงานพันธมิตร ได้ร่วมมือกับเชฟรอน ประเทศไทย จัดการประกวดนี้ขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเยาวชนไทยจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะลงมือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมแห่งนวัตกรรมที่แข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป

Chevron

ด้าน ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การประกวดโครงการ Enjoy Science: Young Makers Contest ปี 2 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียน-นักศึกษาสายสามัญและอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วม 340 โครงการ

โดยมีทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 20 โครงการ แบ่งเป็นสายสามัญ 10 โครงการ และสายอาชีพ10 โครงการ ทุกผลงานประดิษฐ์ล้วนแต่แสดงถึงศักยภาพของเยาวชนไทย ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอด นำไปเสริมสร้างความปลอดภัยในชุมชนได้จริง และทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สอดคล้องกับภารกิจหลักของ สวทช. ในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับนักเรียนนักศึกษาสายสามัญ ได้แก่ ผลงาน “BCC E-TM (Bangkok Christian College Electronic Traffic Management)” โดยนักเรียนจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ส่วนผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสายอาชีพ ได้แก่ ผลงาน “ทุ่นเตือนภัยร่องน้ำและแนวปะการัง”

โดยนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งนักเรียน-นักศึกษาเจ้าของผลงานชนะเลิศแต่ละประเภท ได้รับทุนการศึกษาและทริปร่วมงาน Maker Faire Bay Area มหกรรมแสดงผลงานของเมกเกอร์ระดับโลกที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา รวมมูลค่ากว่า 500,000 บาท

Chevron

ขณะที่ ไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า การประกวด Young Makers Contest เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ซึ่งเป็นความร่วมมือตามแนวทาง “รัฐร่วมเอกชน” เพื่อช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค 4.0 อย่างยั่งยืน

ผ่านการส่งเสริมการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือสะเต็ม โดยโครงการ Chevron Enjoy Science ได้ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ  จัดโครงการประกวด Young Makers Contest ต่อเนื่องเป็นปีที่ เพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยให้ได้สร้างสรรค์ และแสดงออกทางความคิด ออกมาเป็นผลงานประดิษฐ์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในสังคม

ทั้งนี้ ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นศักยภาพของเยาวชนไทยในการประดิษฐ์คิดค้นผลงานที่สามารถส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้จริง แสดงให้เห็นว่านักเรียน-นักศึกษาไทย

ล้วนมีความสามารถเป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือเมกเกอร์มืออาชีพ ทัดเทียมกับนานาประเทศ พร้อมเป็นพลังคนแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่ Makers Nation อย่างแข็งแกร่ง และยั่งยืน

Chevron

ด้าน เยาวชนที่ชนะในโครงการดังกล่าว ได้กล่าวเสริมว่า ระหว่างการประกวด เราได้เข้าร่วมเวิร์กช็อป ซึ่งเปิดโอกาสให้เราได้พูดคุยกับเมกเกอร์ที่มีความชำนาญหลากหลาย เช่น เครื่องยนต์ การเขียนโปรแกรม เป็นต้น ก่อนจะเริ่มการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยให้คำปรึกษา

ทั้งทางด้านเทคนิค การพัฒนาผลงาน และการแก้ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาผลงานไปจนถึงการทดลองใช้งานจริง ทำให้เราได้เรียนรู้ผ่านการลงพื้นที่และลงมือทำจริงกับเมกเกอร์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่สนุกและมีประโยชน์มาก ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นจากเดิม

และยังเกิดความภูมิใจที่ตนสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์กับชุมชนและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันวัฒนธรรมเมกเกอร์ในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป หลังจากการประกวดครั้งนี้ อยากเชิญชวนและสนับสนุนให้รุ่นน้องมาร่วมงานในปีหน้าอีกด้วย

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่