Eleader May 2015

อโณทัย เวทยากร

อโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) และผู้จัดการทั่วไปภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า  รู้สึกตื่นแต้น และชื่มชมรัฐบาลที่ให้ความสำคัญ และยกระดับการวางแผนด้านเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ Digital Economy ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในยุคที่เรียกว่า “Digital Transformation” เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันเทียบเคียงกับประเทศอื่นๆ ได้

ทั้งนี้เดลล์ ได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และมีการวางแผนเพื่อการรองรับไว้ล่วงหน้า โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา องค์กรได้เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยน หรือทรานส์ฟอร์มรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตัวเองมาโดยตลอด จากที่เคยเป็นเพียงผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ (Hardware vendor) เดลล์ได้เปลี่ยนตัวเองให้เป็นองค์กรธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการ พร้อมทั้งให้บริการลูกค้าในฐานะของผู้ให้บริการแบบครบวงจร หรือเอนด์-ทู-เอนด์ โซลูชัน โพรไวเดอร์

 

4 กลยุทธ์รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล
1.กลยุทธ์การ Transform ซึ่งเดลล์ไม่เพียงแต่ทรานส์ฟอร์มตัวเอง หากแต่ยังเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือลูกค้า และองค์กรธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เรียกว่า “Future-Ready IT” หรือระบบไอทีที่พร้อมรองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปของโลกธุรกิจในอนาคต โดยไม่ต้องยึดติดกับเทคโนโลยีดั้งเดิมที่มีอยู่ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา

2.กลยุทธ์การใช้ End-User Computing เพื่อการเชื่อมต่อ หรือ Connect ที่ช่วยให้คนทำงานยุคใหม่สามารถเชื่อมต่อ และเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในองค์กร หรือดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านดีไวซ์ที่ไม่จำกัดรูปแบบ ทั้งพีซี โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต และอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things

3.กลยุทธ์ในการใช้ข้อมูล หรือที่เรียกว่า Inform ยิ่งในเวลาที่เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ ดิจิทัล ข้อมูลคือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด เพราะข้อมูลคือสิ่งที่จะให้สามารถวางแผนการทำงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับไว และที่สำคัญยังช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แม่นยำ และดีที่สุด “กล่าวได้ว่าในศตวรรษที่ 20 น้ำมันคือสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ในยุคของศตวรรษที่ 21 นี้ ดาต้า และ อินฟอร์เมชัน คือสิ่งมีค่าในยุคนี้ที่มีมูลค่าไม่แพ้น้ำมันในยุคก่อน

4.กลยุทธ์ของการปกป้องและป้องกัน หรือที่เรียกว่า Protect เพราะเมื่อมีเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อข้อมูลที่มีมูลค่ามีการเติบโต และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ย่อมต้องมีผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นโดยมิชอบ ซึ่งก่อให้เกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrimes) เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในส่วนนี้คือเพื่อให้องค์กรมีความสามารถในการปกป้องข้อมูลให้อยู่รอดปลอดภัย ในสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในยุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ